พบผลลัพธ์ทั้งหมด 700 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้บุริมสิทธิในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้บังคับชำระจากทรัพย์สินที่จดจำนองแล้วยังไม่พอ
จำเลยซื้อที่ดินของโจทก์ แต่ยังมิได้ชำระราคาที่ดินทั้งหมดในวันจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกันโจทก์จำเลยได้จดทะเบียนราคาที่ดินส่วนที่ยังค้างชำระเป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ค่าที่ดินที่จำเลยยังค้างชำระ อันทำให้โจทก์มีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินนั้น เพื่อเอาชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ซึ่งหากได้ไม่พอชำระหนี้ โจทก์ก็มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยจนสิ้นเชิงได้ หามีบทบัญญัติอื่นใดที่จะตัดทอนอำนาจของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ไม่ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 289 จะได้บัญญัติว่า'ว่าถึงผลแห่งบุริมสิทธินอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 281ถึง 288 นี้แล้ว ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะจำนองมาใช้บังคับด้วยตามแต่กรณี' ก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าให้นำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดต่อบทในลักษณะบุริมสิทธิ ซึ่งให้สิทธิแก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเอาชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น เหตุดังกล่าวจึงนำบทบัญญัติมาตรา 733 มาใช้บังคับแก่คดีไม่ได้ ดังนั้น หากยึดที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิขายทอดตลาดยังไม่พอชำระหนี้มาตรา273,276 ห้ามเพียงมิให้โจทก์บังคับบุริมสิทธิเอาแก่ทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิตามฟ้องเท่านั้น แต่มิได้ห้ามโจทก์ในอันที่จะยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระหนี้จนกว่าจะครบอย่างเจ้าหนี้สามัญศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นมาชำระหนี้จนกว่าจะครบได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้บุริมสิทธิในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้มีการจดทะเบียนบุริมสิทธิไว้แล้ว
จำเลยซื้อที่ดินของโจทก์ แต่ยังมิได้ชำระราคาที่ดินทั้งหมดในวันจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกัน โจทก์จำเลยได้จดทะเบียนราคาที่ดินส่วนที่ยังค้างชำระเป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ค่าที่ดินที่จำเลยยังค้างชำระ อันทำให้โจทก์มีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินนั้น เพื่อเอาชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ซึ่งหากได้ไม่พอชำระหนี้ โจทก์ก็มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยจนสิ้นเชิงได้ หามีบทบัญญัติอื่นใดที่จะตัดทอนอำนาจของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ไม่ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 289 จะได้บัญญัติว่า "ว่าถึงผลแห่งบุริมสิทธินอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 281 ถึง 288 นี้แล้วท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะจำนองมาใช้บังคับด้วยตามแต่กรณี" ก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าให้นำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดกับต่อบทในลักษณะบุริมสิทธิ ซึ่งให้สิทธิแก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเอาชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น เหตุดังกล่าวจึงนำบทบัญญัติมาตรา 733 มาใช้บังคับแก่คดีไม่ได้ ดังนั้น หากยึดที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิขายทอดตลาดยังไม่พอชำระหนี้ มาตรา 273, 276 ห้ามเพียงมิให้โจทก์บังคับบุริมสิทธิเอาแก่ทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิตามฟ้องเท่านั้นแต่มิได้ห้ามโจทก์ในอันที่จะยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระหนี้จนกว่าจะครบอย่างเจ้าหนี้สามัญ ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นมาชำระหนี้จนกว่าจะครบได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายป่าสงวนที่แก้ไข และสิทธิจำเลยในการมีทนาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ขอให้ลงโทษตามมาตรา31แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา31 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 แม้โจทก์จะมิได้อ้างกฎหมายฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมศาลปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีจึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องทนาย การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีจึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องทนาย การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายป่าสงวนฯ ที่แก้ไข และการสอบถามจำเลยเรื่องทนายเมื่อมีโทษจำคุกสูง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 แม้โจทก์จะมิได้อ้างกฎหมายฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ศาลปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี จึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องพยาน การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี จึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องพยาน การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการในไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ประเภทค่าสิทธิ
