พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานประมาทต้องระบุรายละเอียดการกระทำที่เป็นความประมาท มิใช่แค่กล่าวอ้างตามกฎหมาย
การที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงตายขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นแต่เพียงกล่าวอ้างถ้อยคำในบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำโดยประมาทโดยมิได้บรรยายข้อเท็จจริงให้เห็นว่าจำเลยมีความประมาทอย่างไร อันเป็นลักษณะสำคัญของดีที่จะให้จำเลยรู้ข้อหาในความประมาทของตน จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้าง และค่าเสียหายจากการเสียชีวิต
โจทก์บรรยายฟ้อง ก.ลูกจ้างของจำเลย ได้ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยไปในทางการที่จ้าง โดยความประมาทปราศจากความระมัดระวังและขับเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นเหตุให้ชน ส.บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพเป็นเงิน 10,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งขออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ไม่จำเป็นต้องบรรยายรายละเอียดในเรื่องค่าเสียหายเกี่ยวกับการปลงศพ ซึ่งโจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้อยู่แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ฟ้องเคลือบคลุม
ก.ลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ขับรถขุดดิน แต่ไม่มีหน้าที่ขับรถบรรทุกดินคันเกิดเหตุซึ่งอยู่ในแผนกเดียวกันกับตน วันเกิดเหตุ ก.ได้เบิกรถบรรทุกดินคันเกิดเหตุไปเพื่อขับบรรทุกดินในกิจการของจำเลยแทน ม. โดยประสงค์จะได้เงินค่าล่วงเวลา ท.เจ้าหน้าที่ควบคุมและปล่อยรถจำเลยได้ปล่อยให้ ก.นำรถดังกล่าวไปได้ ศ.เจ้าหน้าที่ของจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของ ก.เห็นว่า ก.ไม่มีหน้าที่ขับรถคันนั้น และนำรถออกมาไม่ถูกระเบียบจึงไม่ให้ขับ และให้ก.ไปขับรถขุดดินแทน แต่เมื่อเลิกงาน ศ. กลับปล่อยให้ ก.ขับรถคันเกิดเหตุกลับไปเก็บ ระหว่างทาง ก.ขับรถยนต์ชนบุตรโจทก์ถึงแก่ความตายโดยความประมาท การกระทำของ ก. เป็นไปในทางการที่จ้างของจำเลยโดยตรง การที่รถคันเกิดเหตุถูกนำออกโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลย จะนำมาใช้ยันบุคคลภายนอกเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิดหาได้ไม่
การที่บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายโดยการละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์จะต้องเป็นผู้ที่ดำรงชีพด้วยการอุปการะของผู้ตายจริง
ก.ลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ขับรถขุดดิน แต่ไม่มีหน้าที่ขับรถบรรทุกดินคันเกิดเหตุซึ่งอยู่ในแผนกเดียวกันกับตน วันเกิดเหตุ ก.ได้เบิกรถบรรทุกดินคันเกิดเหตุไปเพื่อขับบรรทุกดินในกิจการของจำเลยแทน ม. โดยประสงค์จะได้เงินค่าล่วงเวลา ท.เจ้าหน้าที่ควบคุมและปล่อยรถจำเลยได้ปล่อยให้ ก.นำรถดังกล่าวไปได้ ศ.เจ้าหน้าที่ของจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของ ก.เห็นว่า ก.ไม่มีหน้าที่ขับรถคันนั้น และนำรถออกมาไม่ถูกระเบียบจึงไม่ให้ขับ และให้ก.ไปขับรถขุดดินแทน แต่เมื่อเลิกงาน ศ. กลับปล่อยให้ ก.ขับรถคันเกิดเหตุกลับไปเก็บ ระหว่างทาง ก.ขับรถยนต์ชนบุตรโจทก์ถึงแก่ความตายโดยความประมาท การกระทำของ ก. เป็นไปในทางการที่จ้างของจำเลยโดยตรง การที่รถคันเกิดเหตุถูกนำออกโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลย จะนำมาใช้ยันบุคคลภายนอกเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิดหาได้ไม่
การที่บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายโดยการละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์จะต้องเป็นผู้ที่ดำรงชีพด้วยการอุปการะของผู้ตายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการวิ่งราวทรัพย์: จำเลยมีความผิดฐานสนับสนุน ไม่ใช่ตัวการร่วม และรถยนต์ที่ใช้ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
