พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน: การพิจารณาอำนาจประหัตประหารของอาวุธ และการปรับตามมาตรา 80 แทนมาตรา 81
ตามปกติถือว่าปืนเป็นอาวุธร้ายแรง อาจทำให้ถึงตายได้ ปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้เสียหายเป็นอาวุธปืนสั้น จะทำขึ้นเองหรือทำมาจากที่ใดไม่ปรากฏ แต่ได้ความว่าเมื่อยิงนัดหนึ่งแล้วต้องใช้มือจับลูกโม่ให้หมุนก่อนที่จะใช้ยิงนัดต่อไป กระสุนปืนที่ถูกผู้เสียหายไม่ได้เข้าตรง ๆ โดยเฉียดสีข้างเป็นบาดแผลกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร ผู้เสียหายพลัดตกลงไปในคูและลุกขึ้นไม่ได้ แสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงมีอำนาจประหัตประหาร ให้ผู้ถูกยิงถึงแก่ความตายได้ ถ้ากระสุนปืนถูกอวัยวะอื่นที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 โดยถือว่าจำเลยลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2) ประกอบด้วยมาตรา 80 หาใช่มาตรา 81 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้มีเรียกค่าเสียหาย ก็ไม่อยู่ในข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทำการซ่อมรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการเคาะและพ่นสีซึ่งก่อให้เกิดเสียงดัง หรือส่งกลิ่นเหม็นทำความเดือดร้อนรำคาญและเป็นอันตรายต่อร่างกายกับอนามัยของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคสอง แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มิได้ห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงถึงแม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 10,000 บาท และค่าเสียหายในอนาคตเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะไม่ละเมิดสิทธิของโจทก์อีกต่อไป ก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีละเมิดจากเสียงดังและกลิ่นเหม็น: การอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงยังทำได้หากเป็นคดีปลดเปลื้องทุกข์
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทำการซ่อมรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการเคาะและพ่นสีซึ่งก่อให้เกิดเสียงดัง หรือส่งกลิ่นเหม็นทำความเดือดร้อนรำคาญและเป็นอันตรายต่อร่างกายกับอนามัยของโจทก์ นั้น ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มิได้ห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ถึงแม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 10,000 บาท และค่าเสียหายในอนาคตเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะไม่ละเมิดสิทธิของโจทก์อีกต่อไปก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามความหมายของ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของอาคารมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากอาคารชำรุด แม้จะให้เช่าบางส่วน
จำเลยให้เช่าตึกของจำเลยทั้งสามชั้นแต่จำเลยยังใช้ตึกของจำเลยบางส่วนเป็นที่ตั้งบริษัทและสำนักงานของจำเลยอยู่ ถือว่าจำเลยยังครองตึกของจำเลยอยู่ หากความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ตึกของจำเลยก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องหรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอ จำเลยซึ่งเป็นทั้งผู้ครองและเจ้าของตึกจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของ/ผู้ครอบครองอาคารต่อความเสียหายจากอาคารชำรุด
จำเลยให้เช่าตึกของจำเลยทั้งสามชั้น แต่จำเลยยังใช้ตึกของจำเลยบางส่วนเป็นที่ตั้งบริษัทและสำนักงานของจำเลยอยู่ ถือว่าจำเลยยังครองตึกของจำเลยอยู่หากความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ตึกของจำเลยก่อสร้างไว้ ชำรุดบกพร่องหรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอ จำเลยซึ่งเป็นทั้งผู้ครองและเจ้าของตึกจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นความประมาทเลินเล่อในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โดยเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริง โจทก์ฎีกาได้ อุทธรณ์นั้นรับข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แต่คัดค้านว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงดังนี้ เป็นปัญหากฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบสินค้า ซี.ไอ.เอฟ. (CIF) ผู้ขายรับผิดชอบจนถึงกราบเรือที่ท่าเรือต้นทาง
ซื้อกำมะถัน ซึ่งต้องขนจากต่างประเทศมายังประเทศไทย การส่งมอบสำเร็จเมื่อส่งมอบแก่ผู้ขนส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 463สัญญาซื้อขายที่ว่า ซี.ไอ.เอฟ.บางกอกฟรีเอ้าท์ หมายความว่าผู้ขายรับผิดจนถึงเวลาที่สินค้าผ่านพ้นกราบเรือที่ท่าเรือต้นทาง ไม่ใช่ท่าเรือในกรุงเทพฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเสาเข็ม: หน้าที่ผู้ซื้อในการเตรียมพื้นที่และผลกระทบต่อความล่าช้า
