พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าสินค้าสำเร็จรูปและการยกเว้นภาษีส่วนประกอบเครื่องจักรชำรุด
ตาม ประมวลรัษฎากรฉบับที่ 18 พ.ศ.2504 ในขณะนั้นสินค้าสำเร็จรูปไม่ว่าจะนำเข้ามาผลิตสินค้าอื่นหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นผู้ขาย และเสียภาษีการค้าในวันนำเข้า
ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุด ไม่ใช่สินค้าที่ยกเว้นภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 14 พ.ศ.2508มาตรา 4
ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุด ไม่ใช่สินค้าที่ยกเว้นภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 14 พ.ศ.2508มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถังน้ำมันขนาดใหญ่ ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างต้องเสียภาษีโรงเรือน
ถังน้ำมันขนาด 800,000 ลิตร และ 100,000 ลิตร ก่อสร้างขึ้นติดที่ดินเป็นการถาวรใช้สำหรับเก็บสินค้าน้ำมัน เทียบได้กับอาคารเก็บสินค้าทั่ว ๆ ไป การที่ต้องสร้างเป็นรูปถังกลมก็เนื่องจากสินค้าที่เก็บเป็นของเหลวจำพวกน้ำ ดังนี้ ถือได้ว่าถังน้ำมันดังกล่าวเป็นสิ่งปลูกอย่างอื่น ๆ ตามความหมายแพ่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 แล้ว จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนสำหรับถังน้ำมัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้มรดก: เงินค่าเช่าเป็นดอกผลนิตินัยของกองมรดก ต้องยื่นภาษีในชื่อกองมรดก และไม่ขาดอายุความ
เมื่อกองมรดกโจทก์ยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเงินค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่าทรัพย์สินของกองมรดกย่อมเป็นของกองมรดก เพราะเป็นดอกผลนิตินัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ซึ่งจักต้องนำไปแบ่งปันกันระหว่างทายาทต่อมาภายหลังแม้ตามพินัยกรรมระบุให้แบ่งเงินค่าเช่าแก่ทายาท 3 คน และผู้จัดเก็บผลประโยชน์ของกองมรดกได้แบ่งค่าเช่าที่เก็บได้มาให้แก่ทายาทไปตามพินัยกรรมแล้วก็หาใช่ว่าเงินค่าเช่านั้นตกได้แก่ทายาท 3 คนนั้นทันทีไม่กรณีเข้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ทวิ วรรคสอง ซึ่งผู้จัดการมรดกหรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี มีหนังสือต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ในชื่อกองมรดกผู้ตาย
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2509 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์ได้รับหมายเรียกวันที่ 24 เดือนเดียวกันจึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมและเงินเพิ่มภาษีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ก็ชอบด้วยด้วยมาตรา 20 สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรให้โจทก์ชำระเงินได้ประจำ พ.ศ.2509 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2509 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์ได้รับหมายเรียกวันที่ 24 เดือนเดียวกันจึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมและเงินเพิ่มภาษีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ก็ชอบด้วยด้วยมาตรา 20 สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรให้โจทก์ชำระเงินได้ประจำ พ.ศ.2509 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หน้าที่ของผู้ให้ยินยอมในการยืนยันแก้ไขเอกสารเพื่อให้บรรลุผล
โจทก์ จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันในสัญญาข้อ 8 ระบุว่า จำเลยจะเซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 4 คำขอ และจำเลยได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ตามสัญญา โดยแยกทำหนังสือยินยอม 1 ฉบับ ต่อคำขอของโจทก์ 1 คำขอ โจทก์ได้นำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปยื่นประกอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่กองเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอยืมหนังสือยินยอมของจำเลยจากเจ้าหน้าที่มาจัดการขูดลบ แก้ไข เพิ่มเติมจากเดิมเป็นระบุหมายเลขคำขอของโจทก์ 4 เลขหมายที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ตามสัญญาต่อหนังสือยินยอมของจำเลย 1 ฉบับ โดยมิได้เพิ่มเติมเลขหมายคำขอให้มีจำนวนมากขึ้นและมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อความอื่นให้ผิดไปจากเดิมอันจะทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด ซึ่งโจทก์ได้ทำไปโดยพลการปราศจากการรู้เห็นยินยอมของจำเลย แล้วโจทก์นำหนังสือยินยอมของจำเลยที่แก้ไขนั้นไปยื่นใหม่ เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีรอยขูดลบ แก้ไข จึงมีหนังสือให้โจทก์นำจำเลยไปยืนยันและเซ็นชื่อกำกับข้อความที่แก้ไขเพราะสงสัยว่าจะไม่ใช่หนังสือยินยอมอันแท้จริงของจำเลย ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำหนังสือยืนยันและไปลงชื่อกำกับรอยแก้ไขในหนังสือยินยอมให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้น จำเลยจะอ้างว่าได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์แล้ว จึงหมดความผูกพันตามสัญญาได้ไม่ เพราะการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณาหนังสือยินยอมของจำเลย เท่ากับว่ายังขาดหนังสือยินยอมของจำเลยนั่นเอง คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงยังไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่ตกลงกันในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สิน - การใช้คูน้ำร่วมกัน - ไม่เป็นละเมิด - ป้องกันทรัพย์สิน
จำเลยขุดคูเพื่อชักน้ำจากคลองใช้ทำสวน โจทก์ทำสวนในที่ดินแม่ยายและได้ขุดคูชักน้ำใช้ทำสวนต่อจากคูที่จำเลยขุดไว้ แล้วโจทก์ถือวิสาสะใช้เรือยนต์บรรทุกอุปกรณ์ในการทำสวนมีเครื่องสูบน้ำเป็นต้นผ่านคูที่จำเลยขุดเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ทำสวนโดยไม่ขออนุญาตจากจำเลย ในหน้าน้ำจำเลยปักไม้ไผ่ขวางคูนั้นเป็นป้องกันคนร้ายนำเรือยนต์ผ่านคูที่จำเลยขุดมาขโมยผลไม้ในสวนของ จำเลย โจทก์นำเรือยนต์บรรทุกเครื่องยนต์เข้าไปสูบน้ำที่ท่วมในสวนของโจทก์ไม่ได้ ทำให้สวนของโจทก์ถูกน้ำท่วมเสียหายการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้มีเจตนา กลั่นแกล้งจึงไม่เป็นการละเมิด และไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตในอสังหาริมทรัพย์ทำให้โจทก์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้าย vs. เจตนาฆ่าในคดีปล้นทรัพย์ การพิจารณาจากลักษณะบาดแผลและพฤติการณ์
จำเลยที่ 1 กับพวกใช้มีดปลายแหลมของกลางเล่มเดียวซึ่งมีความยาวทั้งด้ามและตัวมีดประมาณ 1 ฟุต แทงประทุษร้ายผู้เสียหายในการปล้นทรัพย์ จนผู้เสียหายตกจากรถจักรยานยนต์และช่วยกันลากผู้เสียหายเข้าป่าข้างทาง แล้วเอาปืนกับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายพาหนีไป ฝ่ายคนร้ายมีถึง 3 คนมีกำลังเหนือกว่าผู้เสียหายมาก หากมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายแล้วย่อมมีโอกาสทำได้ แต่จำเลยที่ 1 กับพวกก็หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ บาดแผลของผู้เสียหายรวม 8 แผล แพทย์มีความเห็นว่ารักษา 10 วันหาย แสดงว่าเป็นบาดแผลเล็กน้อยไม่ทำให้ผู้เสียหายถึงตายเพราะไม่ถูกที่สำคัญ เช่นนี้จำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เพียงมีเจตนาทำร้ายเท่านั้นจึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่ไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดสำคัญ ทำให้จำเลยต่อสู้คดีไม่ได้ ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2514 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2517 อันเป็นเวลาติดต่อกัน 2 ปีเศษ จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้เบิกเงินจากธนาคารรวมยอดเงิน 1,542,661 บาท 99 สตางค์ โดยไม่ลงรายการจ่ายในบัญชี หรือเมื่อฝากเงินจำนวนดังกล่าวก็ไม่ลงหลักฐานการฝากเงิน และเมื่อจำเลยรับเงินค่าหุ้นก็ไม่นำลงในบัญชี โจทก์มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดให้ปรากฏเลยว่า ในการเบิกเงินหรือฝากเงินก็ดีจำเลยไม่ลงบัญชีรายการใด เมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด และในการรับเงินค่าหุ้นก็ดีจำเลยรับจากใคร เมื่อใด ทั้ง ๆ ที่โจทก์อาจกล่าวถึงข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้ จึงเป็นการยากที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับความผิดฐานทำหลักฐานเท็จและจดข้อความเท็จ ตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ.2499 มาตรา 42 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แต่มาตรา 354 เป็นบทบัญญัติให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 352, 353 รับโทษหนักขึ้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 352, 353 ข้อกฎหมายตามฎีกาโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดี
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แต่มาตรา 354 เป็นบทบัญญัติให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 352, 353 รับโทษหนักขึ้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 352, 353 ข้อกฎหมายตามฎีกาโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่เวนคืนและการผูกพันตามสัญญาค่าทดแทนที่ดิน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนครสวรรค์ - ตากฯ พ.ศ.2509 บัญญัติให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นจึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงและเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่า ทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 จึงเห็นได้ว่ากรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ประชุมกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ ตารางวาละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 399,000 บาท โจทก์ตกลงยอมรับ และคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับโจทก์ได้ทำสัญญาจ่ายเงินค่าทดแทนกันไว้แล้ว กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามนั้น จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้อนุมัติตามข้อตกลง และยับยั้งไม่จ่ายเงินดังกล่าวหาได้ไม่
กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่า ทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 จึงเห็นได้ว่ากรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีหน้าที่กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ประชุมกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ ตารางวาละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 399,000 บาท โจทก์ตกลงยอมรับ และคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับโจทก์ได้ทำสัญญาจ่ายเงินค่าทดแทนกันไว้แล้ว กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามนั้น จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้อนุมัติตามข้อตกลง และยับยั้งไม่จ่ายเงินดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีแพ่งและการเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของผู้เป็นมารดา
เดิมโจทก์บรรยายฟ้องว่า รถประจำทางของบริษัทจำเลยคันที่ชนบุตรโจทก์มี ด. เป็นคนขับ ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งหลังจากวันชี้สองถานแล้ว โจทก์ขอแก้ฟ้องว่า คนขับรถของบริษัทจำเลยชื่อ จ. อ้างเหตุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจบอกชื่อสับกันไป เพราะมีรถชนกันสองสายในเวลาใกล้เคียงกัน ดังนี้ เมื่อตามคำให้การจำเลยมิได้ปฏิเสธว่า ด.มิใช่ลูกจ้างจำเลย คงอ้างแต่เพียงว่าคนขับรถของจำเลยมิได้เป็นฝ่ายประมาท การที่โจทก์ระบุชื่อคนขับรถของจำเลยผิดพลาดไปด้วยเหตุดังกล่าว แล้วมาแก้ไขให้ถูกต้องภายหลังเป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อย แม้จะเป็นภายหลังกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ศาลก็มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องได้
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรค 3 ประกอบด้วยมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องพิจารณาขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตายจะอุปการะโจทก์หรือไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509)
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรค 3 ประกอบด้วยมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องพิจารณาขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตายจะอุปการะโจทก์หรือไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกประเด็นใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยต่อสู้เพียงว่ามิได้เป็นคนร้ายลักทรัพย์ต่อมาในฎีกา จำเลยฎีกาว่า ทรัพย์อยู่ในความครอบครองของจำเลย ถ้าจะมีความผิดก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 334 ถือได้ว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างกับคำฟ้อง ชอบที่จะยกฟ้อง ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าทรัพย์อยู่ในความครอบครองของจำเลยนั้นไม่ได้ยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างอิงจึงไม่เกิดขึ้น ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 (อ้างฎีกาที่ 1478/2497)