คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สอน ไชยสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157-158/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์-ฆ่าโดยเจตนา: การร่วมกันกระทำผิดแม้ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเป็นผู้ลงมือ
การปล้นทรัพย์ซึ่งกระทำต่อทรัพย์อันมีเงินสด เครื่องทองรูปพรรณ สินค้าต่างๆ พระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อต่างๆ และพระเขมรซึ่งมิได้กระทำต่อทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ วรรคแรก ย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ทวิ
การที่ ส. และ ช. จำเลยมีปืนติดตัวมาในการปล้มทรัพย์เพื่อใช้เป็นอาวุธประหารผู้ที่ต่อสู้ขัดขืนเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ฯลฯ เมื่อคนร้ายอื่นเข้าจับตัว บ. เจ้าทรัพย์ บ. ขัดขืนสะบัดหลุดและกระโดดลงจากบ้าน แล้วจำเลยทั้งสองใช้ปืนที่นำติดตัวไปยิง บ.คนละนัด เป็นเหตุให้ บ. ตายสมดังเจตนาของตน แม้ไม่ปรากฏว่ากระสุนปืนที่ถูก บ. นั้นเป็นกระสุนปืนของ ส. หรือ ช. จำเลยก็ถือว่า ส. และ ช. จำเลยร่วมกันฆ่า บ. ตามมาตรา 289 (6) และ (7) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1383/2514)
จำเลยมีความผิดตามมาตรา 289 (6) และ (7) และมาตรา 340 วรรคสุดท้าย ตามที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิบัติซึ่งมีอัตราโทษเท่ากัน ศาลลงโทษตามมาตรา 289 (6) และ (7) ได้ตามนัยมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องละเมิด: การรู้ถึงความเสียหายและตัวผู้รับผิดชอบเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานขับรถยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยทำให้สินค้าสูญหายและไม่ส่งคืนเครื่องมือประจำรถบรรทุกซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดเกินกว่า 1 ปีแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: โจทก์ฟ้องล่าช้าเกิน 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิด คดีขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานขับรถยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คำประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อนขึ้นกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยทำให้สินค้าสูญหาย และไม่ส่งคืนเครื่องมือประจำรถบรรทุกซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดเกินกว่า 1 ปีแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890-2891/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิดทางอาญา: การกระทำที่ขาดเจตนาเนื่องจากความเข้าใจผิดจากเจ้าหน้าที่
หลังจากทางราชการเข้าไปรังวัดเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วทางราชการมิได้แจ้งหรือฟ้องขับไล่ให้จำเลยออกจากป่าสงวนแห่งชาติ แต่กลับออกประกาศกำหนดให้ผู้ครอบครองที่ดินแจ้งการครอบครองเพื่อจะพิจารณาสอบสิทธิของผู้ครอบครองที่ดิน จำเลยก็ยื่นคำร้องว่าตนมีสิทธิในที่ดินที่ครอบครองภายในกำหนด นอกจากนี้ทางราชการยังเรียกประชุมราษฎรห้ามมิให้บุกเบิกป่าสงวนแห่งชาติต่อไป คงให้ทำกินเฉพาะที่ทำกินอยู่แล้วจึงทำให้จำเลยเชื่อว่าตนมีสิทธิทำกินในที่ดินที่ตนยึดถือครอบครองอยู่จนกว่าทางราชการจะสอบสิทธิของจำเลยเสร็จและแจ้งผลการสอบสิทธิให้จำเลยทราบว่าจำเลยไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าต่อมาทางราชการแจ้งผลการสอบสิทธิว่าจำเลยไม่มีสิทธิในที่ดิน ที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดดังฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890-2891/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิดทางอาญา: การกระทำโดยเชื่อว่ามีสิทธิทำกิน หากไม่มีการแจ้งผลสอบสิทธิ ย่อมขาดเจตนา
หลังจากทางราชการเข้าไปรังวัดเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วทางราชการมิได้แจ้ง หรือฟ้องขับไล่ให้จำเลยออกจากป่าสงวนแห่งชาติ แต่กลับออกประกาศกำหนดให้ผู้ครอบครองที่ดินแจ้งการครอบครองเพื่อจะพิจารณาสอบสิทธิ์ของผู้ครอบครองที่ดิน จำเลยก็ยื่นคำร้องว่าตนมีสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครองภายในกำหนด นอกจากนี้ทางราชการยังเรียกประชุมราษฎรห้ามมิให้บุกเบิกป่าสงวนแห่งชาติต่อไป คงให้ทำกินเฉพาะที่ทำกินอยู่แล้ว จึงทำให้จำเลยเชื่อว่าตนมีสิทธิ์ทำกินในที่ดินที่ตนยึดถือครอบครองอยู่จนกว่าทางราชการจะสอบสิทธิ์ของจำเลยเสร็จและแจ้งผลการสอบสิทธิ์ให้จำเลยทราบว่าจำเลยไม่มีสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าต่อมาทางราชการแจ้งผลการสอบสิทธิ์ว่าจำเลยไม่มีสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดดังฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมิน
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน" ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิ์ทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิ์ดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง และโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับ ฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5) (ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 5(1) (จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(32)
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าประทานบัตรเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน"ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งและโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตาม พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)(ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 5(1)(จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(32)(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2833/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นแย่งการครอบครองที่ดินโดยศาลต้องสอดคล้องกับคำให้การของผู้ถูกฟ้อง หากไม่สอดคล้องศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านเรือนของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาและครอบครองอยู่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกเรือนเป็นของนายเอิบ นางไข่บัวงาม หรือเป็นที่ดินที่ทางราชการหวงห้ามไว้ให้เป็นที่ว่างเปล่า และโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินกับรับโอนโดยสุจริต ดังนั้นตามคำให้การจำเลยไม่อาจมีเรื่องจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินที่จำเลยปลูกเรือนอยู่จากโจทก์จึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้ ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การและไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วยกเรื่องการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2833/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นแย่งการครอบครองที่ดิน ศาลต้องยึดตามข้อต่อสู้ของจำเลย และไม่ยกขึ้นวินิจฉัยเองหากไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านเรือนของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาและครอบครองอยู่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกเรือนเป็นของนายเอิบ นางไข่ บัวงาม หรือเป็นที่ดินที่ทางราชการหวงห้ามไว้ให้เป็นที่ว่างเปล่า และโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินกับรับโอนโดยทุจริต ดังนั้น ตามคำให้การจำเลยไม่อาจมีเรื่องจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินที่จำเลยปลูกเรือนอยู่จากโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้ ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การ และไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วยกเรื่องการอ้างสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง หากยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือ สัญญาจึงยังไม่สมบูรณ์
จำเลยยื่นหนังสือเสนอขอซื้อเครื่องในสุกรชำแหละจากโจทก์โดยยินยอมทำสัญญาและวางเงินประกัน โจทก์มีหนังสือตอบสนองว่า ผู้อำนวยการของโจทก์ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วเห็นควรจำหน่ายให้จำเลยตามราคาที่เสนอขอซื้อ ให้ไปทำสัญญาซื้อขายและวางเงินประกัน ดังนี้ตามหนังสือเสนอสนองของโจทก์จำเลยดังกล่าว โจทก์จำเลยต่างก็มีเจตนาว่าสัญญาอันมุ่งจะทำต่อกันนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือเสียก่อน ฉะนั้น กรณีของโจทก์จำเลยจึงยังมิได้มีสัญญาต่อกัน เพราะยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
of 29