คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา สุมาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 700 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิในคดีทดแทนค่าเสียหายจากอุบัติเหตุแรงงาน
การรับช่วงสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอำนาจกฎหมายต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะโจทก์จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานอันเป็นกฎหมายพิเศษใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างไม่ได้บัญญัติให้สิทธิแก่นายจ้างเรียกเอาเงินทดแทนนั้นคืนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างโจทก์จึงไม่อาจอ้างการรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกร้องจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดโฉนดที่ดินหลังหย่าและการไม่มีทางเสียเปรียบของเจ้าหนี้
จำเลยกับ พ. จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันและตกลงยกที่ดินพิพาทให้บุตรทั้งสอง ต่อมาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ และนำโฉนดที่พิพาทดังกล่าวไปให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันดังนี้ ขณะจำเลยและ พ. ยกทรัพย์พิพาทให้บุตรทั้งสองโจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยโจทก์จึงไม่มีทางเสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทนายความตามตาราง 6: ใช้ทุนทรัพย์ที่ฟ้อง ไม่ใช่ทุนทรัพย์ที่ชนะ
การกำหนดอัตราค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น คิดคำนวณจากทุนทรัพย์ตามฟ้อง มิใช่คำนวณจากทุนทรัพย์ที่ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้กองมรดกไม่มีสิทธิคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม หากมีผู้รับผิดชำระหนี้อยู่แล้ว
เจ้าหนี้ กองมรดกซึ่งมีผู้จัดการมรดกหรือทายาทของผู้ตายที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ จากกองมรดกให้อยู่แล้ว จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้กองมรดกไม่มีสิทธิคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม หากมีผู้จัดการ/ทายาทรับผิดชำระหนี้อยู่แล้ว
เจ้าหนี้กองมรดกซึ่งมีผู้จัดการมรดกหรือทายาทของผู้ตายที่จะต้องรับผิดชำระหนี้จากกองมรดกให้อยู่แล้วจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันความรับผิดของลูกหนี้ทุจริตยักยอกเงินธนาคาร ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานธนาคารโจทก์จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินที่ผู้จัดการธนาคารสั่งให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินฝากจากลูกค้าซึ่งการรับเงินดังกล่าวเป็นการที่จำเลยที่ 1 รับไว้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำมามอบให้พนักงานธนาคารโจทก์เพื่อนำเข้าบัญชีของลูกค้าซึ่งต่อมาโจทก์ได้ชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าไปแล้วดังนี้ แม้ขณะจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้โจทก์ยังมิได้ใช้เงินให้แก่ลูกค้าก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้
สัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 เข้าทำงานที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานไม่ว่าในหน้าที่หรือตำแหน่งใดแล้วหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานบกพร่องต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อหรือกระทำการทุจริตหรือก่อหนี้สินผูกพันกับธนาคารโจทก์อันทำให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใดที่กล่าวมาจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ธนาคารโจทก์โดยตรงและทันทีทุกกรณีภายในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นพนักงานขับรถยนต์ของธนาคารโจทก์แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ไปรับเงินจากลูกค้าเพื่อนำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่จะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาฝากเข้าบัญชีลูกค้าเมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินนั้นไปจำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คชำระหนี้และการปฏิเสธการจ่ายเงิน: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์ทรงเช็คผู้ถือแล้วโอนเช็คชำระหนี้แก่ผู้อื่นไปผู้รับโอนนำเช็คเข้าบัญชี ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเจ้าหนี้คืนเช็คแก่โจทก์โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คในขณะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินที่เป็นวันความผิดเกิดขึ้นแม้โจทก์ยังต้องรับผิดในหนี้ระหว่างโจทก์กับผู้คืนเช็คโจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเรื่องค่าเสียหายในคำแก้ฎีกา: ศาลฎีกาไม่รับคำขอใหม่หากไม่ได้ฎีกาคัดค้าน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องห้ามผู้คัดค้านเกี่ยวข้อง และเนื่องจากระหว่างพิจารณาคู่ความตกลงในเรื่องค่าเสียหายเพราะขาดผลประโยชน์จากการทำนาของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเงินปีละ 5,400 บาท จึงให้ผู้คัดค้านใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้องปีละ 5,400 บาทดังที่ตกลงกันศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่า ให้ที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องเท่านั้น ส่วนนอกนั้นผู้ร้องมิได้มีคำขอไว้ศาลชั้นต้นไปพิพากษาให้จึงไม่ชอบ