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์ เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์ โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248.600 บาท จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามาตรา 40 (3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70 (2), 54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 76 ทวิ และ 71 (1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือว่ามีสถานประกอบการในไทย
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248,600 บาทจึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามมาตรา40(3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70(2),54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา76 ทวิและ 71(1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเกี่ยวกับวันที่ในเช็คไม่เป็นเหตุให้ความผิดอาญาตาม พ.ร.บ. เช็ค หากเป็นเพียงการทำให้รายการในเช็คสมบูรณ์เพื่อฟ้องคดีแพ่ง
ในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ จำเลยเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าโจทก์ผู้ออกเช็คไม่ได้ลงวันที่ในเช็คจำเลยให้เสมียนลงวันที่ออกเช็คเป็นวันที่ 15 มิถุนายน2522 ตามที่โจทก์มีจดหมายบอกให้นำเช็คไปขึ้นเงินคำเบิกความของจำเลยดังกล่าวแสดงชัดว่า วันที่ไม่ได้ลงในเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้จำเลย และจำเลยผู้ทรงจดวันที่ลงเอง จะเป็นวันที่ซึ่งตกลงกันโดยโจทก์เขียนจดหมายมาบอกจริงหรือไม่ ก็มีผลเพียงให้รายการในเช็คสมบูรณ์เพื่อฟ้องคดีแพ่งเท่านั้น ไม่มีผลเป็นความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯดังนั้นคำเบิกความของจำเลยที่ว่าโจทก์มีจดหมายบอกให้นำเช็คไปขึ้นเงิน หากจะเป็นเท็จก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีดังกล่าวจำเลยไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเกี่ยวกับวันที่ในเช็ค ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีอาญา
ในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ จำเลยเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าโจทก์ผู้ออกเช็คไม่ได้ลงวันที่ในเช็ค จำเลยให้เสมียนลงวันที่ออกเช็คเป็นวันที่ 15 มิถุนายน 2522 ตามที่โจทก์มีจดหมายบอกให้นำเช็คไปขึ้นเงิน คำเบิกความของจำเลยดังกล่าวแสดงชัดว่า วันที่ไม่ได้ลงในเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้จำเลย และจำเลยผู้ทรงจดวันที่ลงเอง จะเป็นวันที่ซึ่งตกลงกันโดยโจทก์เขียนจดหมายมาบอกจริงหรือไม่ ก็มีผลเพียงให้รายการในเช็คสมบูรณ์เพื่อฟ้องคดีแพ่งเท่านั้นไม่มีผลเป็นความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ดังนั้น คำเบิกความของจำเลยที่ว่าโจทก์มีจดหมายบอกให้นำเช็คไปขึ้นเงิน หากจะเป็นเท็จก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีดังกล่าว จำเลยไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกคดีโดยมีเงื่อนไข: การประกาศข้อความในหนังสือพิมพ์เป็นเงื่อนไขให้ถอนฟ้อง ไม่ใช่ข้อตกลงผูกพัน
คู่ความตกลงกันว่า ให้ฝ่ายจำเลยจัดการนำข้อความตามที่กำหนดไปประกาศลงในหนังสือพิมพ์ โจทก์แถลงว่า เมื่อจำเลยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ครบกำหนดแล้ว โจทก์จะขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นออกคำสั่งให้จำเลยนำข้อความตามที่ตกลงกันไปประกาศหนังสือพิมพ์โดยเสียค่าใช้จ่ายเอง แปลความหมายได้ว่า โจทก์ประสงค์จะเลิกคดีด้วยการถอนฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้ฝ่ายจำเลยลงประกาศในหนังสือพิมพ์เสียก่อน การประกาศหนังสือพิมพ์เป็นเงื่อนไขในการถอนฟ้องเท่านั้น ไม่ใช่ลักษณะข้อตกลงโดยมิได้มีการถอนฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข โดยไม่ลงประกาศข้อความในหนังสือพิมพ์ ย่อมมีผลว่าโจทก์ไม่ผูกพันที่จะต้องถอนฟ้อง ซึ่งโจทก์ก็ไม่ถอนฟ้องเท่ากับว่าคู่ความเลิกคดีกันไม่ได้ ศาลชั้นต้นต้องทำการพิจารณาต่อไปเสมือนกับว่าไม่มีข้อตกลงใดๆ กันมาก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกคดีโดยมีเงื่อนไข: การประกาศข้อความในหนังสือพิมพ์เป็นเงื่อนไขในการถอนฟ้อง ไม่ใช่ข้อตกลงให้เลิกคดี
คู่ความตกลงกันว่า ให้ฝ่ายจำเลยจัดการนำข้อความตามที่กำหนดไปประกาศลงในหนังสือพิมพ์ โจทก์แถลงว่า เมื่อจำเลยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ครบกำหนดแล้ว โจทก์จะขอถอนฟ้องศาลชั้นต้นออกคำสั่งให้จำเลยนำข้อความตามที่ตกลงกันไปประกาศหนังสือพิมพ์โดยเสียค่าใช้จ่ายเอง แปลความหมายได้ว่า โจทก์ประสงค์จะเลิกคดีด้วยการถอนฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้ฝ่ายจำเลยลงประกาศในหนังสือพิมพ์เสียก่อน การประกาศหนังสือพิมพ์เป็นเงื่อนไขในการถอนฟ้องเท่านั้น ไม่ใช่ลักษณะข้อตกลงโดยมิได้มีการถอนฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข โดยไม่ลงประกาศข้อความในหนังสือพิมพ์ ย่อมมีผลว่าโจทก์ไม่ผูกพันที่จะต้องถอนฟ้อง ซึ่งโจทก์ก็ไม่ถอนฟ้องเท่ากับว่าคู่ความเลิกคดีกันไม่ได้ศาลชั้นต้นต้องทำการพิจารณาต่อไปเสมือนกับว่าไม่มีข้อตกลงใด ๆ กันมาก่อน