คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 699

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้และผลของการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันหลังเกิดหนี้ใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้ก่อนบอกเลิก
สัญญาค้ำประกันตามสัญญากู้เงินฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้คือธนาคารโจทก์ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตามมาตรา 699 ได้เมื่อจำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์หลังจากวันที่จำเลยที่ 6 และที่ 8 บอกเลิกการค้ำประกันไปแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกัน, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และการชำระหนี้บางส่วนของผู้กู้
ตามสัญญากู้ฉบับแรก โจทก์มิได้มอบเงินที่กู้ให้แก่จำเลยที่ 1 รับไปในคราวเดียว แต่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นคราว ๆ ตามความจำเป็น และคิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นคราวตามวันที่จ่ายจริง มิใช่นับแต่วันทำสัญญากู้เงินทั้งหมด และแม้ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 มาขอกู้เงินจากโจทก์เพิ่มอีกเป็นครั้งที่ 2 โจทก์ก็จ่ายเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะเดียวกัน ดังนั้นแม้ในสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8 ทำไว้ต่อโจทก์จะมีข้อความในข้อ 1 วรรคสาม ระบุว่า "เนื่องจากการค้ำประกันตามวรรคแรกเป็นประกันหนี้ดังกล่าวข้างต้นในจำนวนหนี้ที่มีอยู่ก่อน หรือในขณะทำสัญญานี้และ/หรือที่จะมีขึ้นใหม่ภายหน้า ผู้ค้ำประกันและธนาคารจึงตกลงกันว่าในกรณีที่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแล้ว ถ้าตราบใดธนาคารยังมิได้มีหนังสือแจ้งว่าผู้ค้ำประกันหมดภาระผูกพันตามสัญญาค้ำประกันฉบับนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันและธนาคารตกลงให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันรายนี้ยังคงมีผลบังคับอยู่ เมื่อเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าหรือหนี้ใหม่ของลูกหนี้กับธนาคารต่อไปอีกด้วย" อันแสดงให้เห็นได้ว่า สัญญาค้ำประกันฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 อันมีผลใช้บังคับต่อผู้ค้ำประกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง ก็ตาม แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือ จำเลยที่ 5 และที่ 6 และที่ 8 อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 699 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว ก่อนที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ฉบับที่ 2 กับโจทก์ สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป ส่วนจำเลยที่ 5 นั้น แม้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ฉบับที่ 2 แต่จำเลยที่ 5 เพิ่งมีหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันเงินกู้จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 กับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงยังคงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์ในหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญากู้เงินฉบับแรกอยู่ จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ฉบับแรกพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามฟ้องต่อโจทก์
การที่พยานหลักฐานโจทก์ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระต้นเงินทั้งสองคราวนั้น ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ค้างชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินต่อโจทก์แล้ว จึงได้นำเงินมาหักจากต้นเงินได้ และแม้ว่าการผ่อนชำระดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใด ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับแรก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันบัญชีเดินสะพัดยังผูกพัน แม้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันแล้ว หากยังมิได้ชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดย สิ้นเชิงจะครบกำหนดวันที่ 2 เมษายน 2534 แม้จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันในวันดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่า มีการหักทอนบัญชีและชำระหนี้คงเหลือให้เสร็จสิ้นไป ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีผล ดังนั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังมีผลผูกพันกันอยู่และกลายเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 อยู่ตราบใด จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันสัญญาว่าจ้าง: การคืนหนังสือค้ำประกันไม่ใช่เหตุระงับหนี้เด็ดขาด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
แม้ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าจ้างจะได้รับการเวนคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างซึ่งเป็นเอกสารแห่งหนี้ เข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 327วรรคสาม ว่า หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อผู้รับจ้างยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างแก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวระงับไปด้วยเหตุประการอื่น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันตามป.พ.พ.มาตรา 698 ถึง 701 โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างได้ก็ตาม แต่หากธนาคารคืนหลักทรัพย์ที่ผู้รับจ้างนำมาวางเป็นหลักประกัน เนื่องจากผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันมาคืน ธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน โดยเฉพาะคดีนี้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโจทก์คือจำเลยทั้งสามคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้รับจ้างไปเองยากที่โจทก์จะให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิด ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยทั้งสามจึงต้องมีส่วนรับผิดตามสัญญาว่าจ้างร่วมกับผู้รับจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหนังสือค้ำประกันสัญญา และความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้คืน แม้ธนาคารคืนหลักประกันแล้ว
แม้ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าจ้างจะได้รับการเวนคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างซึ่งเป็นเอกสารแห่งหนี้ เข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม ว่า หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อผู้รับจ้างยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างแก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวระงับไปด้วยเหตุประการอื่น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างได้ก็ตาม แต่หากธนาคารคืนหลักทรัพย์ที่ผู้รับจ้างนำมาวางเป็นหลักประกัน เนื่องจากผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันมาคืนธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันโดยเฉพาะคดีนี้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโจทก์คือจำเลยทั้งสามคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้รับจ้างไปเองยากที่โจทก์จะให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิด ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยทั้งสามจึงต้องมีส่วนรับผิดตามสัญญาว่าจ้างร่วมกับผู้รับจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์แม้กรรมการเปลี่ยน, สัญญาค้ำประกัน, และดอกเบี้ยผิดสัญญา