สัญญาซื้อขายเสาเข็มกำหนดให้ผู้ขายตอกเข็มด้วย โดยผู้ซื้อต้องเตรียมสถานที่ให้พร้อมที่จะตอกได้ ต้องเตรียมทางให้รถยนต์บรรทุกเสาเข็มเข้าถึงได้ เป็นหน้าที่ผู้ซื้อตัดเสาเข็มที่ตอกจมดินไม่ได้ ผู้ซื้อไม่รื้อถอนรากฐานเก่าไม่ทำทางให้รถเข้าได้สะดวก ไม่ตัดหัวเสาเข็มทำให้การตอกเข็มสำเร็จล่าช้ากว่ากำหนด ผู้ซื้อต้องรับผิดใช้ราคาเสาเข็มที่ซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งวินัยข้าราชการ: อำนาจบังคับบัญชา, การสอบสวน, และความชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกและปฏิบัติตามข้อตกลงของคณะกรรมการประจำคณะและข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้การสอนและหลักสูตรการสอนดำเนินไปโดยเรียบร้อยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 24,25,26 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14,15 เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้ช่วยหน่วยวิชาพาเชี่ยลเด็นเจอร์และให้โจทก์รายงานการสอนนักศึกษาปีที่ 2 ในวิชานี้เป็นรายละเอียดและจำนวนชั่วโมงทั้งการบรรยายและปฏิบัติการพร้อมกับผลของการปฏิบัติงานทางด้านคลีนิคของนิสิตปีที่ 4 มายังจำเลยที่ 1 ภายในวันที่กำหนด จึงเป็นการสั่งเกี่ยวกับการบังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นการวางระเบียบการภายในแผนกวิชาหรือการอื่นอันเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะที่จะต้องเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14 การที่โจทก์บันทึกโต้แย้งว่าไม่ยอมรับทราบคำสั่ง ไม่มีอะไรให้อีกแล้ว และไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น แสดงว่าโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497มาตรา 71 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 รายงานต่อคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์เหนือจำเลยที่ 1 ขึ้นไป เพื่อให้ลงโทษโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ มาตรา 93 ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกคำสั่ง (ดังกล่าวตอนต้น)เพื่อแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ.เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ.พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน เมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ.เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ.พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน เมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางวินัยข้าราชการ: อำนาจบังคับบัญชา, การสอบสวน, คำสั่งลงโทษชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกและปฏิบัติตามข้อตกลงของคณะกรรมการประจำคณะและข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การสอนและหลักสูตรการสอนดำเนินไปโดยเรียบร้อยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 24, 25, 26 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14, 15 เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้ช่วยหน่วยวิชาพาเชี่ยลเด็นเจอร์และให้โจทก์รายงานการสอนนักศึกษาปีที่ 2 ในวิชานี้เป็นรายละเอียดและจำนวนชั่วโมง ทั้งการบรรยายและปฏิบัติการพร้อมกับผลของการปฏิบัติงานทางด้านคลีดนิคของนิสิตปีที่ 4 มายังจำเลยที่ 1 ภายในวันที่กำหนด จึงเป็นการสั่งเกี่ยวกับกาารบังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นการวางระเบียบการภายในแผนกวิชาหรือการอื่นอันเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะที่จะต้องเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยตามพระราบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14 การที่โจทก์บันทึกโต้แย้งว่าไม่ยอมรับทราบคำสั่ง ไม่มีอะไรให้อีกแล้วและไม่มีผลใด ๆ ทั้งสิ้น แสดงว่าโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา 71 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 รายงานต่อคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์เหนือจำเลยที่ 1 ขึ้นไปเพื่อให้ลงโทษโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ มาตรา 93 ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกคำสั่ง (ดังกล่าวตอนต้น) เพื่อแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ. เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ. พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และ ที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้ง ๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ. เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ. พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และ ที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้ง ๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น