พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางจากการเล่นการพนันและการขอคืนของกลางของผู้รับสารภาพ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนัน เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเงินอันเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการเล่นการพนันจากวงการเล่นเป็นของกลาง จำเลยให้การรับว่าการกระทำความผิดตามฟ้องจริง แปลได้ว่ารับสารภาพตามฟ้องทุกประการ เมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าเงินของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการเล่นการพนัน จึงต้องริบตามพระราชบัญญัติการพนัน ถ้าจำเลยเห็นว่าเงินนั้นส่วนหนึ่งเป็นของตนซึ่งมิได้เอาออกพนัน ก็ชอบที่จะให้การต่อสู้ไว้ และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาให้ริบของกลางจนคดีนี้ถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ที่จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเงินของกลางคืนได้
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีในชั้นขอให้คืนของกลาง แล้วสั่งคืนให้ผู้ร้องประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ มิได้ห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีในชั้นขอให้คืนของกลาง แล้วสั่งคืนให้ผู้ร้องประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ มิได้ห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครอง: เริ่มนับเมื่อมีการโต้แย้งสิทธิชัดเจน ไม่ใช่วันจดทะเบียนซื้อขาย
จำเลยยื่นเรื่องราวต่อทางอำเภอขอขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ร้องคัดค้านว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่ง ให้จำเลยครอบครองไว้แทน อำเภอจึงทำการเปรียบเทียบ จำเลยว่าที่พิพาทเป็นของตนทั้งแปลง ได้รับมรดกและได้ครอบครองทำประโยชน์ติดต่อกันประมาณ 45 ปีแล้ว โจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้อง อำเภอจึงสั่งให้โจทก์นำคดีไปฟ้องต่อศาลภายใน 40 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องภายในกำหนดดังกล่าว อำเภอจึงจดทะเบียนซื้อขายให้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยได้อ้างในการเปรียบเทียบของอำเภอ โดยแสดงออกต่อโจทก์แล้วว่าจะเอาที่พิพาทเป็นของตน มิได้ยึดถือแทนโจทก์ต่อไป อันเป็นการแย่งการครอบคอรง หาใช่นับตั้งแต่วันที่อำเภอได้ทำการจดทะเบียนขายที่พิพาทไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครองโจกท์จึงขาดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง โจทก์จึงขาดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็คในคดีล้มละลาย: เช็คแก้ไขวันสั่งจ่ายทำให้ขาดอายุความ ฟ้องร้องไม่ได้
ลูกหนี้ออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสด โดยมีเจ้าหนี้เป็นผู้สลักหลัง แต่ผู้ทรงเช็คนำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารไม่ได้ เจ้าหนี้จึงได้ชำระหนี้ให้ผู้ทรงเช็คไป แล้วฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งสามัญให้ชำระเงินตามเช็ค ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงถอนฟ้องคดีแพ่งสามัญและนำเช็คมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้นำเช็คมาฟ้องเป็นคดีแพ่งสามัญเมื่อเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันสั่งจ่ายแล้ว ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็คในคดีล้มละลาย: เช็คแก้ไขวันสั่งจ่ายทำให้ขาดอายุความ
ลูกหนี้ออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสด โดยมีเจ้าหนี้เป็นผู้สลักหลัง แต่ผู้ทรงเช็คนำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารไม่ได้ เจ้าหนี้จึงได้ชำระหนี้ให้ผู้ทรงเช็คไป แล้วฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งสามัญให้ชำระเงินตามเช็ค ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงถอนฟ้องคดีแพ่งสามัญ และนำเช็คมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้นำเช็คมาฟ้องเป็นคดีแพ่งสามัญเมื่อเกินกำหนด 1 ปีนับแต่วันสั่งจ่ายแล้ว ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 จึงเป็นหนี้ที่จะต้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จ: เจตนาในการแจ้งความสำคัญกว่าการบรรยายรายละเอียด
คำฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137,173 แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นเท็จแต่เมื่อพิเคราะห์คำบรรยายฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้วมีความหมายอยู่ในตัวว่า เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้อง จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ ก็ครบองค์ความผิดและสมบูรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องแจ้งความเท็จ: เจตนาและความรู้เป็นเท็จ
คำฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137,173 แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นเท็จ แต่เมื่อพิเคราะห์คำบรรยายฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้วมีความหมายอยู่ในตัวว่า เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้อง จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ ก็ครบองค์ความผิดและสมบูรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียเงินเพิ่มภาษีจากการทุเลาการชำระภาษี และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรได้ เพราะมูลกรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียเงินเพิ่มภาษีการค้าแม้ได้รับการทุเลาการชำระภาษี และการอำนาจฟ้องกรมสรรพากร
เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรได้ เพราะมูลกรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในกรอกอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86 ทวิ (มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อนละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้บทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะ สำหรับภาษีการค้านั้น มีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมารตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86 ทวิ (มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อนละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้บทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะ สำหรับภาษีการค้านั้น มีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมารตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลภายนอกสัญญาเช่าและการขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์สร้างตึกแถวในที่ดินของวัด ให้ตึกแถวเป็นของวัดเมื่อมีผู้เช่า วัดทำสัญญาให้จำเลยเช่า จำเลยค้างชำระเงินค่าช่วยก่อสร้างต่อโจทก์โจทก์เป็นคนนอกสัญญาเช่า และไม่ใช่เจ้าของตึกแถวบอกเลิกสัญญาและขับไล่จำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการอายัดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษา และขอบเขตสิทธิของจำเลยในการคัดค้าน
เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลเพื่อใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้ขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน อายัดเงินค่าจ้างที่จำเลยจะได้รับจากบุคคลอื่น และศาลได้มีคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างที่จำเลยจะได้รับจากบุคคลอื่นแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนการอายัดดังกล่าวได้ จำเลยมีสิทธิเพียงแต่จะขอให้ศาลสั่งยกเลิกคำสั่งหนือหมายอายัดทรัพย์ชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง ได้เท่านั้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ได้