ขณะทำหนังสือมอบอำนาจ ท. และ ย. มีอำนาจทำการผูกพันโจทก์จึงมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ เมื่อ ท. กับ ย. ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์ การมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฏว่าขณะที่ ส.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ท. จะพ้นจากตำแหน่งกรรมการไปแล้วก็ตามหนังสือมอบอำนาจก็ยังมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ส. จึงยังมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 แม้กรรมการชุดใหม่ของจำเลยที่ 1 จะได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีใหม่กับโจทก์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ซึ่งเป็นกรรมการชุดเก่าได้ทำไว้กับโจทก์
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ได้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วย และในวันที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันดังกล่าวต่อโจทก์ จำเลยที่ 1ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 เป็นการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันทั้งหมดโดยมิได้มีการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างโจทก์อยู่และมิใช่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ผู้ค้ำประกันจะใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 699 สัญญาค้ำประกันจึงยังไม่ระงับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 3ถึงที่ 10 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย สัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยอมสละที่จะต่อสู้ให้โจทก์บังคับเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกค้าก่อน ดังนั้นจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ได้โดยไม่ต้องฟ้องบังคับจำนองจากจำเลยที่ 1 ก่อน
โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 จากยอดหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีกระแสรายวัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แสดงว่าโจทก์ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดมาโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ และยอดหนี้ที่โจทก์ฟ้องก็เป็นยอดหนี้ที่โจทก์คิดมาจากบัญชีกระแสรายวันภายหลังที่หักทอนบัญชีกันแล้ว ยอดหนี้ดังกล่าวจึงเป็นยอดหนี้ที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะโจทก์คิดดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้ตกลงกันไว้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอย่างมาก ทั้งเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นติดต่อกันตลอดมา จำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คหลายพันฉบับและโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชีให้ไปและมีรายการที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้สินอีกหลายพันรายการ ยากที่ศาลฎีกาจะคิดต้นเงินและดอกเบี้ยที่ถูกต้องให้โจทก์ได้ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องคิดยอดหนี้มาให้ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่มีหน้าที่ต้องคิดยอดหนี้ที่ถูกต้องตามบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวให้โจทก์ ดังนี้จึงต้องยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: เงื่อนไขการบอกเลิกและการรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นก่อนบอกเลิก
แม้การค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2จะเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ซึ่งผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้โดยบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา699วรรคหนึ่งก็ตามแต่ตามสัญญาค้ำประกันมีเงื่อนไขว่าผู้ค้ำประกันจะไม่บอกเลิกสัญญานี้จนกว่าจะมีบุคคลหรือทรัพย์สินมาประกันให้เป็นที่พอใจของโจทก์จำเลยที่2ทำหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันไปยังโจทก์โดยไม่มีบุคคลหรือทรัพย์สินมาประกันให้เป็นที่พอใจของโจทก์เงื่อนไขข้อตกลงยังไม่เสร็จสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2ทำไว้ต่อโจทก์จึงไม่ระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันมีผลทันทีเมื่อเจ้าหนี้ได้รับแจ้ง และจำเลยไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง
การค้ำประกันการทำงานของ ณ. ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราว เมื่อจำเลยได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาค้ำประกันไปยังโจทก์ที่สำนักงานของโจทก์ โดยณ. ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ลงลายมือชื่อรับไว้ตั้งแต่วันที่3 กันยายน 2530 ถือว่าการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันมีผลทันที โดยไม่จำต้องให้ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์อนุมัติก่อนฉะนั้นการที่ ณ.เบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน2530 และวันที่ 30 ตุลาคม 2530 เป็นวันหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และอายุความสัญญา
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินจำนวน50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้ค้ำประกันการทำงานของ อ.ให้ยกฟ้องโจทก์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกัน อ.จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันการเข้าทำงานของ อ.ไว้ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันคงมีผลให้จำเลยที่ 2หลุดพ้นความรับผิดในการกระทำของ อ.ที่ให้กระทำภายหลังมีการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันเท่านั้น ส่วนความรับผิดที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอยู่ก่อน การบอกเลิกสัญญาหาได้ระงับไปด้วยไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 699
อ.ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยยอมให้โจทก์หักเงินเดือนชดใช้เป็นรายเดือนจนกว่าจะครบจำนวนและโจทก์ได้หักเงินเดือนของ อ.ชดใช้ตลอดมาจน อ.ถึงแก่ความตาย ความรับผิดของ อ.ที่มีต่อโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ผลของการบอกเลิกสัญญา, ความรับผิดหลังบอกเลิก, และอายุความของหนี้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับรองและค้ำประกันการเข้าทำงานของ อ.ต่อโจทก์ สัญญาว่าจะร่วมรับผิดกับ อ.ในกรณีที่อ. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในอนาคตในขณะที่ อ. ปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างของโจทก์จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2525 และได้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2528 อ. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2526 ระหว่างที่สัญญาค้ำประกันยังมีผลใช้บังคับ การที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันคงมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดในการกระทำของ อ. ที่ได้กระทำภายหลังมีการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699 เท่านั้น ส่วนความผิดที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอยู่ก่อนการบอกเลิกสัญญาหาได้ระงับไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
of 3