พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,935 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด บันทึกคำให้การฝ่ายเดียวไม่ถือเป็นการสละมรดกที่มีผลผูกพัน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ล. สละมรดกส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งปันมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 1750 ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินปลอม การกู้เงินจริงไม่ตรงตามจำนวนที่ระบุในสัญญา ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ 45,000 บาท และลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ แล้วมีการนำสัญญากู้ยืมเงินไปกรอกจำนวนเงินกู้เป็น 200,000 บาท ในภายหลัง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้และรับเงินกู้ไปเป็นเงิน 45,000 บาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวและแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกามาด้วย คงมีแต่จำเลยที่ 1 ฎีกายกเหตุดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืม ไม่ใช่สัญญากู้ยืมโดยตรง จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า สัญญาจำนองเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลย อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากรฯ มาตรา 103, 104 และ 118 แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ เหตุผลเช่นว่านี้ได้กล่าวโดยชัดเจนและชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีได้ ฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายเป็นฎีกาในข้อที่เป็นสาระแก่คดีไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามตามมาตรา 249 และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา รวมถึงประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยให้ เนื่องจากไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นเป็นข้อพิพาทไว้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแต่ประการใด และไม่วินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เหตุจากประเด็นไม่ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง และฎีกาไม่ชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ แต่โจทก์ฎีกาในทำนองว่า จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายชื่อไว้ไปใช้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อโจทก์หรือไม่และเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อปลอมจึงพิพากษายกฟ้อง โดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ไปใช้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอมหรือไม่ เมื่อปัญหาว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไปใช้โดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ไม่เป็นประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองจะต้องวินิจฉัย ดังนั้น ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารให้ประทับฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ก็ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งได้ว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
ฎีกาโจทก์ในส่วนที่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งข้อ มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารให้ประทับฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ก็ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งได้ว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
ฎีกาโจทก์ในส่วนที่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งข้อ มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องมีทนายความแต่งตั้งเป็นหนังสือ หากไม่มีการแต่งตั้ง ทนายความไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณา
ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์มีร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฎในสำนวนว่าโจทก์ได้ตั้งแต่งบุคคลผู้นี้เป็นทนายความโจทก์ไว้ ทั้งบุคคลผู้นี้มิได้ทำหน้าที่เป็นทนายความโจทก์มาก่อนที่จะมีการยื่นอุทธรณ์ ดังนั้น จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนโจทก์ได้
แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ
แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุด: การมอบอำนาจฟ้องคดีต้องเป็นไปตามข้อบังคับ หากไม่เป็นไปตามข้อบังคับ จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ต่อเมื่อคำวินิจฉัยของ ศาลชั้นต้นมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีโดยฝ่าฝืนข้อบังคับที่กำหนดให้ผู้จัดการนิติบุคคล อาคารชุดโจทก์จะต้องปฏิบัติกิจการในหน้าที่ด้วยตนเอง เว้นแต่ข้อบังคับหรือมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมจะกำหนดให้มอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้ กรณีนี้ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง หาได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยแต่ประการใดไม่ จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาข้อเท็จจริงขัดกับการรับสารภาพ และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดียาเสพติด
จำเลยให้การรับสารภาพฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยฎีกาว่า ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ อันถือได้ว่าเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเหตุให้สามารถยึดเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิด ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเหตุให้สามารถยึดเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิด ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการละเมิดอำนาจศาลต้องไต่สวนพยานหลักฐานก่อนตัดสิน หากไม่มีการไต่สวน ถ้อยคำของพยานยังไม่เป็นที่รับฟัง
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลซึ่งมิได้กระทำต่อหน้าศาล และผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธ ศาลต้องไต่สวนพยานหลักฐานหาข้อเท็จจริงเสียก่อนให้ได้ความว่ามีการกระทำดังกล่าวหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นเพียงสอบถามปากคำของ ด. และผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่ปรากฏว่า ด. ได้สาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 112 ถ้อยคำของ ด. จึงรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องขับไล่ในสินสมรสและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และภริยาซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1477 ถือว่าการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทย่อมเป็นการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
จำเลยฎีกาว่าภริยาโจทก์อนุญาตให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่าภริยาโจทก์อนุญาตให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง