คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สอน ไชยสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำผิด
โจทก์เป็นลูกจ้างของ ส. ประจำอยู่ที่ร้านแห่งหนึ่ง จำเลยไปที่ร้านดังกล่าวบอกโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยควบคุมดูแลอาคาร ร้านดังกล่าวต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิด จำเลยมีอำนาจรายงานผู้บังคับบัญชาให้สั่งรื้อได้ ถ้าไม่ต้องการให้รื้อ ให้โจทก์จ่ายเงินให้จำเลย 1,000 บาท โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149, 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขัดขวางการออกโฉนดที่ดิน: ที่ดินหวงห้าม, อำนาจกองทัพบก, ผู้กระทำการแทน, ไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรง
ที่พิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้ายเซ่าอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2479ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติให้เป็นอำนาจของผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรีที่จะหวงห้ามที่ดินได้ เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 และต่อมาพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินฯเสียแล้ว พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไปด้วย ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรี โดยลำพังจึงหมดอำนาจหวงห้ามที่ดิน แต่ที่พิพาทก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นรัฐมนนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทยได้มอบหมายให้กองทัพบกมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินตามกฎหมายไว้ในพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเซ่าฯ พ.ศ. 2479 อำนาจดูแลรักษาที่ดินซึ่งอยู่ในเขตตามพระราชกฤษฎีกานี้จึงตกเป็นของกองทัพบกการที่โจทก์ขอออกโฉนดที่พิพาทและจำเลยคัดค้าน โดยกองทัพบกมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยจึงอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนของกองทัพบพซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพื่อห้ามจำเลยขัดขวางการออกโฉนดที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินหวงห้าม: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการแทนกองทัพบก
ที่พิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเช่า อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2479 ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติให้เป็นอำนาจของผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรีที่จะหวงห้ามที่ดินได้ เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 และต่อมาพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินเสียแล้ว พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไปด้วย ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรีโดยลำพังจึงหมดอำนาจหวงห้ามที่ดิน แต่ที่พิพาทก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กองทัพบกมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเช่าฯ พ.ศ. 2479 อำนาจดูแลรักษาที่ดินซึ่งอยู่ในเขตตามพระราชกฤษฎีกานี้จึงตกเป็นของกองทัพบก การที่โจทก์ขอออกโฉนดที่พิพาทและจำเลยคัดค้าน โดยกองทัพบกมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยจึงอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนของกองทัพบกซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพื่อห้ามจำเลยขัดขวางการออกโฉนดที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยโฉนดผิดพลาด โจทก์ทราบข้อเท็จจริงแต่ยังซื้อขาย ถือเป็นการได้สิทธิไม่สุจริต
