คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 ม. 73

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายจากเหตุรถชน
แม้พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ. 2464มาตรา 72 จะบัญญัติว่า "เมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้วางรางคู่กำกับเพื่อให้มีช่องพอครีบล้อรถผ่านไป มาได้ กับให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน หรือทางนั้น ๆ ตามสมควรแก่การ" ก็ตาม แต่ได้มีบทบัญญัติต่อไปในมาตรา 73 ว่า "เมื่อถนนที่ต้องผ่านข้ามไปนั้นไม่สู้สำคัญพอถึงกับต้องทำประตูกั้นแล้ว ให้พนักงานขับรถจักรเปิดหวีดก่อนที่รถจะผ่านข้ามถนนนั้นกับให้ทำเครื่องหมายสัญญาณอย่างถาวรปักไว้ให้แจ้งบนทางและถนนนั้นเพื่อให้พนักงานขับรถจักรและประชาชนรู้ตัวก่อนภายในเวลาอันสมควรว่าเข้ามาใกล้ทางรถไฟที่ผ่านข้ามถนน" แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจโจทก์เป็นผู้พิจารณาว่า ทางรถไฟผ่านข้าม ถนนสายใดสำคัญหรือไม่ ถ้าเป็นทางสำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 72ถ้าเป็นทางไม่สู้สำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 73 หาได้บังคับให้โจทก์จำต้องทำประตูหรือขึงโซ่ หรือทำราวกั้นขวางถนนบรรดาที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกแห่งไม่ ได้ความว่าถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟที่เกิดเหตุเป็นถนนสุขาภิบาลห้วยราช อยู่ห่างจากสถานีรถไฟห้วยราชประมาณ 800 เมตร อยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งไม่ได้ความว่าเป็นท้องที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นหรือมีการจราจรคับคั่งเพียงใดเมื่อคำนึงถึงสภาพของท้องที่เกิดเหตุในขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นเพียงกิ่งอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์แล้ว เชื่อว่าถนนที่เกิดเหตุเป็นเพียงถนนในเขตสุขาภิบาลเล็ก ๆ ซึ่งมีการจราจรไม่คับคั่งนัก ถนนที่เกิดเหตุจึงไม่ใช่ถนนสำคัญอันโจทก์มีหน้าที่จะต้องทำประตูหรือขึงโซ่ หรือทำราวกั้นขวางถนนตามที่กฎหมายบังคับไว้ ส่วนการทำเครื่องหมายสัญญาณอื่นเพื่อเตือนให้พนักงานขับรถจักรหรือประชาชนรู้ตัวก่อนภายในเวลาอันสมควรว่าเข้ามาใกล้ทางรถไฟที่ผ่านข้ามถนนซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำตามมาตรา 73 นั้น โจทก์นำสืบว่าก่อนถึงที่เกิดเหตุประมาณ 500 เมตร พนักงานขับรถไฟของโจทก์ได้เปิดหวีดเตือน พร้อมปิดคันบังคับการและลดความเร็วลงตามระเบียบแล้วและในบริเวณที่เกิดเหตุก็ได้ติดตั้งสัญญาณจราจรระวังรถไฟและสัญญาณจราจรหยุดไว้ที่ข้างถนนเพื่อให้ประชาชนรู้ตัวก่อนภายในเวลาอันสมควรว่าเข้ามาใกล้ทางรถไฟที่ผ่านข้ามถนนแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้นำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อหักล้างพยานหลักฐานดังกล่าวของโจทก์แต่อย่างใดจึงฟังได้ว่า โจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรา 73 แล้ว ส่วนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่าโจทก์ละเลยไม่ตัดต้นไม้และวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมหรือปิดบังทางรถไฟและพนักงานของโจทก์ขับรถไฟด้วยความเร็วสูงนั้นโจทก์นำสืบว่าถนนบริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางโล่งและพนักงานของ โจทก์ขับรถไฟในอัตราความเร็วประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานดังกล่าวของโจทก์แต่อย่างใดเช่นเดียวกัน พยานหลักฐานจำเลยที่ 1และที่ 2 เลื่อนลอย ขัดต่อเหตุผล ทั้งเจือสมกับพยานหลักฐานของโจทก์ จึงมีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังไม่ได้ว่าเหตุรถชนกันเกิดเพราะความประมาทของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปร่วม กิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางที่ได้รับสัมปทานจากทาง ราชการเพื่อประโยชน์ของตน ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 