คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สอน ไชยสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหารยังคงมีผลแม้เลิกใช้กฎอัยการศึก คดีชิงทรัพย์ที่เกิดก่อนหน้านี้ยังอยู่ในอำนาจพิจารณา
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2516 เวลากลางคืน ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 แม้ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2517 มาตรา 3 ยกเลิกความผิดบางประเภทรวมทั้งความผิดนี้ แต่มาตรา 4 ให้คดีที่เกิดขึ้นหรือหลังวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 นาฬิกา จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้คงอยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษา และแม้จะมีประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัด ลงวันที่ 18 มีนาคม 2517 ให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดรวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2517 เวลา 6.00 นาฬิกา เป็นต้นไปก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 มาตรา 4 ก็บัญญัติว่า เมื่อเลิกใช้กฎอัยการศึกศาลทหารยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างอยู่ในศาลหรือที่ยังมิได้ฟ้องเช่นคดีนี้ได้ ฉะนั้น ศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ที่ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและศาลอุทธรณ์รับคำฟ้องและดำเนินการพิจารณาพิพากษามา จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวดับอำนาจศาล คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีชิงทรัพย์ที่เกิดก่อนประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก ยังคงอยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ฟ้องต่อศาลพลเรือน
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2516 เวลากลางคืน ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พ.ศ.2514 แม้ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 พ.ศ.2517 มาตรา 3 ยกเลิกความผิดบางประเภทรวมทั้งความผิดนี้ แต่มาตรา 4 ให้คดีที่เกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 นาฬิกา จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คงอยู่ในอำนาจศาลทหาร พิจารณาพิพากษา และแม้จะมีประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดลงวันที่ 18 มีนาคม 2517 ให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดรวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2517 เวลา 6.00 นาฬิกา เป็นต้นไปก็ตามแต่พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503มาตรา 4 ก็บัญญัติว่า เมื่อเลิกใช้กฎอัยการศึกศาลทหารยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างอยู่ในศาล หรือที่ยังมิได้ฟ้องเช่นคดีนี้ได้ฉะนั้น ศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและศาลอุทธรณ์รับคำฟ้องและดำเนินการพิจารณาพิพากษามา จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจศาล คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำขอท้ายฟ้องที่ให้ถือคำพิพากษาแทนเจตนาจำเลย และการบังคับคดีตามสัญญาให้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินให้ ฉ. และจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง จำเลยร่วมกันหลอกลวงให้โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 ทั้งแปลงก่อน โดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะแบ่งให้ ฉ. ครึ่งหนึ่งภายหลัง และจะระบุข้อตกลงไว้ในหนังสือสัญญาให้ด้วย โจทก์จึงลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาให้ ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่แบ่งที่ดินให้ ฉ. มิได้ระบุข้อตกลงไว้ในสัญญาให้ และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จำนองที่พิพาทไว้กับธนาคาร สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง โดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย และแบ่งที่พิพาทที่ไถ่ถอนแล้วให้ ฉ. ครึ่งหนึ่ง ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ ในกรณีที่โจทก์ชนะคดีและจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาจะด้วยเหตุใดก็ตาม โจทก์ก็อาจไถ่ถอนที่ดินพิพาทอันมีผลผูกพันส่วนที่จะยกให้ ฉ. เสียเอง แล้วมาฟ้องเรียกร้องเอาค่าไถ่ถอนคืนจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้ สำหรับผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจร้องสอดหรืออาจถูกเรียกให้เข้ามาในคดีนี้ได้อยู่แล้ว หรือคู่กรณีจะเลือกฟ้องร้องกันใหม่เป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้
ความประสงค์ของโจทก์ตามคำขอก็คือต้องการให้จำเลยโอนที่พิพาทครึ่งหนึ่งให้ ฉ. โดยปลอดจำนองเท่านั้น ซึ่งถ้าปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์รับที่ดินพิพาทไว้โดยมีข้อตกลงดังกล่าว จำเลยก็ถูกผูกมัดโดยสัญญาที่จะต้องโอนที่ดินให้ ฉ. ตามที่โจทก์ขอมา ส่วนการที่ ฉ. จะรับการให้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งในชั้นบังคับคดี หาทำให้คำขอของโจทก์บังคับไม่ได้แต่อย่างไรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ที่ดินมีเงื่อนไข โอนให้ผู้อื่น & การบังคับคดี: ศาลอนุญาตให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยได้
สัญญาให้ที่ดิน ผู้รับให้ไม่โอนที่ดินแก่ผู้อื่นต่อไปกึ่งหนึ่งตามที่ตกลงไว้กับผู้ให้ กลับเอาที่ดินไปจำนอง ผู้ให้ฟ้องบังคับให้ผู้รับให้ไถ่จำนองและโอนกึ่งหนึ่งแก่คนภายนอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารโดยมีเจตนาให้หลงเชื่อ แม้ไม่ได้ใช้จริงก็เป็นความผิด
จำเลยได้รับทำสำเนาทะเบียนบ้านปลอมขึ้นตามที่เจ้าพนักงานตำรวจได้วางแผนเพื่อจับกุม และเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านปลอมดังกล่าวเป็นของกลางซึ่งจำเลยฉีกขาดขณะจับกุมดังนี้ แม้สำเนาทะเบียนบ้านปลอมนั้นจะมิได้นำไปใช้ในกิจการที่จำเลยทำและไม่มีผู้ใดเจตนานำไปใช้ก็ดี แต่ในการทำสำเนาทะเบียนบ้านปลอมขึ้นที่พึงเห็นได้ว่า จำเลยได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงอยู่ในตัว การกระทำของจำเลยจึงเข้าองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร แม้เอกสารนั้นมิได้ถูกนำไปใช้ แต่เจตนาในการทำขึ้นเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารจริงก็ถือเป็นความผิด