จำเลยได้ร่วมรู้คบคิดกับ ศ. และพวกที่จะมาวิ่งราวทรัพย์ของผู้เสียหายโดยมีการวงแผนให้ ศ. ไปทำการ ส่วนจำเลยกับพวกจอดรถอยู่ห่างที่เกิดเหตุเมื่อ ศ. วิ่งราวทรัพย์แล้วก็จะวิ่งหนีมาขึ้นรถยนต์ของจำเลยหลบหนีไป จำเลยจอดรถคอยอยู่ห่างที่เกิดเหตุประมาณ 80 เมตร และมีศาลาวัดบังมอบไม่เห็นที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่ ศ.ในการที่จะไปทำการวิ่งราวทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกะรทำผิดตาม มาตรา 86
การที่จำเลยกับพวกจอดรถรับ ศ.ไปเป็นเวลาภายหลังเมื่อศ. วิ่งราวทรัพย์เสร็จแล้ว ที่จอดรถและที่ ศ. วิ่งราวทรัพย์ห่างกันมาก และมองไม่เห็นกันจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมในการวิ่งราวทรัพย์
รถยนต์ของจำเลยมิใช่ทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงไม่พึงริบตาม มาตรา 33(1)
การที่จำเลยกับพวกจอดรถรับ ศ.ไปเป็นเวลาภายหลังเมื่อศ. วิ่งราวทรัพย์เสร็จแล้ว ที่จอดรถและที่ ศ. วิ่งราวทรัพย์ห่างกันมาก และมองไม่เห็นกันจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมในการวิ่งราวทรัพย์
รถยนต์ของจำเลยมิใช่ทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงไม่พึงริบตาม มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการวิ่งราวทรัพย์: การช่วยเหลือหลังการกระทำความผิด ไม่ถึงตัวการร่วม และไม่ริบรถยนต์
จำเลยได้ร่วมรู้คบคิดกับ ศ. และพวกที่จะมาวิ่งราวทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยมีการวางแผนให้ ศ.ไปทำการ ส่วนจำเลยกับพวกจอดรถอยู่ห่างที่เกิดเหตุ เมื่อ ศ.วิ่งราวทรัพย์แล้วก็จะวิ่งหนีมาขึ้นรถยนต์ของจำเลยหลบหนีไป จำเลยจอดรถคอยอยู่ห่างที่เกิดเหตุประมาณ 80 เมตร และมีศาลาวัดบังมองไม่เห็นที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่ ศ.ในการที่จะไปทำการวิ่งราวทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามมาตรา 86
การที่จำเลยกับพวกจอดรถกับ ศ.ไป เป็นเวลาภายหลังเมื่อ ศ.วิ่งราวทรัพย์เสร็จแล้ว ที่จอดรถและที่ ศ.วิ่งราวทรัพย์ห่างกันมาก และมองไม่เห็นกัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมในการวิ่งราวทรัพย์
รถยนต์ของจำเลยมิใช่ทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์จึงไม่ถึงริบตามมาตรา 33(1)
การที่จำเลยกับพวกจอดรถกับ ศ.ไป เป็นเวลาภายหลังเมื่อ ศ.วิ่งราวทรัพย์เสร็จแล้ว ที่จอดรถและที่ ศ.วิ่งราวทรัพย์ห่างกันมาก และมองไม่เห็นกัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมในการวิ่งราวทรัพย์
รถยนต์ของจำเลยมิใช่ทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์จึงไม่ถึงริบตามมาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมปล้นทรัพย์ แม้ไม่ได้ลงมือเองและไม่รู้ว่ามีอาวุธ ก็มีความผิดตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสามนั่งรถยนต์ไปด้วยกันแล่นผ่านหน้าบ้านผู้เสียหายเพื่อดูลาดเลาหาโอกาสชิงทรัพย์ผู้เสียหายก่อนแล้วจอดรถห่างจากผู้เสียหายเพียง 2 เมตรโดยไม่ดับเครื่อง จำเลยที่ 1 ลงจากรถไปรัดคอและกระชากสร้อยคอผู้เสียหายแล้ววิ่งหนีขึ้นรถ จำเลยที่ 2 เฝ้าดูการกระทำของจำเลยที่ 1 อยู่บนรถตลอดเวลา เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็นั่งรถหลบหนีไปด้วยกัน ดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ลงมือกระชากสร้อย จำเลยที่ 2 ก็ต้องมีความผิดฐานร่วมเป็นตัวการกระทำการปล้นทรัพย์ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 1 มีอาวุธ (มีด) ติดตัวไปด้วยในการปล้นทรัพย์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้หรือแสดงอาวุธในการกระทำความผิด และจำเลยที่ 2 ไม่รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ต้องมีความผิดตามมาตรา340 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2514
