คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,935 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาประกันตัว, การลดค่าปรับ, ค่าฤชาธรรมเนียม, และดอกเบี้ยผิดนัด – ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าปรับตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาเป็นเงิน540,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลดค่าปรับตามสัญญาให้ปรับจำเลยเป็นเงิน200,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ขอลดค่าปรับลงอีกโดยอุทธรณ์ว่าค่าปรับไม่ควรเกินสัญญาละ 50,000 บาท รวมสองสัญญาควรเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยมิได้อุทธรณ์ขอให้งดหรือยกเว้นค่าปรับแก่จำเลย ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาขอให้ยกเว้นค่าปรับจึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายหนึ่งใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลซึ่งจะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินค่าปรับที่กำหนดจำนวนแน่นอนตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโจทก์ไม่อาจฟ้องโดยกำหนดทุนทรัพย์ให้ต่ำกว่าที่ข้อสัญญาระบุไว้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องตามทุนทรัพย์ที่กำหนดในศาลชั้นต้นโดยสุจริต เมื่อศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจลดค่าปรับตามสัญญาอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยเช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามที่โจทก์ฟ้องจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
โจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายความแก้ต่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลมีอำนาจที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 161
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สับเปลี่ยนสินค้า - มูลเหตุละเมิด - อายุความ - การแบ่งแยกการชำระหนี้
โจทก์ฟ้องว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขนถ่ายสินค้ากระดาษของโจทก์และของจำเลยที่ 3 จากเรือ อ. ลงเรือ ฉ. โดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้ากระดาษของโจทก์บางส่วนถูกสับเปลี่ยนและส่งมอบไปให้แก่จำเลยที่ 3 โดยโจทก์ได้รับสินค้าของจำเลยที่ 3 มาแทน เมื่อหักกลบแล้วจำเลยที่ 3 รับสินค้ากระดาษของโจทก์เกินไปจำนวนหนึ่ง ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ในฐานะเจ้าของเรือ ผู้รับจ้างขนส่ง และนายจ้างหรือตัวการ จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้ากระดาษของโจทก์ และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบสินค้ากระดาษของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ร่วมกันชำระราคาสินค้าที่จำเลยที่ 3 รับเกินไปแก่โจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับผิดโจทก์ฐานละเมิด ให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ฐานผิดสัญญาประกันภัย และให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ฐานรับมอบทรัพย์ของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของทรัพย์ในการติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 มูลค่าแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ที่แบ่งแยกออกจากกันได้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 แต่ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องดังกล่าวไว้ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการต่อสู้เรื่องอายุความโดยจำเลยที่ 3 ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อคดีของจำเลยที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะหยิบยกประโยชน์แห่งอายุความให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วยก็เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอายุความและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 3 แล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องคดีชำระหนี้แบ่งแยกได้ และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขนถ่ายสินค้ากระดาษของโจทก์และจำเลยที่ 3 จากเรืออริสโตเติลลงเรือฉลอมโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้ากระดาษของโจทก์บางส่วนถูกสับเปลี่ยนและส่งมอบไปให้แก่จำเลยที่ 3 โดยโจทก์ได้รับสินค้ากระดาษของจำเลยที่ 3 มาแทน เมื่อหักกลบกันแล้ว จำเลยที่ 3 รับสินค้าของโจทก์เกินไป คิดเป็นเงิน 1,724,364 บาท ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะเจ้าของเรือ ผู้รับจ้างขนส่ง และนายจ้างหรือตัวการ จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้ากระดาษของโจทก์ และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบสินค้ากระดาษของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ร่วมกันชำระราคาสินค้าที่จำเลยที่ 3 รับเกินไปแก่โจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิด ให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ฐานผิดสัญญาประกันภัย และให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ฐานรับมอบทรัพย์ของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของทรัพย์ในการติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 มูลความแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันได้ หาใช่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการต่อสู้เรื่องอายุความโดยจำเลยที่ 3 ด้วย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) เมื่อคดีของจำเลยที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะได้หยิบยกประโยชน์แห่งอายุความให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย ก็เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอายุความและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว สำหรับจำเลยที่ 3 แล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วม: ต้องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือและแจ้งเจ้าของรวม มิฉะนั้นไม่เกิดสิทธิ
จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ม. แบ่งที่ดินมรดกแก่จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของ ม. โดยให้เป็นของจำเลยที่ 1 จำนวน 2 ไร่ 3 งาน5 ตารางวา และของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จำนวน 3 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา คิดเป็นเงินรวม313,833.32 บาท แม้จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แยกกันเพราะเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งห้าตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมีราคา 313,833.32 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องแย้งจึงมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ละส่วนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งห้าได้ให้การในตอนต้นว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว แต่จำเลยทั้งห้าก็ให้การอีกตอนหนึ่งว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของ ก. ด้วยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ว่าม. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคนเดียวมิใช่ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งมีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่น ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ทายาทผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้บอกกล่าวไปยัง ก. ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน ก. อีกต่อไปตามมาตรา 1381 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทนผู้มีสิทธิครอบครองได้ และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
ท้ายอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดีไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 และมาตรา 167 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10881/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้หลังอายุความขาดแล้ว ไม่ทำให้หนี้เดิมฟื้นคืน แต่เป็นหลักฐานก่อสิทธิเรียกร้องใหม่ อายุความ 2 ปี
จำเลยทำหนังสือให้แก่โจทก์เพื่อรับรองว่าจำเลยยังมีหนี้ค่าจ้างก่อสร้างค้างชำระแก่โจทก์อยู่ โดยทำหนังสือขึ้นหลังจากมูลหนี้ค่าจ้างก่อสร้างขาดอายุความไปแล้ว จึงไม่ใช่หนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) แต่มีลักษณะเป็นหนังสือรับสภาพความรับผิดที่จำเลยกระทำเป็นหลักฐานให้แก่โจทก์ อันก่อสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์ตามมาตรา 193/35 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิด
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นอื่น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ และเห็นว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์และจำเลยมาจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนนั้นได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
จำเลยได้ยกเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ครั้นโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10669/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ ผู้ขายต้องคืนเงินมัดจำ
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและอยู่ในระหว่างจำเลยยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์จึงต้องห้ามมิให้บุคคลที่ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทที่เป็นโมฆะ ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆขึ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยเพราะมิใช่เป็นผลจากการผิดสัญญา แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 412 บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้น เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนเต็มจำนวนนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรื่องลาภมิควรได้ จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงไม่ใช่โจทก์กระทำการตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามมาตรา 407 จำเลยต้องคืนเงินซึ่งได้รับไว้แก่โจทก์ตามมาตรา 406
หลังจากจำเลยทั้งสองไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าที่ดิน 2,872,718 บาท คืนแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 2 ไม่สามารถชำระได้ให้จำเลยที่ 2 แจ้งให้ ย. ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินร่วมกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ 2,000,000 บาท ต่อมา ย. ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์2,600,000 บาท อันเป็นหนี้จำนวนเดียวกันกับที่โจทก์ได้หักหนี้ 2,000,000 บาท และจำเลยที่ 2 ยอมให้โจทก์หักหนี้ดังกล่าวได้ ดังนี้เงิน 2,000,000 บาท จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองคืนเงิน 872,718 บาท เท่านั้น
จำเลยไม่ได้ยกอายุความเรื่องลาภมิควรได้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7982/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่จำเลยต้องมีสิทธิในบ้านพิพาท การเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ตายไม่ทำให้ได้สิทธิในทรัพย์สิน
คดีสืบเนื่องมาจาก ก. เป็นโจทก์ฟ้อง บ. ให้ออกจากบ้านพิพาท ในระหว่างพิจารณา บ. ถึงแก่กรรม ศาลอนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองบ้านพิพาทเข้าเป็นคู่ความแทน บ. แม้ต่อมาศาลฎีกาจะยกฟ้องคดีดังกล่าวและผลแห่งคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ แต่ไม่ได้ทำให้โจทก์ได้สิทธิในบ้านพิพาทแทน บ. โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะคือ บ. มีหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแทน บ. ในระหว่างพิจารณาเท่านั้น โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว เมื่อโจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิในบ้านพิพาทนอกเหนือจากการที่โจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนที่ บ. อย่างไร โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์นำสืบว่า ก่อน บ. ถึงแก่กรรม บ. ได้ยกบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ด้วยวาจา โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรื่องนี้ไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะให้โจทก์นำสืบประเด็นดังกล่าวและศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นนี้ไว้ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นเรื่องนำสืบนอกฟ้องและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องแย้ง, ประเด็นนอกฟ้อง, และการไม่ยกประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอเรียกค่าชดเชยการใช้ทางจำเป็นจากโจทก์ในอัตราปีละ 20,000 บาท และขอเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุถูกฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ ส่วนฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายไม่รับค่าขึ้นศาลให้คำนวณจากค่าชดเชย 20,000 บาท คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย ดังนี้ พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยเท่านั้น ต่อมามีการส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ สำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้แก่โจทก์โดยมิได้กำหนดให้ฝ่ายโจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ทั้งจำเลยก็มิได้นำส่งหมายนัด คำให้การ และฟ้องแย้งให้แก่ฝ่ายโจทก์ จนเวลาล่วงเลยไปจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่โจทก์และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันยื่นคำฟ้องแย้ง อันเป็นการที่จำเลยทิ้งฟ้องแย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 174 (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภาระจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม หากโจทก์ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เมื่อโจทก์มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ฉะนั้น ประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อฟ้องแย้ง, การรับสิทธิทางภารจำยอมจากการซื้อขาย, และประเด็นทางจำเป็นที่ไม่ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ทั้งห้าในอัตราปีละ 20,000บาท และขอเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่ถูกฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ ส่วนฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายไม่รับ ค่าขึ้นศาลให้คำนวณจากค่าชดเชย20,000 บาท กับค่าขึ้นศาลอนาคต คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลยทั้งสอง พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยเท่านั้น แต่จำเลยทั้งสองมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้แก่ฝ่ายโจทก์กระทั่งเวลาล่วงเลยไปจนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่โจทก์ทั้งห้าและไม่แจ้งให้ศาลทราบสาเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้องแย้งอันเป็นการทิ้งฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)
ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ว่า โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภารจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ที่ 1 ไม่ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม หากโจทก์ที่ 1 ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์ที่ 1 จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อโจทก์ที่ 1 มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ย่อมไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ชั้นอุทธรณ์ และเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดทางสัญญา: ศาลพิพากษาเกินขอบเขตคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่รับฟัง
คำฟ้องของโจทก์แสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เพียง 2 ข้อว่า ข้อหนึ่งจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นความรับผิดตามสัญญาซื้อขาย และข้อสองจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้ากับจำเลยที่ 1 เพราะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (3) เท่านั้น ไม่มีข้อหาว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว อุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามมาตรา 1490 (1) เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านธีระพร การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านธีระพรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตร ตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันตามมาตรา 1490 (1) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในเรื่องที่นอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 249 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และในการประกอบกิจการของร้านธีระพร จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
of 294