พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,935 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7025/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เหตุวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องอายุความค่าเช่า ชี้จำกัดสิทธิฎีกา
คดีนี้จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความเฉพาะค่าเสียหายอันเกี่ยวกับสัญญาเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 จึงมีประเด็นวินิจฉัยเฉพาะอายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 563 เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าค่าเช่าที่ค้างชำระไม่ขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (6) จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ต่อมาว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเช่าขาดอายุความ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ต้องไม่วินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (6) และไม่วินิจฉัยปัญหาข้ออื่นตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแห่งคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่ว่า จำเลยทั้งสามต้องชำระค่าเช่าค้างชำระตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด แม้ปัญหาดังกล่าวคู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม แต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้เสียก่อน
เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่ว่า จำเลยทั้งสามต้องชำระค่าเช่าค้างชำระตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด แม้ปัญหาดังกล่าวคู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม แต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์รถยนต์และคำขอให้บังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากในคดีชำระหนี้
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงป่าไม้เขตแพร่ว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันที่จำเลยที่ 1 ยืมมานั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เอง กรณีเช่นนี้ถือว่ามิใช่เป็นการยืม แต่เป็นการนำทรัพย์สินของตนเองไปใช้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ที่ 2 แต่ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสี่มิได้ยกข้อนี้โต้แย้งไว้ในอุทธรณ์ กลับยกข้ออ้างขึ้นใหม่ว่ารถยนต์บรรทุกดังกล่าวไม่ใช่อุปกรณ์ป้องกันไฟป่า ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ จำเลยทั้งสี่มิได้ฎีกาโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยนั้นเป็นการไม่ชอบอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันที่ใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันมิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยืมหรือเช่ามาใช้เป็นการชั่วคราว จึงเป็นข้อที่จำเลยทั้งสี่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้เงิน ศาลจึงไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ในการบังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้เงิน ศาลจึงไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ในการบังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637-6638/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการทำสัญญา สิทธิในการครอบครอง และข้อจำกัดการอุทธรณ์ค่าเสียหาย
โจทก์อ้างว่ามีการตกลงจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทกันตามคำฟ้องสำนวนแรก แต่จำเลยอ้างว่าตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกันตามคำฟ้องสำนวนหลัง และต่างโต้แย้งว่ามิได้มีการทำสัญญาตามที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้าง ดังนั้น การจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทซึ่งกำหนดไว้ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาท ย่อมจำเป็นต้องวินิจฉัยให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันตามข้ออ้างของฝ่ายใด และสัญญานั้นมีผลบังคับใช้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อเป็นหลักในการวินิจฉัยว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาขึ้นวินิจฉัยว่า มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยหรือไม่ จึงไม่นอกประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้
สำหรับฎีกาของจำเลยในเรื่องค่าเสียหายจากการที่จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทตามคำฟ้องในสำนวนแรก โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายก่อนวันฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท และค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกไปจากบ้านและที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 2,500 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากบ้านและที่พิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับฎีกาของจำเลยในเรื่องค่าเสียหายจากการที่จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทตามคำฟ้องในสำนวนแรก โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายก่อนวันฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท และค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกไปจากบ้านและที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 2,500 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากบ้านและที่พิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาเพื่อขอเพิ่มค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ซึ่งไม่เต็มตามคำขอท้ายฟ้อง คงมีแต่จำเลยเท่านั้นอุทธรณ์ ส่วนโจทก์เพียงแต่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ แม้จะแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่พอใจค่าเสียหายตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ แต่โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ เท่ากับโจทก์พอใจตามจำนวนค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงพิพากษายืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาเพื่อขอให้ศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ให้สูงขึ้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5246/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ศาลฎีกาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีซื้ออันเป็นเอกสารปลอม มาใช้ในการเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีพิพาท เป็นความผิดตาม ป. รัษฎากร มาตรา 90/4 (7) จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ไม่ทราบว่าใบกำกับภาษีตามฟ้องเป็นใบกำกับภาษีปลอม ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
การกระทำความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 266 หรือ 267 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีซื้อ อันเป็นเอกสารปลอมไปใช้ในการเครดิตภาษี หมายความว่าใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์อ้างว่าเป็นเอกสารปลอมนั้น เป็นใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและพิสูจน์ไม่ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออก อันเป็นองค์ประกอบความผิดของ ป. รัษฎากร มาตรา 90/4 (7) เท่านั้น คำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือมีการกระทำอื่นใดต่อเอกสารให้ผิดไปจากเดิมอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 266 หรือ 267 แต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 268 วรรคแรก แม้โจทก์จะมีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตราดังกล่าว ประกอบมาตรา 83 และจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตามมาตราดังกล่าว กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
การกระทำความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 266 หรือ 267 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีซื้อ อันเป็นเอกสารปลอมไปใช้ในการเครดิตภาษี หมายความว่าใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์อ้างว่าเป็นเอกสารปลอมนั้น เป็นใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและพิสูจน์ไม่ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออก อันเป็นองค์ประกอบความผิดของ ป. รัษฎากร มาตรา 90/4 (7) เท่านั้น คำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือมีการกระทำอื่นใดต่อเอกสารให้ผิดไปจากเดิมอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 266 หรือ 267 แต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 268 วรรคแรก แม้โจทก์จะมีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตราดังกล่าว ประกอบมาตรา 83 และจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตามมาตราดังกล่าว กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 234 ครบถ้วน มิเช่นนั้นอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาคดีใหม่มิใช่อุทธรณ์ในเนื้อหาของคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งให้รับอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์เช่นนี้ ย่อมทำให้การบังคับล่าช้าออกไปและอาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ดังกล่าวให้ครบถ้วนด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ vs. สัญญาเช่า: การพิจารณาข้อสัญญาและเจตนาของคู่สัญญาในการบังคับใช้สิทธิ
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะสำเนาหนังสือสัญญาเช่าเอกสารท้ายฟ้อง มีข้อความบางตอนบางส่วนขาดหายไปตารางต่อท้ายสัญญาเช่าไม่ชัดเจน ไม่อาจอ่านข้อความในสัญญาได้ทำให้ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง แต่ในชั้นฎีกา จำเลยกลับฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเช่า เมื่อสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ โจทก์จึงต้องแนบสัญญาและข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเช่าในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ การที่โจทก์มิได้ปฏิบัติ เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมนั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อกำหนดตอนใดที่แสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่า และให้ถือเอาค่าเช่าที่ชำระเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์ที่เช่า รวมทั้งไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แบบหนึ่ง มิใช่เป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันด้วยความสมัครใจให้ข้อกำหนดของสัญญาบางข้อแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการรักษาสิทธิและประโยชน์ของตนที่ชอบในเชิงธุรกิจ แม้อาจมีข้อที่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันบ้างและแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ก็มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้ คู่สัญญาจึงต้องผูกพันตามข้อสัญญานั้น การที่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสามตามสัญญาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต.