ศาลล่างพิเคราะห์พยานหลักฐานในสำนวนแล้ว เชื่อตามพยานโจทก์ว่าจำเลยกระทำผิดและลงโทษจำเลย ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าพยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ แม้คำพิพากษาไม่ได้กล่าวในรายละเอียดไว้ว่ารับฟังพยานหลักฐานจำเลยไม่ได้อย่างไร ก็ไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความ
เมื่อจำเลยที่ 1 มีอาวุธ (มีด) ติดตัวไปด้วยในการปล้นทรัพย์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้หรือแสดงอาวุธในการกระทำความผิด และจำเลยที่ 2 ไม่รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ต้องมีความผิดตามมาตรา340 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2514
ศาลล่างพิเคราะห์พยานหลักฐานในสำนวนแล้ว เชื่อตามพยานโจทก์ว่าจำเลยกระทำผิดและลงโทษจำเลย ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าพยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ แม้คำพิพากษาไม่ได้กล่าวในรายละเอียดไว้ว่ารับฟังพยานหลักฐานจำเลยไม่ได้อย่างไร ก็ไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมปล้นทรัพย์ แม้ไม่ได้ลงมือเอง และการใช้คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน
จำเลยทั้งสามนั่งรถยนต์แล่นช้า ๆ ผ่านหน้าบ้านที่ผู้เสียหายกำลังทำความสะอาดอยู่ 2 เที่ยว จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคนขับ จอดรถโดยไม่ดับเครื่อง ห่างผู้เสียหาย 2 เมตร จำเลยที่ 1 ลงจากรถไปข้างหลังผู้เสียหาย ใช้แขนรัดคอกระชากสร้อยคอแล้ววิ่งมาขึ้นรถ โดยจำเลยที่ 2 เฝ้าดูการกระทำอยู่ตลอดเวลา เสร็จแล้วหนีไปด้วยกัน และถูกจับได้พร้อมกันในเวลาต่อมาไม่นาน จำเลยที่ 2 รับสารภาพต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำบันทึกจับกุม เช่นนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ลงมือกระชากสร้อยเอง ก็ต้องมีความผิดฐานร่วมเป็นตัวการกระทำการปล้นทรัพย์ด้วย จำเลยที่ 1 มีมีดเป็นอาวุธ แม้มิได้ใช้หรือแสดงอาวุธนั้นในการกระทำผิด และจำเลยที่ 2 ก็ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธ ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานมีอาวุธทำการปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 2 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 14
คำรับสารภาพชั้นถูกจับกุมของจำเลยนั้น ศาลย่อมนำมาฟังประกอบพยานหลักฐานในสำนวนได้
การที่ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานในสำนวนแล้วเชื่อตามพยานโจทก์ว่าจำเลยกระทำผิด และลงโทษจำเลยนั้น ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าพยานหลักฐานจำเลยไม่อาจหักล้างพยานโจทก์ได้ แม้ไม่กล่าวในคำพิพากษาว่ารับฟังพยานหลักฐานจำเลยไม่ได้อย่างไร ก็ไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความ
คำรับสารภาพชั้นถูกจับกุมของจำเลยนั้น ศาลย่อมนำมาฟังประกอบพยานหลักฐานในสำนวนได้
การที่ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานในสำนวนแล้วเชื่อตามพยานโจทก์ว่าจำเลยกระทำผิด และลงโทษจำเลยนั้น ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าพยานหลักฐานจำเลยไม่อาจหักล้างพยานโจทก์ได้ แม้ไม่กล่าวในคำพิพากษาว่ารับฟังพยานหลักฐานจำเลยไม่ได้อย่างไร ก็ไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองบ้านบนที่ดิน น.ส.3 แม้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ สิทธิครอบครองยังคงมีผล
