พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกชำระหนี้ตามคำพิพากษา: จำเลยมีสิทธิเลือกส่งมอบกระดาษหรือชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์ไม่มีสิทธิเลือก
บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบกระดาษจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ คือเสียหายหรือขาดทุนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง แต่คำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้จำเลยส่งมอบกระดาษและชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์คงขอให้จำเลยส่งมอบกระดาษหรือชดใช้ค่าเสียหาย และศาลพิพากษาให้ตามคำขอแล้วหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์จึงมี 2 อย่าง คือส่งมอบกระดาษหรือชดใช้ค่าเสียหายซึ่งจำเลยจะต้องกระทำเพียงอย่างเดียว สิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 หาใช่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่อการประสบอันตรายของลูกจ้างขณะเดินทางไปทำงาน ต้องเป็นการเดินทางตามคำสั่งหรือเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง
ลูกจ้างมีหน้าที่เดินตลาดและเก็บเงินจากลูกค้า นายจ้างมอบรถจักรยานยนต์ไว้ให้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้ดูแลรักษาและอนุญาตให้นำรถกลับบ้านและขับมาทำงานที่สำนักงานด้วย ขณะที่ลูกจ้างประสบอันตรายนั้นเป็นเวลาที่ลูกจ้างขับรถจักรยานยนต์จากบ้านจะไปสำนักงานเพื่อปฏิบัติงานตามปกติ มิได้ประสบอันตรายในขณะที่กำลังเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง จึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง และมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่ออุบัติเหตุลูกจ้างขณะเดินทางไปทำงาน การคุ้มครองแรงงาน
ลูกจ้างมีหน้าที่เดินตลาดและเก็บเงินจากลูกค้า นายจ้างมอบรถจักรยานยนต์ไว้ให้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้ดูแลรักษาและอนุญาตให้นำรถกลับบ้านและขับมาทำงานที่สำนักงานด้วย ขณะที่ลูกจ้างประสบอันตรายนั้นเป็นเวลาที่ลูกจ้างขับรถจักรยานยนต์จากบ้านจะไปสำนักงานเพื่อปฏิบัติงานตามปกติ มิได้ประสบอันตรายในขณะที่กำลังเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง จึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง และมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีแทน สามีให้ความยินยอมแล้ว ไม่ต้องยินยอมซ้ำ
หญิงมีสามีได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีแล้วหญิงมีสามีมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นโจทก์แทนได้ โดยสามีไม่ต้องยินยอมซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2363/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า UMATCO มาก่อน จำเลยไม่มีสิทธิคัดค้านการที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทเดียวกัน แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเพราะละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า หรือบังคับให้ถอนสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก่อนที่โจทก์ได้จดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิครอบครองที่ดินและเจตนาครอบครองเป็นเจ้าของ ทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครอง
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 แม้การขายฝากไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าฝ่ายโจทก์ผู้ขายไม่ไถ่คืนภายในกำหนด 2 ปี ให้ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าฝ่ายโจทก์ได้สละสิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่ในที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ไว้ล่วงหน้าโดยเด็ดขาดตั้งแต่วันพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว และจำเลยที่ 1 ได้ยึดถือครอบครองที่พิพาทเพื่อตนโดยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันพ้นกำหนด 2 ปีเช่นกัน เมื่อที่พิพาทไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์จำเลยที่ 1 จึงได้สิทธิครอบครองนับแต่วันพ้นกำหนดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิครอบครองที่ดินหลังสัญญาขายฝากไม่ไถ่ โดยการครอบครองเพื่อตนเองของผู้อื่น
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 แม้การขายฝากไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าฝ่ายโจทก์ผู้ขายไม่ไถ่คืนภายในกำหนด 2 ปี ให้ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าฝ่ายโจทก์ได้สละสิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่ในที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ไว้ล่วงหน้าโดยเด็ดขาดตั้งแต่วันพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว และจำเลยที่ 1 ได้ยึดถือครอบครองที่พิพาทเพื่อตนโดยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันพ้นกำหนด 2 ปีเช่นกัน เมื่อที่พิพาทไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์จำเลยที่ 1 จึงได้สิทธิครอบครองนับแต่วันพ้นกำหนดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอสิทธิในที่ดินหลังคำพิพากษาตามยอม ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากมิได้ขอให้บังคับคดี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินครึ่งหนึ่งในโฉนดที่พิพาทโดยได้รับมรดกแล้วครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์ด้วยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมากว่า 10 ปีแล้ว มารดาจำเลยเคยเป็นความกับโจทก์ แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลพิพากษาตามยอมให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง และให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ต่อมามารดาจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยได้จดทะเบียนรับมรดกที่ดินตามโฉนดดังกล่าวทั้งโฉนด ดังนี้ แม้ได้ความว่าโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมในคดีที่โจทก์พิพาทกับมารดาจำเลยเสียภายใน 10 ปีก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดครึ่งหนึ่ง และขอแบ่งแยกที่พิพาท โจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับคดีในคดีก่อน กรณีจึงเป็นคนละเรื่องกัน จะนำอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับในคดีนี้ไม่ได้ และจำเลยได้โต้แย้งสิทธิในที่พิพาทขึ้นใหม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมไม่เชื่อมโยงกับคดีขอให้พิพากษาถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินครึ่งหนึ่งในโฉนดที่พิพาทโดยได้รับมรดกแล้วครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์ด้วยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมากว่า 10 ปีแล้ว มารดาจำเลยเคยเป็นความกับโจทก์ แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลพิพากษาตามยอมให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง และให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ต่อมามารดาจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยได้จดทะเบียนรับมรดกที่ดินตามโฉนดดังกล่าวทั้งโฉนด ดังนี้ แม้ได้ความว่าโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมในคดีที่โจทก์พิพาทกับมารดาจำเลยเสียภายใน 10 ปีก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดครึ่งหนึ่ง และขอแบ่งแยกที่พิพาท โจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับคดีในคดีก่อน กรณีจึงเป็นคนละเรื่องกัน จะนำอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับในคดีนี้ไม่ได้ และจำเลยได้โต้แย้งสิทธิในที่พิพาทขึ้นใหม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน: การพิจารณาอำนาจประหัตประหารของอาวุธ และการปรับตามมาตรา 80 แทนมาตรา 81
ตามปกติถือว่าปืนเป็นอาวุธร้ายแรง อาจทำให้ถึงตายได้ ปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้เสียหายเป็นอาวุธปืนสั้น จะทำขึ้นเองหรือทำมาจากที่ใดไม่ปรากฏ แต่ได้ความว่าเมื่อยิงนัดหนึ่งแล้วต้องใช้มือจับลูกโม่ให้หมุนก่อนที่จะใช้ยิงนัดต่อไป กระสุนปืนที่ถูกผู้เสียหายไม่ได้เข้าตรง ๆ โดยเฉียดสีข้างเป็นบาดแผลกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร ผู้เสียหายพลัดตกลงไปในคูและลุกขึ้นไม่ได้ แสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงมีอำนาจประหัตประหาร ให้ผู้ถูกยิงถึงแก่ความตายได้ ถ้ากระสุนปืนถูกอวัยวะอื่นที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 โดยถือว่าจำเลยลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2) ประกอบด้วยมาตรา 80 หาใช่มาตรา 81 ไม่