น. มีที่ดินสองแปลงคือ ที่พิพาทและที่ดินโฉนดที่2785 น. ได้ขายที่พิพาทให้บิดาของภริยาจำเลย แต่ด้วยความเข้าใจผิดได้นำโฉนดที่ 2785 มาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ บิดาของภริยาจำเลยครอบครองที่พิพาทมากว่า 30 ปีแล้วถึงแก่กรรม ภริยาจำเลยรับมรดกที่พิพาทแต่จดทะเบียนในโฉนดที่ 2785 แล้วจำเลยกับภริยาครอบครองที่พิพาทตลอดมาส่วนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2785 น. ขายให้กับผู้มีชื่อโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในโฉนดสำหรับที่พิพาท แล้วโอนกันต่อมาจนตกเป็นของ จ. จ. จดทะเบียนโอนขายให้โจทก์เมื่อได้ความว่าโจทก์มีเจตนาจะซื้อที่ดินแปลงที่ จ.ครอบครองเป็นเจ้าของอยู่เป็นสำคัญยิ่งกว่าที่ดินแปลงตามหน้าโฉนดที่ถูกต้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธอ้างเอาที่พิพาทการมีชื่อ จ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในโฉนดสำหรับที่พิพาท ไม่ทำให้ จ. มีสิทธิขายที่ดินตามหน้าโฉนดนี้เพราะที่ดินไม่ใช่ของ จ. เมื่อโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนี้ ยังรับซื้อและรับโอนทะเบียนมา ถือได้ว่าเป็นการได้สิทธิและได้จดทะเบียนสิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโฉนดไขว้กัน โจทก์รู้ข้อเท็จจริงแต่ยังซื้อขาย ถือเป็นการได้สิทธิโดยไม่สุจริต
น. มีที่ดินสองแปลงคือ ที่พิพาทและที่ดินโฉนดที่ 2785 น. ได้ขายที่พิพาทให้กับบิดาของภริยาจำเลย แต่ด้วยความเข้าใจผิดได้นำโฉนดที่ 2785 มาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ บิดาของภริยาจำเลยครอบครองที่พิพาทมากว่า 30 ปีแล้วถึงแก่กรรม ภริยาจำเลยรับมรดกที่พิพาทแต่จดทะเบียนในโฉนดที่ 2785 แล้วจำเลยกับภริยาครอบครองที่พิพาทตลอดมา ส่วนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2785 น. ขายให้กับผู้มีชื่อโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในโฉนดสำหรับที่พิพาท แล้วโอนกันต่อมาจนตกเป็นของ จ. จ. จดทะเบียนโอนขายให้โจทก์ เมื่อได้ความว่าโจทก์มีเจตนาจะซื้อที่ดินแปลงที่ จ. ครอบครองเป็นเจ้าของอยู่เป็นสำคัญยิ่งกว่าที่ดินแปลงตามหน้าโฉนดที่ถูกต้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์อ้างเอาที่พิพาท การมีชื่อ จ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในโฉนดสำหรับที่พิพาท ไม่ทำให้ จ. มีสิทธิ์ขายที่ดินตามหน้าโฉนดนี้เพราะที่ดินไม่ใช่ของ จ. เมื่อโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนี้ ยังรับซื้อและรับโอนทางทะเบียนมา ถือได้ว่าเป็นการได้สิทธิ์และได้จดทะเบียนสิทธิ์โดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย: พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตามมาตรา 1529(5) และการงดสืบพยาน
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า โจทก์จำเลยได้เสียเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรด้วยกันคนหนึ่ง เมื่อเกิดบุตรแล้วก็ได้แจ้งสูติบัตรและโจทก์แถลงรับข้อเท็จจริงในชั้นชี้สองสถานว่าโจทก์จำเลยได้เสียกัน ในโรงแรมแล้วโจทก์เองเป็นผู้ไปแจ้งการเกิดของบุตรเพื่อออกสูติบัตร ดังนี้ แม้จะมีการสืบพยานโจทก์และฟังข้อเท็จจริงได้ตามคำฟ้องดังกล่าวประกอบกับคำแถลงรับของโจทก์ กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปว่าเด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตามมาตรา 1529 (5) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่มีเหตุที่จะให้มีการสืบพยาน ศาลชั้นต้นชอบที่จะให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 แล้วก่อนประเมิน ครั้นคดีขึ้นสู่ศาลโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าการประเมินภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานไม่ถูกต้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบหักล้างการประเมิน ถ้ารายใดโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าการประเมินนั้นถูกต้อง
เมื่อได้มีการเรียกพยานหลักฐานต่าง ๆ มาพิจารณาในชั้นไต่สวนแล้วก็ถือว่าได้มีการไต่สวนโดยชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกผู้ใดมาสอบถามหรือไม่และสอบถามอย่างไร เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ ไม่มีผลทำให้การไต่สวนเสียไป
แม้ตามเอกสารของบริษัทแสดงว่าบริษัทจ่ายเงินค่าพาหนะแก่โจทก์ในการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อดูงาน แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จ่ายประสงค์จะจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อดูงานจริง ๆ หากแต่เป็นการจ่ายเป็นค่าตอบแทนในฐานะโจทก์เป็นประธานกรรมการบริษํทแล้ว โจทก์ย่อมไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) แต่ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2)