ผู้ร้องมิได้ฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาให้ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ตนได้ค่าเสียหายปีละ 5,400บาทหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันที่แท้จริงเป็นหลัก แม้มีฉบับปลอม ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอซื้อเชื่อน้ำมันจากโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อแต่ต้องมีธนาคารค้ำประกันจำเลยที่ 2 ออกหนังสือค้ำประกันการชำระราคาค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์และมอบให้ บ. รับไป ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันปลอมไปมอบให้โจทก์ โจทก์เข้าใจว่าเป็นหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงของจำเลยที่ 2 จึงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อน้ำมันไปต่อมา บ. นำหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงไปคืนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สอบถามไปยังโจทก์ โจทก์แจ้งว่าหนังสือค้ำประกันของจำเลยยังอยู่ที่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ชำระราคาน้ำมัน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ดังนี้ เมื่อโจทก์กล่าวมาในฟ้องแจ้งชัดขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับที่แท้จริง จำเลยที่ 2 ก็รับว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริง แก่โจทก์ทั้งโจทก์ยังได้อ้างส่งหนังสือค้ำประกันฉบับนั้นเป็นพยานต่อศาลในชั้นพิจารณาด้วย แม้โจทก์จะคัดสำเนาหนังสือค้ำประกันฉบับที่จำเลยที่ 1 นำมามอบแก่โจทก์อันเป็นสัญญาค้ำประกันปลอม ซึ่งมีข้อความตรงกันกับหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงแนบมาท้ายฟ้อง ก็หามีผลให้เข้าใจว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันปลอมไม่ถือได้ว่าการฟ้องคดีของโจทก์มีหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680วรรคท้ายแล้ว
โดยที่หนังสือค้ำประกันข้อ 1 มีข้อความว่า "ตามที่นายป๊วยเคี้ยวแซ่ก้วย สำนักงานเลขที่ ฯลฯ จะซื้อน้ำมันจากบริษัท ฯ ไปจำหน่าย ธนาคารขอเข้ารับภาระค้ำประกันชำระเงินดังกล่าว ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)" และข้อ 3 มีข้อความว่า"หนังสือค้ำประกันฉบับนี้ให้มีผลบังคับได้ สำหรับการส่งมอบสินค้าของบริษัท ฯ ทุกอย่างซึ่งได้กระทำกันระหว่างวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ.2515 ถึงวันที่ 1 เดือนกันยายน 2515" อันเป็นเรื่องจำเลยที่ 2 แสดงเจตนาผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ตกลงขายและส่งมอบน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาค้ำประกันย่อมเกิดขึ้นมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันกับจำเลยที่ 1 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันที่แท้จริงเป็นหลักฐานสำคัญในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ค้ำประกัน แม้จะมีสำเนาปลอม
จำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอซื้อเชื้อน้ำมันจากโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อแต่ต้องมีธนาคารค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ออกหนังสือค้ำประกันชำระราคาค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์และมอบให้ บ.รับไป ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันปลอมไปมอบให้โจทก์ โจทก์เข้าใจว่าเป็นหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงของจำเลยที่ 2 จึงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อน้ำมันไป ต่อมา บ.นำหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงไปคืนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สอบถามไปยังโจทก์ โจทก์แจ้งว่าหนังสือค้ำประกันของจำเลยอยู่ที่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ชำระราคาน้ำมัน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ดังนี้ เมื่อโจทก์กล่าวมาในฟ้องแจ้งชัดขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับที่แท้จริง จำเลยที่ 2 ก็รับว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงแก่โจทก์ทั้งโจทก์ยังได้อ้างส่งหนังสือค้ำประกันฉบับนั้นเป็นพยานต่อศาลในชั้นพิจารณาด้วย แม้โจทก์จะคัดสำเนาหนังสือค้ำประกันฉบับที่จำเลยที่ 1 นำมามอบแก่โจทก์อันเป็นสัญญาค้ำประกันปลอม ซึ่งมีข้อความตรงกันกับหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงแนบมาท้ายฟ้อง ก็หามีผลให้เข้าใจว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันปลอมไม่ ถือได้ว่าการฟ้องคดีของโจทก์มีหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 680 วรรคท้ายแล้ว
โดยที่หนังสือค้ำประกันข้อ 1 มีข้อความว่า"ตามที่นายป๊วยเคี้ยว แซ่ก้วย สำนักงานเลขที่ ฯลฯ จะซื้อน้ำมันจากบริษัท ฯ ไปจำหน่าย ธนาคารขอเข้ารับภาระค้ำประกันชำระเงินดังกล่าว ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)" และข้อ 3 มีข้อความว่า "หนังสือค้ำประกันฉบับนี้ให้มีผลบังคับได้ สำหรับการส่งมอบสินค้าของบริษัทฯ ทุกอย่างซึ่งได้กระทำกันระหว่างวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ.2515 ถึงวันที่ 1 เดือนกันยายน 2515" อันเป็นเรื่องจำเลยที่ 2 แสดงเจตนาผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ตกลงขายและส่งมอบน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาค้ำประกันย่อมเกิดขึ้นมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันกับจำเลยที่ 1 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)
of 70