จำเลยขายฝากที่ดิน น.ส.3 พร้อมบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าวไว้กับ ส. ขายที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องโดยทำสัญญาซื้อขายกันเองดังนี้ แม้สัญญาซื้อขายบ้านพิพาทระหว่าง ส. กับผู้ร้องโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ดี แต่บ้านพิพาทปลูกอยู่บนที่ดิน น.ส.3 ซึ่งมีได้แต่สิทธิครอบครอง บ้านพิพาทอันเป็นส่วนควบของที่ดินดังกล่าวจึงได้แต่เพียงสิทธิครอบครองเช่นเดียวกัน เมื่อ ส. ได้สละเจตนาครอบครองบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง การครอบครองของ ส. ก็สิ้นลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 และผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนก็ได้ไปซึ่งการครอบครองตามมาตรา 1378 จำเลยไม่มีสิทธิใด ๆ ในบ้านพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดบ้านพิพาทเพื่อขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองบ้านบนที่ดิน น.ส.3 แม้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
จำเลยขายฝากที่ดิน น.ส.3 พร้อมบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าวไว้กับ ส. แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมา ส. ขายที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องโดยทำสัญญาซื้อขายกันเอง ดังนี้ แม้สัญญาซื้อขายบ้านพิพาทระหว่าง ส. กับผู้ร้องเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ดี แต่บ้านพิพาทปลูกอยู่บนที่ดิน น.ส.3 ซึ่งมีได้แต่สิทธิครอบครอง บ้านพิพาทอันเป็นส่วนควบของที่ดินดังกล่าวจึงมีได้แต่เพียงสิทธิครอบครองเช่นเดียวกัน เมื่อ ส. ได้สละเจตนาครอบครองบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง การครอบครองของ ส. ก็นิ้นลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 และผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนก็ได้ไปซึ่งการครอบครองตามมาตรา 1378 จำเลยไม่มีสิทธิใด ๆ ในบ้านพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดบ้านพิพาทเพื่อขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดตามเช็ค: แม้จะพิพาทเรื่องที่มาของหนี้ แต่จำเลยผู้สั่งจ่ายยังต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คที่ออก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ แม้โจทก์นำสืบว่าจำเลยไม่เคยสั่งซื้อสินค้าพิพาทจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์ เช็คพิพาทนั้นไม่ได้สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ส่วนตัว แต่เป็นเช็คที่จำเลยออกให้โจทก์เพื่อชำระหนี้บางส่วนแทนบุคคลอื่น การนำสืบดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้เช็คมาอย่างไร และเหตุใดโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาทนั้นเป็นเช็คที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายและโจทก์เป็นผู้ทรง จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แม้จำเลยจะตั้งทนายมาถามค้านพยานโจทก์ก็ตาม ข้อต่อสู้ของจำเลยเรื่องโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตนั้น ไม่ได้เป็นประเด็นมาแต่แรก จำเลยจะยกข้อเท็จจริงเรื่องนี้ขึ้นอ้างในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเพื่อให้วินิจฉัยนั้น ไม่ได้ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แม้จำเลยจะตั้งทนายมาถามค้านพยานโจทก์ก็ตาม ข้อต่อสู้ของจำเลยเรื่องโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตนั้น ไม่ได้เป็นประเด็นมาแต่แรก จำเลยจะยกข้อเท็จจริงเรื่องนี้ขึ้นอ้างในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเพื่อให้วินิจฉัยนั้น ไม่ได้ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาทก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องคดีล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาทให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่าๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงแต่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อนดังนั้นการปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงแต่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อนดังนั้นการปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป