พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาเช่าในนามตนเองแล้วอ้างว่าทำแทนผู้อื่นเป็นเหตุต้องห้ามมิให้รับฟังพยาน และการไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมเคหะ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านที่เช่าจากโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าทำสัญญาเช่าแทนบิดาจำเลย การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยทำสัญญาเช่าแทนบิดาจำเลย ย่อมนอกประเด็นข้อต่อสู้ ไม่ชอบที่ศาลจะรับฟัง
จำเลยทำสัญญาเช่าในนามตนเองเป็นผู้เช่า จำเลยจะนำสืบ(พยานบุคคล) ว่าทำสัญญาเช่าแทนคนอื่นหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
ทำสัญญาเช่าบ้านภายหลังพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504ใช้บังคับ แม้เป็นการเช่าอยู่อาศัย ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
จำเลยทำสัญญาเช่าในนามตนเองเป็นผู้เช่า จำเลยจะนำสืบ(พยานบุคคล) ว่าทำสัญญาเช่าแทนคนอื่นหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
ทำสัญญาเช่าบ้านภายหลังพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504ใช้บังคับ แม้เป็นการเช่าอยู่อาศัย ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาเช่าในนามตนเองแล้วอ้างว่าทำแทนผู้อื่นเป็นเหตุต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และการเช่าหลังพ.ร.บ.ควบคุมการเช่าไม่ได้รับความคุ้มครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านที่เช่าจากโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าทำสัญญาเช่าแทนบิดาจำเลย การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยทำสัญญาเช่าแทนบิดาจำเลย ย่อมนอกประเด็นข้อต่อสู้ไม่ชอบที่ศาลจะรับฟัง
จำเลยทำสัญญาเช่าในนามตนเองเป็นผู้เช่า จำเลยจะนำสืบ(พยานบุคคล) ว่าทำสัญญาเช่าแทนคนอื่นหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
ทำสัญญาเช่าบ้านภายหลังพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504ใช้บังคับ แม้เป็นการเช่าอยู่อาศัยก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
จำเลยทำสัญญาเช่าในนามตนเองเป็นผู้เช่า จำเลยจะนำสืบ(พยานบุคคล) ว่าทำสัญญาเช่าแทนคนอื่นหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
ทำสัญญาเช่าบ้านภายหลังพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504ใช้บังคับ แม้เป็นการเช่าอยู่อาศัยก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636-638/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีขับไล่ผู้เช่า และประเด็นอำนาจฟ้อง/การบอกเลิกสัญญาเช่า
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ว่าจำเลยอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเห็นควรรับอุทธรณ์ทั้งหมด จึงรับเป็นอุทธรณ์นั้น ยังถือไม่ได้ว่ามีการรับรองให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ข้อเท็จจริงมาโดยไม่ถูกต้อง แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น ก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ หากมีการฎีกาข้อเท็จจริงต่อมา ถือว่าไม่ใช่ข้อที่ว่ามาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและห้องอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมได้โดยลำพังเพราะเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ซึ่งหมายความรวมถึงการต่อสู้ในฐานะเป็นโจทก์ด้วยมิใช่เฉพาะการต่อสู้ในฐานะจำเลยเท่านั้น
เมื่อมีการบอกเลิกการเช่าแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมมาฟ้องเรียกทรัพย์ที่เช่าคืนจากผู้เช่า ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของการเป็นเจ้าของรวม
ปัญหาที่ว่า จำเลยเช่าที่ดินและห้องของโจทก์เพื่ออยู่อาศัยหรือประกอบการค้าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและห้องเช่า จำเลยต่อสู้ว่าเช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งให้คลุมถึงการเช่าห้องด้วย ศาลย่อมไม่อาจจะยกเอาความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยเกี่ยวกับการเช่าห้องได้
การเช่าห้องภายหลังจากวันประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ห้องเช่านั้นไม่เป็นเคหะควบคุมอันจะได้รับความคุ้มครอง
โจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยปรากฏชัดแจ้งจากหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้วว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะทำสัญญาให้จำเลยเช่าห้องและที่ดินของโจทก์ต่อไป การที่โจทก์ยังรับเงินเท่าค่าเช่าจากจำเลย โดยโจทก์ถือเป็นค่าเสียหายในการที่จำเลยใช้ทรัพย์ของโจทก์ ย่อมมิใช่เป็นการทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์กระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายซึ่งโจทก์ได้รับอยู่เท่านั้น
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ข้อเท็จจริงมาโดยไม่ถูกต้อง แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น ก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ หากมีการฎีกาข้อเท็จจริงต่อมา ถือว่าไม่ใช่ข้อที่ว่ามาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและห้องอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมได้โดยลำพังเพราะเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ซึ่งหมายความรวมถึงการต่อสู้ในฐานะเป็นโจทก์ด้วยมิใช่เฉพาะการต่อสู้ในฐานะจำเลยเท่านั้น
เมื่อมีการบอกเลิกการเช่าแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมมาฟ้องเรียกทรัพย์ที่เช่าคืนจากผู้เช่า ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของการเป็นเจ้าของรวม
ปัญหาที่ว่า จำเลยเช่าที่ดินและห้องของโจทก์เพื่ออยู่อาศัยหรือประกอบการค้าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและห้องเช่า จำเลยต่อสู้ว่าเช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งให้คลุมถึงการเช่าห้องด้วย ศาลย่อมไม่อาจจะยกเอาความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยเกี่ยวกับการเช่าห้องได้
การเช่าห้องภายหลังจากวันประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ห้องเช่านั้นไม่เป็นเคหะควบคุมอันจะได้รับความคุ้มครอง
โจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยปรากฏชัดแจ้งจากหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้วว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะทำสัญญาให้จำเลยเช่าห้องและที่ดินของโจทก์ต่อไป การที่โจทก์ยังรับเงินเท่าค่าเช่าจากจำเลย โดยโจทก์ถือเป็นค่าเสียหายในการที่จำเลยใช้ทรัพย์ของโจทก์ ย่อมมิใช่เป็นการทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์กระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายซึ่งโจทก์ได้รับอยู่เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุด-กรรมสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน-การเช่าต่อโดยปราศจากอำนาจ-สิทธิและความคุ้มครองตาม พรบ.ควบคุมเคหะ
จำเลยเช่าบ้านพิพาทมาจากนายบุ้นซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์มาปลูกบ้านพิพาทขึ้น โดยมีกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือน และมีข้อตกลงระหว่างนายบุ้นกับโจทก์ว่าในระหว่างกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือนนายบุ้นมีสิทธิให้คนอื่นเช่าบ้านพิพาทได้ และเมื่อครบกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตกเป็นของโจทก์ ดังนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าที่ดิน 8 ปี 4 เดือน แล้ว นายบุ้นย่อมไม่มีอำนาจจะให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทอยู่ต่อไปเพราะกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตกไปยังโจทก์แล้ว สิทธิและหน้าที่ในการเช่าบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับนายบุ้นผู้โอนย่อมไม่ตกไปยังโจทก์ผู้รับโอนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การอยู่ในบ้านพิพาทต่อมาเมื่อครบกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือนไปแล้ว เป็นการอยู่โดยละเมิดสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาเช่าหลีกเลี่ยงกฎหมายควบคุมเคหะ: จำเลยมีสิทธิหักล้างได้
โจทก์ให้จำเลยและคนอื่นแบ่งกันเช่าบ้านรายพิพาทอยู่หลายคน ต่างคนต่างเสียค่าเช่า. จำเลยเช่า 1 ห้องเสียค่าเช่าเดือนละ 700 บาท เมื่อรวมค่าเช่าทุกคนแล้วเป็นค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท. โจทก์ให้จำเลยทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทแต่ผู้เดียวในอัตราค่าเช่าเกินเดือนละ 1,000บาท ก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากการควบคุมของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 มาตรา 4. จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นด้วยเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยนำสืบหักล้างถึงความไม่สมบูรณ์แห่งสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาเช่าเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน จำเลยมีสิทธิหักล้างได้
โจทก์ให้จำเลยและคนอื่นแบ่งกันเช่าบ้านรายพิพาทอยู่หลายคน ต่างคนต่างเสียค่าเช่าจำเลยเช่า 1 ห้องเสียค่าเช่าเดือนละ 700 บาท เมื่อรวมค่าเช่าทุกคนแล้วเป็นค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท โจทก์ให้จำเลยทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทแต่ผู้เดียวในอัตราค่าเช่าเกินเดือนละ 1,000 บาทก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากการควบคุมของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 มาตรา 4 จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นด้วยเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยนำสืบหักล้างถึงความไม่สมบูรณ์แห่งสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาเช่าเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายควบคุมการเช่าเคหะ ศาลอนุญาตให้จำเลยนำสืบหักล้างได้