จำเลยได้รับทำสำเนาทะเบียนบ้านปลอมขึ้นตามที่เจ้าพนักงานตำรวจได้วางแผนเพื่อจับกุม และเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านปลอมดังกล่าว เป็นของกลางซึ่งจำเลยฉีดขาดขณะจับกุม ดังนี้ แม้สำเนาทะเบียนบ้านปลอมนั้นจะมิได้นำไปใช้ในกิจการที่จำเลยทำและไม่มีผู้ใดเจตนานำไปใช้ก็ดี แต่ในการทำสำเนาทะเบียนบ้านปลอมขึ้นที่พึงเห็นได้ว่า จำเลยได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงอยู่ในตัว การกระทำของจำเลยจึงเข้าองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639-2640/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งข้อเท็จจริงในฎีกาต้องชัดเจน และศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งค่าฤชาธรรมเนียม แม้ไม่มีคำขอ
ฎีกาจำเลยเป็นแต่เพียงโต้เถียงว่าที่ดินตามบัญชีท้ายฟ้องเป็นสินเดิมของ ล. โดยมิได้อ้างอิงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเป็นเหตุผลแห่งข้อโต้แย้งให้ชัดแจ้งในฎีกา ฎีกาของจำเลยในประเด็นข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 ประกอบกับมาตรา 167 บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ในอันที่จะมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าคู่ความทั้งปวงหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจักมีคำขอหรือไม่ก็ดี ศาลอุทธรณ์จึงหยิบยกเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ขึ้นกล่าวเองได้ แม้ประเด็นแห่งคดีมิได้มีข้อโต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา และจำเลยได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถา เมื่อเรื่องปรากฏต่อศาลอุทธรณ์ก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า โจทก์จำเลยต่างฝ่ายต่างมีส่วนได้รับทรัพย์พิพาทจากกองมรดกเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยมีทรัพย์สินพอจะเสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 159 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้น หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์พิพาท แล้วเอาฃำระค่าฤชาธรรมเนียมจากทรัพย์สินที่ยึดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639-2640/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสินสมรสที่ไม่มีเหตุผลชัดเจน และคำสั่งค่าฤชาธรรมเนียมจากทรัพย์สินมรดก
ฎีกาจำเลยเป็นเพียงโต้เถียงว่าที่ดินตามบัญชีท้ายฟ้องเป็นสินเดิมของ ส. โดยมิได้อ้างข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายเป็นเหตุผลแห่งข้อโต้แย้งให้ชัดแจ้งในฎีกา ฎีกาของจำเลยในประเด็นข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 ประกอบกับมาตรา 167 บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ในอันที่จะมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าคู่ความทั้งปวงหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจักมีคำขอหรือไม่ก็ดี ศาลอุทธรณ์จึงหยิบยกเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ขึ้นกล่าวเองได้ แม้ประเด็นแห่งคดีมิได้มีข้อโต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ได้รับอนุญาตในฟ้องคดีอย่างคนอนาถา และจำเลยได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถา เมื่อเรื่องปรากฏต่อศาลอุทธรณ์ก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า โจทก์จำเลยต่างฝ่ายต่างมีส่วนได้รับทรัพย์พิพาทจากกองมรดกเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยมีทรัพย์สินพอจะเสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้น หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์พิพาท แล้วเอาชำระค่าฤชาธรรมเนียมจากทรัพย์สินที่ยึดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำศพจากผู้ทำละเมิดแก่บิดาผู้รับรองบุตรนอกสมรส
ชายหญิงมิได้จดทะเบียนสมรสตามบรรพ 5 บุตรที่บิดารับรองแล้วตาม มาตรา 1627 ซึ่งปรากฏจากข้อเท็จจริงต่างๆ เรียกค่าทำศพจากผู้ทำละเมิดให้บิดาตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ผูกพันจำเลย แม้ไม่ได้มอบอำนาจ เหตุมีพฤติการณ์เชิดให้เป็นตัวแทน และอายุความสะดุดหยุดลง
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อจากโจทก์อยู่ จำเลยที่ 3 ได้คิดบัญชีกับโจทก์แล้วได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้มอบอำนาจให้ทำแทน แต่มีพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เชิดใช้จำเลยที่ 3ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตลอดมา จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการก็ต้องรับผิดร่วมด้วย ส่วนจำเลยที่ 3แม้จะเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ก็ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นด้วย ตามมาตรา 1088
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อให้โจทก์ด้วยเช็คซึ่งจำเลยที่ 3เป็นผู้สั่งจ่าย แต่เช็คขึ้นเงินไม่ได้ ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้มาคิดบัญชีกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ การที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งว่า หากจำเลยที่ 3 ไม่ตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โดยดีจะให้ตำรวจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 3 ในข้อหาออกเช็คไม่มีเงินนั้น เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามปกตินิยมเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา 127 หาได้จัดว่าเป็นการข่มขู่ไม่ และตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์นั้น ก็มีลักษณะเป็นการยอมความกันในความผิดอันยอมความได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ
เมื่อมีการรับสภาพหนี้แล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่วัน ทำสัญญารับสภาพหนี้ตามมาตรา 172,181
of 29