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อกำหนดตอนใดที่แสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่า และให้ถือเอาค่าเช่าที่ชำระเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์ที่เช่า รวมทั้งไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แบบหนึ่ง มิใช่เป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันด้วยความสมัครใจให้ข้อกำหนดของสัญญาบางข้อแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการรักษาสิทธิและประโยชน์ของตนที่ชอบในเชิงธุรกิจ แม้อาจมีข้อที่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันบ้างและแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ก็มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้ คู่สัญญาจึงต้องผูกพันตามข้อสัญญานั้น การที่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสามตามสัญญาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง: การโต้แย้งหนี้ตามบันทึกข้อตกลงด้วยข้อตกลงทางวาจาที่ไม่ได้รับการรับฟัง
ฎีกาของจำเลยที่บรรยายว่า ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยให้การรับว่าทำบันทึกข้อตกลงชำระหนี้แทนให้แก่โจทก์จริง แต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาให้จำเลยชำระหนี้น้อยกว่าที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลง จำเลยจะมีพยานอื่นใดนำสืบเพราะเป็นการตกลงกันตัวต่อตัวระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่มีผู้ใดอยู่ร่วมรู้เห็นด้วย จำเลยยื่นคำให้การตามความเป็นจริงและปฏิบัติตามความเป็นจริงตามข้อตกลง เพราะเชื่อใจโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังคำให้การและอุทธรณ์ของจำเลยบ้าง จำเลยจึงเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงจำเป็นต้องฎีกา ขอศาลฎีกาได้โปรดบรรเทาและลดยอดหนี้ตามที่จำเลยยื่นคำให้การนั้น เมื่ออ่านโดยตลอดแล้วไม่อาจเข้าใจได้ว่าจำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใดด้วยเหตุผลอะไร และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้มีทางออกอื่น เหตุผลความจำเป็นยังคงมีอยู่
คดีก่อน บ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินของโจทก์คนก่อนกับพวกฟ้อง ข. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินคนก่อนของจำเลยทั้งสองให้ขนย้ายและรื้อถอนสิ่งกีดกั้นที่ ข. เป็นผู้กระทำขึ้นออกจากทางพิพาท กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ในคดีนั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองกระทำขึ้นใหม่ภายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนั้น เหตุที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับที่ บ. กับพวกฟ้อง ข. ในคดีก่อน โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้บังคับจำเลยในคดีก่อนได้ ทั้งคดีก่อน บ. กับพวกก็มิได้ดำเนินการบังคับคดีให้มีการจดทะเบียนภาระจำยอมจนพ้นกำหนดเวลาบังคับคดีไปแล้วแม้โจทก์จะเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินจาก บ. โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความ อันเป็นทรัพยสิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์ กรณีหาใช่เป็นภาระจำยอมโดยนิติกรรมซึ่งยังมิได้จดทะเบียนอันเป็นบุคคลสิทธิไม่ จำเลยทั้งสองหาอาจอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เป็นภารยทรัพย์โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ไม่เพราะสิทธิตามความหมายในบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิเป็นสิทธิคนละประเภทกัน ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน คำว่าพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง
คำว่าภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้นก็หาใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์จะมีทางออกทางอื่นสู่ทางสาธารณะและโจทก์ใช้ทางดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่เมื่อทางพิพาทยังมีสภาพเป็นทางเดินคงเดิม ทางภาระจำยอมจึงยังไม่หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ภาระจำยอมยังไม่สิ้นไปตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความ อันเป็นทรัพยสิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์ กรณีหาใช่เป็นภาระจำยอมโดยนิติกรรมซึ่งยังมิได้จดทะเบียนอันเป็นบุคคลสิทธิไม่ จำเลยทั้งสองหาอาจอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เป็นภารยทรัพย์โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ไม่เพราะสิทธิตามความหมายในบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิเป็นสิทธิคนละประเภทกัน ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน คำว่าพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง
คำว่าภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้นก็หาใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์จะมีทางออกทางอื่นสู่ทางสาธารณะและโจทก์ใช้ทางดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่เมื่อทางพิพาทยังมีสภาพเป็นทางเดินคงเดิม ทางภาระจำยอมจึงยังไม่หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ภาระจำยอมยังไม่สิ้นไปตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษา ทำให้คำพิพากษาถึงที่สุด และปัญหาการขอทุเลาการบังคับ
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่งดการอ่านคำพิพากษาเพื่อรอฟังผลอีกคดีหนึ่งพร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเฉพาะอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาย่อมมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอันถึงที่สุด เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น กรณีจึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ปัญหาเรื่องการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ตามฎีกาของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอีกต่อไป