โจทก์ให้จำเลยและคนอื่นแบ่งกันเช่าบ้านรายพิพาทอยู่หลายคน ต่างคนต่างเสียค่าเช่า จำเลยเช่า 1 ห้อง เสียค่าเช่าเดือนละ 700 บาท เมื่อรวมค่าเช่าทุกคนแล้วเป็นค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท โจทก์ให้จำเลยทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทแต่ผู้เดียวในอัตราค่าเช่า เกินเดือนละ 1,000 บาท ก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากการควบคุมของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มาตรา 4 จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นด้วยเจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยนำสืบหักล้างถึงความไม่สมบูรณ์แห่งสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าตามพ.ร.บ.ควบคุมการเช่าฯ และการบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินเป็นกฎหมายพิเศษ ให้สิทธิแก่ผู้เช่าต่างหากจากกฎหมายที่ว่าด้วยลักษณะเช่าตามธรรมดา เมื่อจำเลยไม่ยกขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การว่า ฟ้องที่จำเลยเช่าเป็นเคหะควบคุมและอ้างสิทธิที่จำเลยจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินั้น จำเลยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จะฟังว่าจำเลยไม่เคยค้างค่าเช่าก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 1135/2505 และที่ 1470/2508)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้เช่าออกไปเมื่อใดก็ได้ ไม่จำเป็นที่ผู้เช่าจะต้องทำการบอกกล่าวก่อนฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 133/2507)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้เช่าออกไปเมื่อใดก็ได้ ไม่จำเป็นที่ผู้เช่าจะต้องทำการบอกกล่าวก่อนฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 133/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเคหะควบคุม จำเลยต้องยกประเด็นต่อสู้ชัดเจนในคำให้การจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินเป็นกฎหมายพิเศษให้สิทธิแก่ผู้เช่าต่างหากจากกฎหมายที่ว่าด้วยลักษณะเช่าตามธรรมดา เมื่อจำเลยไม่ยกขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การว่า ห้องที่จำเลยเช่าเป็นเคหะควบคุมและอ้างสิทธิที่จำเลยจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินั้น จำเลยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จะฟังว่าจำเลยไม่เคยค้างค่าเช่าก็ตาม(อ้างฎีกาที่ 1135/2505 และที่ 1470/2508)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้เช่าออกไปเมื่อใดก็ได้ ไม่จำเป็นที่ผู้ให้เช่าจะต้องทำการบอกกล่าวก่อนฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 133/2507)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้เช่าออกไปเมื่อใดก็ได้ ไม่จำเป็นที่ผู้ให้เช่าจะต้องทำการบอกกล่าวก่อนฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 133/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าพื้นที่เก็บสินค้าไม่เป็นที่อยู่อาศัย ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่
จำเลยเช่าห้องพิพาทใช้เป็นที่เก็บสินค้าและสัมภาระซึ่งมีไว้ขาย แม้จะมีบริวารของจำเลยหลับนอนในห้องพิพาทก็เพื่อเฝ้าดูแลรักษาสินค้า เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย ห้องพิพาทจึงไม่เป็นที่อยู่อาศัย จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยอ้างว่าอาศัย แต่เท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเช่าแต่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ดังนี้ แม้โจทก์จะกล่าวถึงมูลกรณีเดิมว่าจำเลยเข้าอยู่ทีแรกโดยการเช่าหรืออาศัยก็ตาม ก็เป็นเพียงการกล่าวถึงมูลกรณีเดิมซึ่งไม่ใช่สารสำคัญ เพราะจำเลยจะอยู่โดยการเช่าหรืออาศัยโจทก์ก็ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องพิพาทโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 แล้ว แสดงว่าการเช่าหรือการอาศัยสิ้นสุดแล้ว การอยู่ต่อมาจึงเป็นการละเมิด การที่ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยจึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานจำเลยโจทก์ไม่มาศาล ศาลสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและดำเนินการสืบพยานจำเลยได้ 1 ปาก จำเลยขอเลื่อนไป ถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดต่อมา โจทก์มาศาล ถือว่าโจทก์มาศาลเมื่อยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานของตนเข้าสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 204 วรรค 3 อนุมาตรา (1) เพราะจำเลยยังสืบพยานไม่หมด โจทก์จึงมีสิทธินำพยานของตนเข้าสืบ ตลอดจนระบุอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2510)
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยอ้างว่าอาศัย แต่เท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเช่าแต่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ดังนี้ แม้โจทก์จะกล่าวถึงมูลกรณีเดิมว่าจำเลยเข้าอยู่ทีแรกโดยการเช่าหรืออาศัยก็ตาม ก็เป็นเพียงการกล่าวถึงมูลกรณีเดิมซึ่งไม่ใช่สารสำคัญ เพราะจำเลยจะอยู่โดยการเช่าหรืออาศัยโจทก์ก็ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องพิพาทโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 แล้ว แสดงว่าการเช่าหรือการอาศัยสิ้นสุดแล้ว การอยู่ต่อมาจึงเป็นการละเมิด การที่ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยจึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานจำเลยโจทก์ไม่มาศาล ศาลสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและดำเนินการสืบพยานจำเลยได้ 1 ปาก จำเลยขอเลื่อนไป ถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดต่อมา โจทก์มาศาล ถือว่าโจทก์มาศาลเมื่อยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานของตนเข้าสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 204 วรรค 3 อนุมาตรา (1) เพราะจำเลยยังสืบพยานไม่หมด โจทก์จึงมีสิทธินำพยานของตนเข้าสืบ ตลอดจนระบุอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2510)