จะให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อไปก็เป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ในรถเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 มอบรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุให้จำเลยที่ 2 นำไปวิ่งส่งผู้โดยสารในเส้นทางสัมปทานของจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 1 ยังไม่เปลี่ยนชื่อผู้ร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3แล้วจำเลยที่ 2 ให้ ว. ลูกจ้างเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวเมื่อเกิดเหตุชนกันจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปเจรจาค่าเสียหายกับผู้บาดเจ็บ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของ ว. ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นนายจ้างของ ว. ซึ่งทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้าง ต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการขับขี่และการปฏิบัติตามสัญญาณจราจร กรณีรถยนต์ชนรถไฟ
ในบริเวณที่เกิดเหตุก่อนถึงทางรถไฟ 300 เมตร มีป้ายริมถนนบอกว่ามีทางรถไฟ เมื่อเข้ามาใกล้ 150 เมตร มีป้ายเครื่องหมายบอกอีกว่าข้างหน้ามีรถไฟตัดผ่านถนน และก่อนถึงทางรถไฟ มีป้ายสัญญาณ "หยุด" การที่รถยนต์ของฝ่ายจำเลยไม่ชะลอความเร็วและไม่หยุดตามเครื่องหมายจราจรไปชนรถไฟของโจทก์ซึ่งยาวเป็นขบวนและวิ่งมาตามรางตามปกตินั้น นับว่าเป็นความประมาทอย่างร้ายแรงฝ่ายเดียว จะอ้างว่าโจทก์มิได้มีเครื่องปิดกั้นถนนขณะรถไฟแล่นผ่านหาได้ไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ถนนใดแม้จะเป็นถนนสำคัญแต่การต้องทำเครื่องปิดกั้นถนนนั้นจะต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและความจำเป็นที่จะต้องทำเฉพาะส่วนที่ทางรถไฟตัดกับถนนนั้นเป็นแห่ง ๆ ไป มิใช่ต้องทำทุกแห่งที่ทางรถไฟตัดกับถนน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถยนต์ที่ชนรถไฟ และขอบเขตค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องได้
แม้ตาม พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง ฯ มาตรา 72 จะบัญญัติให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนนหรือทางนั้นตามสมควร เมื่อทางรถไฟผ่านถนนสำคัญเสมอระดับก็ตาม แต่การทำเครื่องปิดกั้นถนนนั้นจะต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและความจำเป็นที่จะต้องทำเฉพาะส่วนที่ทางรถไฟตัดกับถนนนั้นเป็นแห่ง ๆ ไป มิใช่ต้องทำทุกแห่งที่ทางรถไฟตัดกับถนน
สถานที่เกิดหตุอยู่นอกเมือง นาน ๆ จะมีรถยนต์แล่นผ่านสองข้างทางรถไฟเป็นป่าโปร่ง มองไปทั้งสองข้างทางรถไฟและถนนจะเห็นกันได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องทำเครื่องปิดกั้นถนน ก่อนถึงทางรถไฟ 300 เมตร มีป้ายริมถนนบอกว่ามีทางรถไฟ เมื่อเข้ามาใกล้ 150 เมตรมีป้ายบอกอีกว่าข้างหน้ามีรถไฟตัดผ่านถนน และก่อนถึงทางรถไฟ 5 เมตร มีป้ายสัญญาณ "หยุด"การที่รถยนต์ของฝ่ายจำเลยไม่ชะลอความเร็วและไม่หยุดตามเครื่องหมายการจราจรไปชนรถไฟของโจทก์ซึ่งยาวเป็นขบวนและวิ่งมาตามรางนั้น เป็นความประมาทอย่างร้ายแรงฝ่ายเดียว
การซ่อมทรัพย์สินที่เสียหายเป็นงานตามหน้าที่ที่โจทก์จะต้องจัดคนของโจทก์ไปควบคุม มิได้จ้างบุคคลอื่นเป็นพิเศษ ถือไม่ได้ว่าค่าควบคุม 25 เปอร์เซ็นต์ ของค่าของและค่าแรงงานที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการละเมิด
ค่าเบี้ยเลี้ยงคือเงินที่โจทก์จ่ายให้เป็นค่าที่พักและอาหารประจำวันแก่คนของโจทก์ในการออกไปทำงานนอกสถานที่ทำงานประจำตามระเบียบของโจทก์ เมื่อจำเลยกระทำละเมิด โจทก์ต้องส่งพนักงานและกรรมกรออกไปทำงานนอกสถานที่ ค่าเบี้ยเลี้ยงจึงเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเพื่อทำให้ทรัพย์สินกลับคืนดี แต่ค่าอาหารก็เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงนั่นเอง แม้โจทก์จะจ่ายไปมากกว่าค่าเบี้ยเลี้ยงจะมาคิดซ้ำซ้อนกับค่าเบี้ยเลี้ยงที่โจทก์จ่ายตามระเบียบไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการขับรถชนรถไฟ, ความรับผิดของนายจ้าง, และขอบเขตความรับผิดของประกันภัย
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์จะผ่านทางรถไฟ แม้ไม่มีป้ายสัญญาณ "หยุด" บอกไว้แต่ก็มีป้ายบอกเครื่องหมายว่ามีทางรถไฟข้างหน้าแสดงไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ควรใช้ความระมัดระวังดูความปลอดภัยให้แน่เสียก่อน โดยชะลอความเร็วและหยุดรถมองซ้ายและขวาต่อเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติดังกล่าวเมื่อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปเกิดชนกับรถไฟขึ้น จำเลยที่ 1 จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ขับรถยนต์มาด้วยความประมาทเลินเล่อ บริเวณที่เกิดเหตุมีอุบัติเหตุรถไฟกับรถยนต์ชนกันบ่อยถึงแม้พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา73 จะมิได้บังคับให้การรถไฟต้องทำประตูหรือขึงโซ่ หรือทำราวกั้นขวางถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกถนนก็ตาม แต่เมื่อ ถนนตัดผ่านในกรณีพิพาทเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกับรถไฟบ่อยๆโจทก์ก็ควรจะทำเครื่องปิดกั้นถนนไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้นแต่ก็มิได้กระทำ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ โจทก์เองก็มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วย รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลยที่ 3 ขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีผ่อนชำระราคา โดยมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 3ทำประกันภัยเกี่ยวกับรถยนต์คันนี้ ในการเสี่ยงภัยทุกประเภทโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกเงินเบี้ยประกันภัยในการเอาประกันภัยดังกล่าว ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อยังชำระราคาไม่หมด กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่แต่จำเลยที่ 2 นำมาครอบครองและใช้สอยโดยให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างขับไปในทางการที่จ้างและเกิดเหตุขึ้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญาผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยกับจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำเลยที่ 4 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และเจ้าของรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุกับรถไฟ ความรับผิดของประกันภัย
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์จะผ่านทางรถไฟ แม้ไม่มีป้ายสัญญาณ"หยุด" บอกไว้แต่ก็มีป้ายบอกเครื่องหมายว่ามีทางรถไฟข้างหน้าแสดงไว้ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ควรใช้ความระมัดระวังดูความปลอดภัยให้แน่เสียก่อน โดยชะลอความเร็วและหยุดรถมองซ้ายและขวาต่อเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติดังกล่าวเมื่อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปเกิดชนกับรถไฟขึ้น จำเลยที่ 1 จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ขับรถยนต์ มาด้วยความประมาทเลินเล่อ
บริเวณที่เกิดเหตุมีอุบัติเหตุรถไฟกับรถยนต์ชนกันบ่อย ถึงแม้พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา73จะมิได้บังคับให้การรถไฟต้องทำประตูหรือขึงโซ่ หรือทำราวกั้นขวางถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกถนนก็ตาม แต่เมื่อ ถนนตัดผ่านในกรณีพิพาทเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกับรถไฟบ่อยๆโจทก์ก็ควรจะทำเครื่องปิดกั้นถนนไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้นแต่ก็มิได้กระทำ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ โจทก์เองก็มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วย
รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลยที่ 3 ขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีผ่อนชำระราคา โดยมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 3ทำประกันภัยเกี่ยวกับรถยนต์คันนี้ ในการเสี่ยงภัยทุกประเภทโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกเงินเบี้ยประกันภัยในการเอาประกันภัยดังกล่าว ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อยังชำระราคาไม่หมด กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่แต่จำเลยที่ 2 นำมาครอบครองและใช้สอยโดยให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างขับไปในทางการที่จ้างและเกิดเหตุขึ้นเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญาผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยกับจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำเลยที่ 4ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนกับรถไฟ: การปฏิบัติตามกฎหมายรถไฟและการพิจารณาความสำคัญของทางตัด
มาตรา 72 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 ให้อำนาจการรถไฟฯ เป็นผู้พิจารณาว่าทางรถไฟผ่านเข้ามถนนสายใดสำคัญหรือไม่ ถ้าเป็นทางสายสำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 72 ถ้าเป็นทางสายไม่สู้สำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 73 หาได้บังคับให้การรถไฟฯ จำต้องทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนนบรรดาที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกสายไม่
ก่อนถึงทางรถไฟตรงที่เกิเหตุมีป้ายบอกว่าระวังรถไฟ มีป้ายใช้ความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนจะถึงทางรถไฟมีเลข 20 แล้วมีเสาแผงสัญญาณไฟ ขณะนั้นสัญญาณไฟวาบและระฆังทำงานได้ตามปกติ แสดงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามมาตรา 73 แล้ว ไม่เป็นการประมาทเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของการรถไฟฯ และความประมาทของผู้ขับขี่ กรณีทางตัดทางรถไฟ
มาตรา 72 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 ให้อำนาจการรถไฟฯ เป็นผู้พิจารณาว่าทางรถไฟผ่านข้ามถนนสายใดสำคัญหรือไม่ ถ้าเป็นทางสายสำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 72 ถ้าเป็นทางสายไม่สู้สำคัญก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 73 หาได้บังคับให้การรถไฟฯ จำต้องทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนนบรรดาที่ตัดผ่านทางรถไฟทุกสายไม่
ก่อนถึงทางรถไฟตรงที่เกิดเหตุมีป้ายบอกว่าระวังรถไฟมีป้ายใช้ความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนจะถึงทางรถไฟมีเลข 20 แล้วมีเสาแผงสัญญาณไฟ ขณะนั้นสัญญาณไฟวาบและระฆังทำงานได้ตามปกติ แสดงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามมาตรา 73 แล้ว ไม่เป็นการประมาทเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้างจากการละเลยหน้าที่ป้องกันความปลอดภัยตามกฎหมายรถไฟ
การทำละเมิดนั้น หมายความรวมทั้งการกระทำและการละเว้นในเมื่อมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลเสียหายด้วย ฉะนั้น เมื่อลูกจ้างของจำเลยผู้ดำเนินกิจการรถไฟมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟผ่านข้ามถนนละเลยไม่ปิดแผงกั้นถนนขณะรถไฟผ่าน เป็นเหตุให้รถไฟของจำเลยชนรถยนต์โจทก์เสียหาย ก็ต้องถือว่าเป็นการทำละเมิดในทางการที่จ้าง ซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องรับผิดด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างจากการละเลยหน้าที่ตามกฎหมายในการป้องกันอุบัติเหตุทางรถไฟ
การทำละเมิดนั้น หมายความรวมทั้งการกระทำและการละเว้นในเมื่อมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลเสียหายด้วย ฉะนั้น เมื่อลูกจ้างของจำเลยผู้ดำเนินกิจการรถไฟมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟผ่านข้ามถนน ละเลยไม่ปิดแผงกั้นถนนขณะรถไฟผ่าน เป็นเหตุให้รถไฟของจำเลยชนรถยนต์โจทก์เสียหาย ต้องถือว่าเป็นการละเมิดในทางการที่จ้าง ซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องรับผิดด้วย(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2506)