พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,935 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดสามีภริยาในหนี้จากการซื้อขายสินค้า หนี้ต้องเกิดจากการงานที่ทำร่วมกัน หรือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน เป็นเจ้าของร้านร่วมกันประกอบกิจการขายของชำและจำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงมีว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์อันเป็นความผิดตามสัญญาซื้อขายประการหนึ่ง และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าสินค้ากับจำเลยที่ 1 เพราะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(3) อีกประการหนึ่งเท่านั้น ไม่มีข้อหาว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาเพราะเป็นหนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1) แต่อย่างใด เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้าน ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมตัดสินแล้วโจทก์ผูกพันตามคำพิพากษา แม้ไม่มีการต่อเติมสิ่งปลูกสร้าง
คู่ความคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นที่ได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นในคดีนี้ก็คือประเด็นเดียวกันว่า กันสาดหน้าต่างตึกแถวของจำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์หรือไม่ และกันสาดตามฟ้องคดีนี้ก็คือกันสาดเดิมตามฟ้องในคดีก่อนมิได้มีการต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงอันจะเป็นการละเมิดครั้งใหม่ โดยในคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามคำท้าของคู่ความว่ากันสาดไม่ได้อยู่ในเขตที่ดินของโจทก์คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนดังกล่าว และจะมาฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลกลับมาวินิจฉัยซ้ำในประเด็นเดียวกันอีกหาได้ไม่ ฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไปมิได้ขอให้ชนะคดีตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้คือชั้นศาลละ 200บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์คดีไม่มีทุนทรัพย์แทนจำเลยเป็นเงิน 2,000 บาท จึงสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้เพียง 1,500 บาท ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไปมิได้ขอให้ชนะคดีตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้คือชั้นศาลละ 200บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์คดีไม่มีทุนทรัพย์แทนจำเลยเป็นเงิน 2,000 บาท จึงสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้เพียง 1,500 บาท ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์-ฎีกา: ข้อหาใหม่/ข้อเท็จจริงไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่จำเลยเตะบริเวณแก้มของผู้ตายเป็นการเล็งเห็นผลว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ ในข้อหาที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง และเป็นข้อหาที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจะลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) และโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อที่สองที่ว่า จำเลยทำร้ายผู้ตายโดยกระทำทารุณโหดร้ายและอุทธรณ์ข้อที่สามที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายในสถานหนัก ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อที่สองและข้อที่สามของโจทก์ร่วม จึงไม่ชอบ
โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาของจำเลย
โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการอุทธรณ์และฎีกา คดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่จำเลยเตะบริเวณแก้มของผู้ตายเป็นการกระทำโดยเล็งเห็นผลว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อหาที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง และเป็นข้อหาที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจะลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายเตะและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้บุพการีของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) และโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อที่สองที่ว่า จำเลยทำร้ายผู้ตายโดยกระทำทารุณโหดร้าย และอุทธรณ์ข้อที่สามที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายในสถานหนัก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อที่สองและข้อที่สามของโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาตั้งแต่ต้นเป็นโมฆะ
โจทก์ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามด้วยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นสั่งว่า "ปิดหมายเฉพาะจำเลยที่ 1" แต่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยวิธีปิดหมายด้วย จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายไม่มีผลให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในเหตุที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การได้ เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมิได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของข้อตกลงประนีประนอมยอมความ และการระงับหนี้เดิม
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความในส่วนที่เกี่ยวกับการถอนฟ้องที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่ง 1 คดี จำเลยกับพวกถอนฟ้องคดีอาญา 1 คดี คดีแพ่ง 2 คดี และตกลงประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งอีก 1 คดี คดีแพ่งทั้ง 4 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150แม้ข้อตกลงในส่วนที่ฝ่ายจำเลยต้องถอนฟ้องคดีอาญาในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอม เป็นคดีอาญาแผ่นดินซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตามมาตรา 173 จึงไม่เกี่ยวกับส่วนที่โจทก์จะได้รับชำระหนี้จำนวน 700,000 บาท จากจำเลยและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความ
ประเด็นข้อพิพาทตั้งขึ้นได้โดยคำคู่ความ ซึ่งหมายความรวมถึงคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5),183 เมื่อจำเลยให้การว่าหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องระงับไปด้วยการทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องหรือไม่ ปัญหาว่าบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะหรือไม่ จึงเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพราะมีผลโดยตรงต่อการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามข้อต่อสู้ของจำเลย ทั้งโจทก์ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในชั้นอุทธรณ์แล้ว ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ประเด็นข้อพิพาทตั้งขึ้นได้โดยคำคู่ความ ซึ่งหมายความรวมถึงคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5),183 เมื่อจำเลยให้การว่าหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องระงับไปด้วยการทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องหรือไม่ ปัญหาว่าบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะหรือไม่ จึงเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพราะมีผลโดยตรงต่อการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามข้อต่อสู้ของจำเลย ทั้งโจทก์ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในชั้นอุทธรณ์แล้ว ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524-3525/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยชายคา/กันสาด: ประเด็นความไม่ชัดเจนของฟ้อง และอายุความสิทธิเจ้าของที่ดิน
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดแจ้งถึงลักษณะสภาพและขนาดของอาคาร ที่จำเลยฎีกาว่าตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2493 ให้ความหมายของคำว่า ชายคาและกันสาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน การที่โจทก์ทั้งสี่บรรยายคำฟ้องยืนยันว่าจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเฉพาะชายคาชั้นสองจึงเป็นคำบรรยายฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะสิ่งที่โจทก์ทั้งสี่กล่าวอ้างนั้นโดยแท้จริงมีสภาพเป็นกันสาดคอนกรีตที่ยื่นออกไปกันน้ำฝนไหลย้อนผนังอาคารด้านหลัง ไม่ใช่ชายคาหรือหลังคาตามฟ้องนั้น เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, การสืบพยานนอกฟ้อง, และการใช้คำให้การในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานหนี้
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องดังกล่าวทั้งมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ในคดีแพ่ง มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่อาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์จำนวน 70,200 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า การนำสืบพยานโจทก์แตกต่างในข้อสาระสำคัญไปจากคำฟ้องเป็นการสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์จำนวน 70,200 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า การนำสืบพยานโจทก์แตกต่างในข้อสาระสำคัญไปจากคำฟ้องเป็นการสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โดยไม่ชอบ และการไม่รับฎีกาเนื่องจากขาดอำนาจ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จำคุก คนละ 4 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี มีกำหนดขั้นต่ำคนละ 3 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งตามมาตรา 121 ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักหรืออบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน3 ปี จึงจะอุทธรณ์ได้ แต่กรณีดังกล่าวมิใช่การส่งไปกักและอบรมจึงอุทธรณ์ไม่ได้
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไว้โดยไม่ชอบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไว้โดยไม่ชอบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ไว้โดยไม่ชอบ และผลกระทบต่อการฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ภายหลังลดโทษแล้วคงจำคุกคนละ 4 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104(2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี มีกำหนดขั้นต่ำคนละ 3 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 121 ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ เว้นแต่ถ้าเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักหรืออบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน 3 ปี จึงจะอุทธรณ์ได้กรณีนี้จึงมิใช่การส่งไปกักและอบรมตามข้อยกเว้นดังกล่าว เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ดังนั้น คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไว้โดยไม่ชอบ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไว้โดยไม่ชอบ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้