พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,935 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6829/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมาย การพิสูจน์เจตนาใช้ภูมิลำเนาเดิม และการรับผิดร่วมของสามีภริยา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์และทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว โดยมีข้อสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่า หากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ จำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินดังกล่าว เป็นการร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นและได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 2 ในฐานะภริยาต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นสามีรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติเพียงว่า ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้น มิได้บัญญัติบังคับว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือด้วยการมอบอำนาจให้ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือตามมาตรา 798 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติเพียงว่า ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้น มิได้บัญญัติบังคับว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือด้วยการมอบอำนาจให้ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือตามมาตรา 798 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6448/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้บุกรุกหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และประเด็นการห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องและขอให้เรียการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินจากโจทก์ร่วม แต่โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เช่าจากโจทก์ร่วมได้ เนื่องจากมีอาคารของจำเลยปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารที่ปลูกอยู่และส่งมอบที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย กับให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็คือจำเลยไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไป และไม่ยอมรื้อถอนอาคารของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เช่าจากโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ส่วนคำขอบังคับก็คือให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารและส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์รวมทั้งใช้ค่าเสียหาย ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่า โจทก์ร่วมบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยหรือไม่ อย่างไร และจำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอย่างไร เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนอาคารออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แม้จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 3,200 บาท หรือเดือนละ 96,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 96,000 บาท แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท กรณีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วมได้ระงับไปแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าไม่ได้เนื่องจากมีจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 แม้โจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดและสรุปการกระทำของจำเลยตามที่บรรยายมาในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ แต่ในการวินิจฉัยคดีศาลย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องให้จำเลยรับผิดตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้
การวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนอาคารออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แม้จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 3,200 บาท หรือเดือนละ 96,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 96,000 บาท แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท กรณีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วมได้ระงับไปแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าไม่ได้เนื่องจากมีจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 แม้โจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดและสรุปการกระทำของจำเลยตามที่บรรยายมาในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ แต่ในการวินิจฉัยคดีศาลย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องให้จำเลยรับผิดตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้
การวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม – การใช้สิทธิไม่สุจริต – หลักเกณฑ์การเลือกเส้นทาง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทในที่ดินของจำเลยที่ 1 ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ และโจทก์มีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ 2 แต่ทางดังกล่าวในที่ดินของจำเลยที่ 2 ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นทางจำเป็น ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่วินิจฉัยว่าโจทก์ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทางพิพาทอาจเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมอยู่จนไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ปิดล้อมอยู่นั้นเปิดทาง เพื่อให้โจทก์เข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 อันเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนด จึงมิใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทางพิพาทอาจเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมอยู่จนไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ปิดล้อมอยู่นั้นเปิดทาง เพื่อให้โจทก์เข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 อันเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนด จึงมิใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีที่ดินสาธารณประโยชน์: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม & ข้อกล่าวอ้างนอกประเด็น