สิทธิการเช่าตึกคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ที่โจทก์ได้มาโดยไม่ได้จ่ายค่าทดแทนถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินได้จากการอื่นซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ละเลยไม่เสียภาษีเงินได้ จึงสมควรที่จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ที่โจทก์อ้างว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ดังกล่าว แต่เป็นเพราะโจทก์มีภารกิจหน้าที่การงานมากเรื่องภาษีอากรโจทก์ไม่ได้ทำเอง โจทก์ไม่มีความรู้ว่าต้องเสียภาษีอะไรเท่าใด คนของโจทก์จัดทำมาให้เสร็จ ทั้งขณะนั้นโจทก์กำลังประสบกับความทุกข์อย่างหนักตามที่ยกขึ้นกล่าวก็ไม่ใช่เหตุผลในกฎหมายอันทำให้โจทก์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายก่อน, ความสุจริต, และการลงทุนเพื่อสร้างความแพร่หลาย
โจทก์จำเลยต่างจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELIA" สำหรับสินค้าจำพวก 11 อันได้แก่ผ้าอนามัย แต่โจทก์มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"CEL" เป็นเครื่องหมายชุดของโจทก์และคำว่า "CEL" เป็นคำทั่วไปอันมีลักษณะไม่บ่อเฉพาะการและการผสมกับคำอื่น ๆ ได้ ประกอบกับโจทก์เพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELLA" เมื่อพ.ศ. 2516 อันเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนถึง 1 ปี และในระหว่างนั้นเป็นเวลาที่จำเลยได้ลงทุนทั้งในการผลิต การโฆษณา และจำหน่ายสินค้าที่จำเลยจดทะเบียนคำว่า "CELIA" จนเป็นที่แพร่หลายแก่ประชาชนทั่วประเทศแล้ว ส่วนสินค้าของโจทก์จะใช้เครื่องหมายคำว่า "CELIA" ยังมิได้ผลิตออกจำหน่ายเลย ดังนี้โจทก์จะมาอ้างสิทธิดังกล่าวเพื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELIA" โดยมิให้สิทธิจำเลยจดทะเบียนนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลัง, การใช้ก่อน, และเจตนาสุจริตของผู้ประกอบการ
โจทก์จำเลยต่างจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELIA" สำหรับสินค้าจำพวก 11 อันได้แก่ผ้าอนามัย แต่โจทก์ก็มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CEL"เป็นเครื่องหมายชุดของโจทก์และคำว่า "CEL" เป็นคำทั่วไปอันมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ และอาจผสมกับคำอื่นๆ ได้ ประกอบกับโจทก์เพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องการค้าคำว่า"CELIA"เมื่อพ.ศ.2516 อันเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนถึง 1 ปี และในระหว่างนั้นเป็นเวลาที่จำเลยได้ลงทุนทั้งในการผลิต การโฆษณา และจำหน่ายสินค้าที่จำเลยจดทะเบียนว่า "CELIA" จนเป็นที่แพร่หลายแก่ประชาชนทั่วประเทศแล้ว ส่วนสินค้าของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าว่า "CELIA" ยังมิได้ผลิตออกจำหน่ายเลย ดังนี้โจทก์จะมาอ้างสิทธิดังกล่าวเพื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELIA" โดยมิให้สิทธิจำเลยจดทะเบียนนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในคดีพนันและการริบของกลาง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืนเมื่อไม่ได้ต่อสู้คดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมเล่นการพนัน เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเงินอันเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการเล่นการพนันจากวงการเล่นเป็นของกลางจำเลยให้การรับว่ากระทำความผิดตามฟ้องจริง แปลได้ว่ารับสารภาพตามฟ้องทุกประการเมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าเงินของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการเล่นการพนัน จึงต้องริบตามพระราชบัญญัติการพนัน ถ้าจำเลยเห็นว่าเงินนั้นส่วนหนึ่งเป็นของตนซึ่งมิได้เอาออกพนัน ก็ชอบที่จะให้การต่อสู้ไว้ และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ริบของกลางจนคดีถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ที่จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเงินของกลางคืนได้
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีในชั้นขอให้คืนของกลาง แล้วสั่งคืนให้ผู้ร้องประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ มิได้ห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้
of 29