พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการอายัดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษา และสิทธิของจำเลยในการคัดค้าน
เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลเพื่อใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้ขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน อายัดเงินที่จ้างที่จำเลยได้จะได้รับจากบุคคลอื่น และศาลได้มีคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างที่จำเลยจะได้รับจากบุคคลอื่นแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการอายัดดังกล่าวได้ จำเลยมีสิทธิพียงแต่จะขอให้ศาลสั่งยกเลิกคำสั่งหรือหมายอายัดทรัพย์ชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรค 2 ได้เท่านั้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ใช้เป็นพาหนะในการกระทำผิด ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่สามารถริบได้
รถจักรยานยนต์ที่คนร้ายใช้เป็นพาหนะพากันไปยังที่ที่ปล้นทรัพย์ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้กระทำผิด ริบไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์แทนบริษัทต่างชาติ: ผู้จัดการสาขาชอบธรรมในการมอบอำนาจแจ้งความดำเนินคดีอาญา
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศสาธารณรัฐเวียตนาม และประธานกรรมการบริษัทโจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการสาขาบริษัทของโจทก์ซึ่งมีสาขาอยู่ที่ประเทศไทย มีอำนาจดำเนินการปฏิบัติแทนและในนามของบริษัทในเรื่องการสัมพันธ์ติดต่อรัฐบาลไทย เจ้าหน้าที่และบริษัทเอกชน สำนักงานหนังสือพิมพ์ และสาธารณชนทั่วไปได้ ดังนั้น เมื่อต่อมาจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยทำหน้าที่พนักงานขายตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้ว ไม่นำเงินค่าตั๋วส่งให้สาขาบริษัทโจทก์ ผู้จัดการสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยย่อมมีอำนาจร้องทุกข์หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ของตัวแทนบริษัทต่างชาติในไทย: หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมการร้องทุกข์ทางอาญา
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศสาธารณรัฐเวียตนาม และประธานกรรมการบริษัทโจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการสาขาบริษัทของโจทก์ซึ่งมีสาขาอยู่ที่ประเทศไทยมีอำนาจดำเนินการปฏิบัติแทนและในนามของบริษัทในเรื่องการสัมพันธ์ติดต่อรัฐบาลไทย เจ้าหน้าที่และบริษัทเอกชน สำนักงานหนังสือพิมพ์ และสาธารณชนทั่วไปได้ดังนั้น เมื่อต่อมาจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยทำหน้าที่พนักงานขายตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วไม่นำเงินค่าตั๋วส่งให้สาขาบริษัทโจทก์ ผู้จัดการสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยย่อมมีอำนาจร้องทุกข์หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเรื่องค่าชดเชย: ไม่ผูกพันทางกฎหมาย นายจ้างฟ้องเพิกถอนไม่ได้
พนักงานตรวจแรงงานเป็นแต่ผู้ไกล่เกลี่ยเรื่องค่าชดเชยคำเตือนที่ออกตามประกาศกระทรวงมหาดไทยมิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดไม่มีผลบังคับในกฎหมายถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ต้องฟ้องบังคับกันต่อไป ฉะนั้นก็ยังไม่มีการโต้แย้งสิทธิระหว่างนายจ้างกับพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างฟ้องให้ศาลเพิกถอนคำสั่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันจำเลย, สิทธิครอบครอง, อายุความฟ้องขับไล่, อำนาจฟ้อง
จำเลยเคยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาท ศาลพิพากษาในคดีนั้นว่าจำเลยฟ้องเกินกว่า 1 ปี นับแต่โจทก์ได้เข้าครอบครอบที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนจึงขาดอายุความ โจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาท หลังจากคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงกลับมาฟ้องจำเลยขอให้ขับไล่ออกจากที่พิพาท ดังนี้ ผลของคำพิพากษาในคดีเดิมซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมผูกพันจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก จำเลยจะอ้างว่า ได้ครอบครองที่พิพาทตลอดมาหาได้ไม่ เพราะขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินของนายจ้างโดยลูกจ้าง และเจตนาทุจริตในการลักทรัพย์
กล้องถ่ายภาพยนตร์เป็นของกรมแรงงาน อยู่ในความรับผิดชอบดูแลรักษาของ ส. จำเลยเป็นลูกจ้างประจำ ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ช่างภาพ ส. ได้มอบกุญแจตู้เหล็กเก็บกล้องถ่ายภาพยนตร์ให้จำเลยเก็บรักษา บางครั้ง ส. กับจำเลยไปถ่ายภาพในกิจการของกรมแรงงาน บางครั้งจำเลยไปคนเดียว นำกล้องถ่ายภาพยนตร์ไปได้โดยไม่ต้องรายงาน ส. แต่เสร็จราชการแล้วต้องนำไปเก็บไว้ที่เดิม ถ้าเสร็จงานเมื่อหมดเวลาราชการ จำเลยนำไปไว้ที่บ้านได้ วันเปิดทำงานก็นำเอาไปเก็บที่เดิมเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่า ส. ได้มอบการครอบครองกล้องถ่ายภาพยนตร์ให้แก่จำเลย จำเลยเอากล้องถ่ายภาพยนตร์ไปโดยเจตนาทุจริต ย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินของนายจ้างและการลักทรัพย์: แม้มอบกุญแจไขตู้เก็บทรัพย์สินให้ลูกจ้าง ก็ไม่ได้หมายความว่ามอบการครอบครองให้
กล้องถ่ายภาพยนตร์เป็นของกรมรแรงงาน อยู่ในความรับผิดชอบดูแลรักษาของ ส. จำเลยเป็นลูกจ้างประจำ ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ช่างภาพ ส.ได้มอบกุญแจตู้เหล็กเก็บกล้องถ่ายภาพยนตร์ให้จำเลยเก็บรักษา บางครั้ง ส.กับจำเลยไปถ่ายภาพให้กิจการของกรมแรงงาน บางครั้งจำเลยไปคนเดียว นำกล้องถ่ายภาพยนตร์ไปได้โดยไม่ต้องรายงาน ส. แต่เสร็จราชการแล้วต้องนำไปเก็บไว้ที่เดิม ถ้าเสร็จงานเมื่อหมดเวลาราชการ จำเลยนำไปไว้ที่บ้านได้ วันเปิดทำงานก็นำเอาไปเก็บที่เดิม เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่า ส.ได้มอบการครอบครองกล้องถ่ายภาพยนตร์ให้แก่จำเลย จำเลยเอากล้องถ่ายภาพยนตร์ไปโดยเจตนาทุจริต ย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีแพ่งโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีเหตุส่งหมายเรียกผิดพลาด ศาลต้องพิจารณาความตั้งใจของผู้ฟ้อง
แม้โจทก์มิได้แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในกำหนด 7 วันตามคำสั่ง ศาลชั้นต้น ในกรณีส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยไม่ได้ก็ตาม เมื่อได้ความว่าโจทก์ได้เอาใจใส่ในการดำเนินคดีของโจทก์มาโดยตลอด พนักงานศาลไปส่งหมายเรียกกับสำเนาคำฟ้องให้จำเลยผิดจากวันที่นัดหมายกันไว้ โดยโจทก์ไม่ทราบ ไม่ได้นำส่ง แต่โจทก์ก็ติดตามทำคำแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้มอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นต่อศาลแต่เกินกำหนด 7 วัน ซึ่งศาลได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงใหม่ในตราประทับรับฟ้องเดิมที่กำหนดไว้ 15 วันไปเพียงวันเดียว จึงยังไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลกำหนด ศาลจะมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาต้องระบุรายละเอียดการกระทำความผิด หากระบุเพียงบทกฎหมายถือเป็นฟ้องไม่ชอบ
การที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เป็นเหตุให้ใช้ชนผู้อื่นถึงตาย ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นแต่เพียงกล่าวอ้างถ้อยคำในบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำโดยประมาทโดยมิได้บรรยายข้อเท็จจริงให้เห็นว่าจำเลยมีความประมาทอย่างไร อันเป็นลักษณะสำคัญของคดีที่จะให้จำเลยรู้ข้อหาในความประมาทของตน จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)