องค์การบริหารส่วนตำบลโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาที่ดินพิพาทตามกฎหมาย จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์และจำเลยโต้เถียงกันจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของจำเลย หากศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดชนะคดีย่อมมีผลทำให้คู่ความฝ่ายนั้นได้รับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง 32,240 บาท ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่คู่ความมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง นั้น จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ฎีกา โดยข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ กล่าวคือต้องมิใช่ข้อเท็จจริงในเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น หรือไม่เกี่ยวกับที่คู่ความฝ่ายในฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โดยอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง มิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ คดีจึงไม่มีประเด็นที่คู่ความจะต้องนำสืบว่า ส. และ พ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม่ ข้อเท็จจริงดังกล่าวที่จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่อาจนำมาวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกามาได้ และถือว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่คู่ความมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง นั้น จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ฎีกา โดยข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ กล่าวคือต้องมิใช่ข้อเท็จจริงในเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น หรือไม่เกี่ยวกับที่คู่ความฝ่ายในฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โดยอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง มิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ คดีจึงไม่มีประเด็นที่คู่ความจะต้องนำสืบว่า ส. และ พ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม่ ข้อเท็จจริงดังกล่าวที่จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่อาจนำมาวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกามาได้ และถือว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นหลังลาออกจากสมาชิกสหกรณ์ และการบังคับคดีต่อสิทธิเรียกร้องนั้น
จำเลยพ้นจากการเป็นสมาชิกผู้ร้องโดยการลาออกแล้ว จำเลยก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าหุ้นของจำเลยจากผู้ร้องได้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาแก่สิทธิเรียกร้องในเงินค่าหุ้นของจำเลยได้ เงินค่าหุ้นที่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องชำระแก่ผู้ร้องแล้วนั้น แม้จะเป็นเงินทุนของผู้ร้อง แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ ทั้งไม่อยู่ในข้อยกเว้นในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 285,286 แม้จะได้ความว่าจำเลยได้จำนำหุ้นดังกล่าวไว้เป็นประกันเงินกู้กับผู้ร้อง ผู้ร้องก็มีสิทธิเพียงได้รับชำระจากเงินค่าหุ้นที่ถูกอายัดไว้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งมอบเงินค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นจับกุมและอำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจในการเข้าค้นสถานที่สาธารณะเพื่อป้องกันปราบปรามยาเสพติด
ฎีกาของจำเลยที่ว่า คำเบิกความของร้อยตำรวจเอก น. ขัดกับบันทึกการจับกุม แต่ไม่ปรากฏตามฎีกาของจำเลยว่าขัดกันอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ร้านก๋วยเตี๋ยวของจำเลยขณะเปิดบริการมิใช่ที่รโหฐาน แต่เป็นที่สาธารณสถาน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดต่อกฎหมายย่อมมีอำนาจค้นจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 และเมื่อตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในครอบครองจำเลย การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยต้องมีหมายจับตามมาตรา 78 (1)
ร้านก๋วยเตี๋ยวของจำเลยขณะเปิดบริการมิใช่ที่รโหฐาน แต่เป็นที่สาธารณสถาน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดต่อกฎหมายย่อมมีอำนาจค้นจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 และเมื่อตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในครอบครองจำเลย การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยต้องมีหมายจับตามมาตรา 78 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภาระจำยอม, การขาดนัดยื่นคำให้การ, การอุทธรณ์, การฎีกา, สิทธิในการใช้ทาง
คำฟ้องอุทธรณ์ที่ระบุว่าจำเลยทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่มีเพียงจำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เพียงผู้เดียว ส่วนทนายความจำเลยทั้งสองลงชื่อมาในช่องเป็นผู้เรียง/พิมพ์ เท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้อุทธรณ์เพียงผู้เดียว
จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา เพราะฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7
จำเลยทั้งสองเป็นผู้ชักชวนให้โจทก์ซื้อที่ดินจาก ป. โดยจำเลยทั้งสองตกลงยินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้อย่างเป็นทางภาระจำยอม แม้ข้อตกลงจะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเพียงทำให้การได้มาไม่บริบูรณ์และไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้เท่านั้น แต่ระหว่างคู่กรณียังคงบังคับกันได้ในฐานะบุคคลสิทธิ จำเลยทั้งสองจึงต้องเปิดทางภาระจำยอมและจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์
จำเลยที่ 2 จะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ คดีจึงมีประเด็นตามที่โจทก์ตั้งสภาพแห่งข้อหามาในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ต้องรื้อถอนประตูเหล็กและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา เพราะฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7
จำเลยทั้งสองเป็นผู้ชักชวนให้โจทก์ซื้อที่ดินจาก ป. โดยจำเลยทั้งสองตกลงยินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้อย่างเป็นทางภาระจำยอม แม้ข้อตกลงจะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเพียงทำให้การได้มาไม่บริบูรณ์และไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้เท่านั้น แต่ระหว่างคู่กรณียังคงบังคับกันได้ในฐานะบุคคลสิทธิ จำเลยทั้งสองจึงต้องเปิดทางภาระจำยอมและจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์
จำเลยที่ 2 จะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ คดีจึงมีประเด็นตามที่โจทก์ตั้งสภาพแห่งข้อหามาในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ต้องรื้อถอนประตูเหล็กและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ & สิทธิบุคคลภายนอก: การโอนที่ดินเฉพาะส่วน & สิทธิเรียกร้อง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้นำคดีมาฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ ส. ถึงแก่ความตาย คดีของโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความ เป็นการฎีกาในทำนองว่าคดีของโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความในเรื่องมรดก ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ คงให้การต่อสู้ไว้เฉพาะอายุความในเรื่องสัญญา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ที่ระบุว่าบ้านพร้อมกับที่ดินปลูกสร้างบ้านยกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 บุตรทั้ง 3 คน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ส. ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามได้และสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 193/30 มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ซึ่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาโดยให้โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญาให้ตนเมื่อต้นปี 2534 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ ส. โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญานับแต่เวลาที่แสดงเจตนาดังกล่าวซึ่งนับถึงวันฟ้องวันที่ 9 เมษายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแล้ว ส. ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในภายหลังได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375 ส. จึงไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้โดยเสน่หาระหว่าง ส. กับจำเลยได้
บันทึกหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ที่ระบุว่าบ้านพร้อมกับที่ดินปลูกสร้างบ้านยกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 บุตรทั้ง 3 คน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ส. ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามได้และสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 193/30 มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ซึ่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาโดยให้โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญาให้ตนเมื่อต้นปี 2534 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ ส. โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญานับแต่เวลาที่แสดงเจตนาดังกล่าวซึ่งนับถึงวันฟ้องวันที่ 9 เมษายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแล้ว ส. ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในภายหลังได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375 ส. จึงไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้โดยเสน่หาระหว่าง ส. กับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำทางร่วมและละเมิดสิทธิ โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยได้ แม้จะมีการกระทำละเมิดจากผู้อื่น
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ต่อเติมแนวกันสาดจากอาคารมากเกินความจำเป็นและไม่ได้วางแผงขายสินค้าบนถนน ฎีกาของจำเลยที่ว่ากระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิด เพราะโจทก์ยินยอมแล้วเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขัดแย้งแตกต่างไปจากคำให้การ จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยต่อเติมแนวกันสาดและนำสินค้ามาวางขายบนถนนเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารศูนย์การค้าย่อมมีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 แม้เจ้าของร้านค้ารายอื่นจะกระทำการรบกวนสิทธิของโจทก์ด้วย แต่เมื่อโจทก์ประสงค์จะยังความเสียหายหรือเดือดร้อนซึ่งเกิดจากการกระทำของจำเลยให้สิ้นไป การที่โจทก์ฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยจึงหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
จำเลยต่อเติมแนวกันสาดและนำสินค้ามาวางขายบนถนนเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารศูนย์การค้าย่อมมีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 แม้เจ้าของร้านค้ารายอื่นจะกระทำการรบกวนสิทธิของโจทก์ด้วย แต่เมื่อโจทก์ประสงค์จะยังความเสียหายหรือเดือดร้อนซึ่งเกิดจากการกระทำของจำเลยให้สิ้นไป การที่โจทก์ฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยจึงหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดขวางกระบวนการยุติธรรม: การกระทำของทนายความ พี่ชายจำเลย และผู้ใหญ่บ้าน ที่มีผลต่อการพิจารณาคดี
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 รับผู้กล่าวหาทั้งสองไปศาลและพากลับจากศาลโดยทราบดีว่าผู้กล่าวหาทั้งสองไปศาลเพื่อเบิกความต่อศาลตามหมายเรียก โดยไม่ให้ผู้กล่าวหาทั้งสองเบิกความต่อศาลตามหมายเรียก จึงเป็นการร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และที่ 3 ขัดขวางการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล อันเข้าลักษณะเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลซึ่งถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1)
ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ที่ว่า สถานที่ที่เกิดเหตุมิใช่บริเวณศาลเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งหยิบยกขึ้นมาว่ากล่าวในภายหลังซึ่งขัดแย้งกับคำรับสารภาพผิดของผู้ถูกกล่าวที่ 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา
ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ที่ว่า องค์คณะของผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีและพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะรายชื่อผู้พิพากษาในองค์คณะพิจารณาคดีและพิพากษาคดีเป็นรายชื่อผู้พิพากษาคนละองค์คณะกัน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง และถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 ได้ร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 พี่ชายจำเลยและผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ทนายความของจำเลยกระทำการขัดขวางการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลด้วยการพาและบอกให้ผู้กล่าวหาทั้งสองซึ่งมาศาลในวันนัดตามหมายเรียกแล้วกลับบ้าน เพื่อมิให้ผู้กล่าวหาทั้งสองเบิกความเป็นพยานต่อศาล โดยมีเจตนาเพื่อจะช่วยให้จำเลยไม่ต้องรับโทษ การกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นข้อเท็จจริงในสาระสำคัญที่มีลักษณะเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาเรื่องมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้แก่ผู้ถูกกล่วหาที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 หรือไม่ ไปพร้อมกัน
ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ที่ว่า สถานที่ที่เกิดเหตุมิใช่บริเวณศาลเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งหยิบยกขึ้นมาว่ากล่าวในภายหลังซึ่งขัดแย้งกับคำรับสารภาพผิดของผู้ถูกกล่าวที่ 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา
ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ที่ว่า องค์คณะของผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีและพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะรายชื่อผู้พิพากษาในองค์คณะพิจารณาคดีและพิพากษาคดีเป็นรายชื่อผู้พิพากษาคนละองค์คณะกัน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง และถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 ได้ร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 พี่ชายจำเลยและผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ทนายความของจำเลยกระทำการขัดขวางการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลด้วยการพาและบอกให้ผู้กล่าวหาทั้งสองซึ่งมาศาลในวันนัดตามหมายเรียกแล้วกลับบ้าน เพื่อมิให้ผู้กล่าวหาทั้งสองเบิกความเป็นพยานต่อศาล โดยมีเจตนาเพื่อจะช่วยให้จำเลยไม่ต้องรับโทษ การกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นข้อเท็จจริงในสาระสำคัญที่มีลักษณะเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาเรื่องมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้แก่ผู้ถูกกล่วหาที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 หรือไม่ ไปพร้อมกัน