พบผลลัพธ์ทั้งหมด 700 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: ความรับผิดต่อบุคคลที่นั่งมาในรถยนต์ของผู้เอาประกันที่ไม่ใช่ผู้ร่วมครัวเรือน
ตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยตกลงจะจ่ายเงินชดใช้เพื่อความรับผิดตามกฎหมายที่จะต้องชดใช้ค่าทดแทนเพื่อมรณกรรมหรือบาดเจ็บของบุคคลใด อันเกิดแต่รถยนต์คันที่เอาประกันภัย เว้นแต่มรณกรรมหรือบาดเจ็บนั้นเกิดแก่ลูกจ้างหรือบุคคลผู้อยู่ในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย เมื่อ พ.เป็นผู้อาศัยนั่งมาในรถคันที่เอาประกันภัย แต่มิได้เป็นผู้ร่วมครัวเรือนหรือเป็นลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย คงเป็นเพียงเพื่อนของบุตรผู้เอาประกันภัยเท่านั้น เมื่อรถคันที่จำเลยรับประกันภัยเกิดชนกับรถอื่นเป็นเหตุให้ พ.ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีเช็ค: การผ่อนผันการชำระหนี้ทางแพ่ง ไม่ถือเป็นการยอมความทางอาญา
คดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมายังไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงต่อไปได้
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม เมื่อเช็คขึ้นเงินไม่ได้ผู้จัดการของโจทก์ร่วมตกลงให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือน ๆ ละ 10,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินบ้างแล้ว แต่ยังไม่ครบจำนวนตามเช็คต่อมาจำเลยขอผ่อนชำระเดือนละ 5,000 บาท โจทก์ร่วมไม่ยอมดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์ร่วมผ่อนผันการชำระเงินทางแพ่งเท่านั้น การที่โจทก์ร่วมมิได้คืนเช็คให้จำเลย ย่อมแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมที่ไม่ประสงค์จะให้คดีอาญาระงับ ถือไม่ได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องหาระงับไปไม่
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม เมื่อเช็คขึ้นเงินไม่ได้ผู้จัดการของโจทก์ร่วมตกลงให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือน ๆ ละ 10,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินบ้างแล้ว แต่ยังไม่ครบจำนวนตามเช็คต่อมาจำเลยขอผ่อนชำระเดือนละ 5,000 บาท โจทก์ร่วมไม่ยอมดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์ร่วมผ่อนผันการชำระเงินทางแพ่งเท่านั้น การที่โจทก์ร่วมมิได้คืนเช็คให้จำเลย ย่อมแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมที่ไม่ประสงค์จะให้คดีอาญาระงับ ถือไม่ได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องหาระงับไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีเช็ค: การผ่อนผันการชำระหนี้ทางแพ่งไม่ถือเป็นการยอมความทางอาญา
คดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมายังไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงต่อไปได้
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม เมื่อเช็คขึ้นเงินไม่ได้ ผู้จัดการของโจทก์ร่วมตกลงให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนๆ ละ 10,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินบ้างแล้ว แต่ยังไม่ครบจำนวนตามเช็ค ต่อมาจำเลยขอผ่อนชำระเดือนละ 5,000 บาท โจทก์ร่วมไม่ยอม ดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์ร่วมผ่อนผันการชำระเงินทางแพ่งเท่านั้น การที่โจทก์ร่วมมิได้คืนเช็คให้จำเลย ย่อมแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมที่ไม่ประสงค์จะให้คดีอาญาระงับ ถือไม่ได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องหาระงับไปไม่
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม เมื่อเช็คขึ้นเงินไม่ได้ ผู้จัดการของโจทก์ร่วมตกลงให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนๆ ละ 10,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินบ้างแล้ว แต่ยังไม่ครบจำนวนตามเช็ค ต่อมาจำเลยขอผ่อนชำระเดือนละ 5,000 บาท โจทก์ร่วมไม่ยอม ดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์ร่วมผ่อนผันการชำระเงินทางแพ่งเท่านั้น การที่โจทก์ร่วมมิได้คืนเช็คให้จำเลย ย่อมแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมที่ไม่ประสงค์จะให้คดีอาญาระงับ ถือไม่ได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องหาระงับไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิการเช่า: การแปลงหนี้ด้วยวาจาไม่สมบูรณ์, การบอกเลิกสัญญา, และผลของการไม่ปฏิบัติตามกำหนดเวลาชำระหนี้
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่ผู้เช่าและรับโอนสิทธิการเช่าแทนโดยจำเลยที่ 1 จะชำระเงินและโอนสิทธิการเช่าคืนจากจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์ให้โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนสิทธิการเช่าแก่โจทก์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนทั้งตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้ และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 กับโจทก์ตกลงกันด้วยวาจาโดยมิได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่สมบูรณ์ไม่มีผลใช้บังคับ
เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มิได้กำหนดวันชำระเงินและจำเลยที่ 2 บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระภายใน 3 วัน นับแต่วันรับหนังสือหากพ้นกำหนดจะถือเป็นการขอถอนคำมั่นนั้นเป็นการกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้และขอเลิกสัญญาเมื่อจำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดสัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน
สัญญาซึ่งลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์ทั้งสองฝ่ายมีข้อความบ่งชัดว่าสัญญาเกิดขึ้นแล้วไม่ใช่เพียงคำมั่น แต่การที่จำเลยที่ 1 บอกกล่าวกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินโจทก์ไม่ชำระตามเวลากำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยรับชำระเงินจากโจทก์แล้วโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์
เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มิได้กำหนดวันชำระเงินและจำเลยที่ 2 บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระภายใน 3 วัน นับแต่วันรับหนังสือหากพ้นกำหนดจะถือเป็นการขอถอนคำมั่นนั้นเป็นการกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้และขอเลิกสัญญาเมื่อจำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดสัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน
สัญญาซึ่งลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์ทั้งสองฝ่ายมีข้อความบ่งชัดว่าสัญญาเกิดขึ้นแล้วไม่ใช่เพียงคำมั่น แต่การที่จำเลยที่ 1 บอกกล่าวกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินโจทก์ไม่ชำระตามเวลากำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยรับชำระเงินจากโจทก์แล้วโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่, สัญญาไม่สมบูรณ์, เลิกสัญญา, และสิทธิเรียกร้องที่บังคับใช้ไม่ได้
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่ผู้เช่าและรับโอนสิทธิการเช่าแทน โดยจำเลยที่ 1 จะชำระเงินและโอนสิทธิการเช่าคืนจากจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์ให้โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนสิทธิการเช่าแก่โจทก์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนทั้งตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้ และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 กับโจทก์ตกลงกันด้วยวาจาโดยมิได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่สมบูรณ์ไม่มีผลใช้บังคับ
เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มิได้กำหนดวันชำระเงินและจำเลยที่ 2 บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระภายใน 3 วัน นับแต่วันรับหนังสือ หากพ้นกำหนดจะถือเป็นการขอถอนคำมั่นนั้น เป็นการกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้และขอเลิกสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดสัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน
สัญญาซึ่งลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1กับโจทก์ทั้งสองฝ่ายมีข้อความบ่งชัดว่าสัญญาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เพียงคำมั่น แต่การที่จำเลยที่ 1 บอกกล่าวกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงิน โจทก์ไม่ชำระตามเวลากำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยรับชำระเงินจากโจทก์แล้วโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์
เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มิได้กำหนดวันชำระเงินและจำเลยที่ 2 บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระภายใน 3 วัน นับแต่วันรับหนังสือ หากพ้นกำหนดจะถือเป็นการขอถอนคำมั่นนั้น เป็นการกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้และขอเลิกสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดสัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน
สัญญาซึ่งลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1กับโจทก์ทั้งสองฝ่ายมีข้อความบ่งชัดว่าสัญญาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เพียงคำมั่น แต่การที่จำเลยที่ 1 บอกกล่าวกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงิน โจทก์ไม่ชำระตามเวลากำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยรับชำระเงินจากโจทก์แล้วโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนและเจตนายินยอม
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภริยาของลูกหนี้ (จำเลยในคดีล้มละลาย) มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 นำที่ดินที่ตนซื้อมาระหว่างสมรสไปจำนองเอาเงินมาสร้างตึกแถวบนที่ดินต่อมานำเงินอันเป็นสินส่วนตัวไปไถ่จำนอง แล้วจดทะเบียนยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 โดยลูกหนี้รู้เห็นยินยอม และเป็นการโอนในระหว่าง 3 ปี ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายดังนี้หนี้จำนองนั้นเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เงินสินส่วนตัวชำระหนี้นั้น เป็นคนละส่วนกับการโอนที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 เงินไถ่จำนองไม่ใช่ค่าตอบแทนในการโอนที่ดิน การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 เป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นกรณีที่ลูกหนี้ยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการโอนที่ดินในส่วนของตนอันจำต้องเพิกถอนศาลย่อมสั่งให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วนของลูกหนี้มิฉะนั้นก็ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้ราคา
ปัญหาว่านิติกรรมยกให้เป็นนิติกรรมอำพราง มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่านิติกรรมยกให้เป็นนิติกรรมอำพราง มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินสินสมรสโดยไม่มีค่าตอบแทนและการยินยอมของคู่สมรสในคดีล้มละลาย
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภริยาของลูกหนี้ (จำเลยในคดีล้มละลาย) มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 นำที่ดินที่ตนซื้อมาระหว่างสมรสไปจำนองเอาเงินมาสร้างตึกแถวบนที่ดิน ต่อมานำเงินอันเป็นสินส่วนตัวไปไถ่จำนอง แล้วจดทะเบียนยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 โดยลูกหนี้รู้เห็นยินยอม และเป็นการโอนในระหว่าง 3 ปีก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ดังนี้ หนี้จำนองนั้นเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เงินสินส่วนตัวชำระหนี้นั้น เป็นคนละส่วนกับการโอนที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 เงินไถ่จำนองไม่ใช่ค่าตอบแทนในการโอนที่ดิน การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 เป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน และเป็นกรณีที่ลูกหนี้ยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการโอนที่ดินในส่วนของตนอันจำต้องเพิกถอนศาลย่อมสั่งให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วนของลูกหนี้ มิฉะนั้นก็ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้ราคา
ปัญหาว่านิติกรรมยกให้เป็นนิติกรรมอำพราง มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่านิติกรรมยกให้เป็นนิติกรรมอำพราง มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2200/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียไม่จำต้องเป็นทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่ศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 นั้น ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในกองมรดกโดยเป็นทายาทโดยตรงผู้คัดค้านเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิรับมรดก ป. ป. เป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ จ. เจ้ามรดก ป.ตาย เสียก่อนที่จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ จ. ดังนี้ ต้องถือว่ามรดกของ จ. เป็นทรัพย์มรดกที่ทายาทยังมีสิทธิร่วมกันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 ผู้คัดค้านมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านกเป็นผู้จัดการมรดกของ จ.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สิ้นสุดหรือไม่? ดอกเบี้ยทบต้นคิดได้ถึงวันพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ลูกหนี้ที่ 1 ทำหนังสือเบิกเงินเกินบัญชีกับเจ้าหนี้ผู้รับชำระหนี้ กำหนดชำระเงินคืนภายใน 6 เดือน ต่อมาลูกหนี้ที่ 1ขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2519 แม้ลูกหนี้ที่ 1 และเจ้าหนี้จะตกลงยืดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายมาเพียงวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่อาจ ถือได้แน่นอนว่าสัญญาจะสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว เพราะไม่มีข้อตกลงว่า เมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลานั้นให้สัญญาเป็นอันเลิกกันทันที เมื่อไปปรากฏว่า ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชี ตามพฤติการณ์ของคู่สัญญาถือว่ามีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกโดยปริยาย สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 1 อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงหาสิ้นสุดลงในวันที่ 13 มกราคม 2519 ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจน ถึงวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดหรือไม่: การต่ออายุโดยปริยายและสิทธิคิดดอกเบี้ย
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ลูกหนี้ที่ 1 ทำหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ กำหนดชำระเงินคืนภายใน 6 เดือน ต่อมาลูกหนี้ที่ 1 ขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2519 แม้ลูกหนี้ที่ 1 และเจ้าหนี้จะตกลงยืดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายมาเพียงวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่อาจถือได้แน่นอนว่าสัญญาจะสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว เพราะไม่มีข้อตกลงว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลานั้นให้สัญญาเป็นอันเลิกกันทันที เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชี ตามพฤติการณ์ของคู่สัญญาถือว่ามีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกปริยาย สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 1 อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงหาสิ้นสุดในวันที่ 13 มกราคม 2519 ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้