พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันและการบังคับคดีแก่กองมรดกของผู้ค้ำประกันเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีในส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับ โดยให้จำเลยหาประกันสำหรับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นร.ได้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า เมื่อคดีถึงที่สุดหากจำเลยแพ้คดีและไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ร.ยอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินของร.แปลงที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน ดังนี้ จึงเป็นการที่ ร.ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันหนี้ของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ร.จะพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยกลับเป็นฝ่ายชนะคดีหรือจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วเท่านั้น ระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด ร.ไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยที่โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยเพราะมิใช่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699และแม้ ร.จะถึงแก่กรรมไปก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตามแต่เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้น โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินอันเป็นกองมรดกของ ร.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาค้ำประกันหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: สิทธิโจทก์ในการยึดทรัพย์จากกองมรดก
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีในส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับ โดยให้จำเลยหาประกันสำหรับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ร. ได้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่าเมื่อคดีถึงที่สุด หากจำเลยแพ้คดีและไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ร.ยอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินของ ร. แปลงที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน ดังนี้ จึงเป็นการที่ ร.ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันหนี้ของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ร.จะพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยกลับเป็นฝ่ายชนะคดีหรือจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วเท่านั้น ระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด ร.ไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยที่โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยเพราะมิใช่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699 และแม้ ร.จะถึงแก่กรรมไปก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้น โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินอันเป็นกองมรดกของ ร.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาหนี้โดยโจทก์ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญา
ปัญหาว่า โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่ 1 ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่ 3 รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณี จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 และมาตรา 368 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผ่อนเวลาหนี้ต่อผู้ค้ำประกัน และขอบเขตความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม
ปัญหาว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่1ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่3หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่3รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา113และมาตรา368นั้นจำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน100,000บาทโดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน100,000บาทข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหมายถึงในจำนวนเงิน100,000บาทจะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินจำเลยที่3ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่3เมื่อใดจำเลยที่3จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันการทำงานเลิกสัญญาได้ ผู้จำนองชำระหนี้ได้ สัญญาจำนองระงับ
สัญญาจำนองคดีนี้เป็นการจำนองที่ดินเพื่อประกันการทำงานและหนี้สินของ อ. ในอนาคต ไม่มีกำหนดเวลา มีลักษณะเป็นการประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันอาจเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 699 และสัญญาจำนองรายการนี้ก็มิได้มีข้อตกลงว่า ผู้จำนองจะต้องผูกพันประกันหนี้ตามสัญญาตลอดไป ดังนั้น ถ้าผู้จำนองได้บอกกล่าวเลิกสัญญานั้นแก่เจ้าหนี้แล้ว ผู้จำนองย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ซึ่งมีอยู่เพื่อให้สัญญาจำนองระงับสิ้นไปได้ เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้จำนองขอชำระหนี้โดยแจ้งความประสงค์เลิกประกันหนี้รายนี้ต่อไป และได้มีการชำระหนี้ซึ่งมีอยู่ในขณะนั้นแล้ว สัญญาจำนองย่อมระงับสิ้นไป จำเลยต้องจดทะเบียนถอนจำนองให้โจทก์ ไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องนำเงินสดมาวางแทนการจำนอง และเมื่อสัญญาจำนองมิได้มีข้อตกลงว่าผู้จำนองจะต้องรับผิดเกี่ยวกับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน จึงไม่ผูกพันโจทก์ที่จะต้องรับผิดเกี่ยวกับเงินชดเชยดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและสัญญาค้ำประกัน: การปิดอากรแสตมป์และผลของการไม่ฟ้องลูกหนี้ตามสัญญา
โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องเพียงคดีเดียว กิจการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ เช่น การแต่งทนาย ถอนฟ้อง ยอมความ อุทธรณ์ฎีกา รวมตลอดถึงการรับเงินในคดี ล้วนเป็นแต่กิจการเฉพาะคดีนั้นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่ใบมอบอำนาจทั่วไป คงปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาท
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้น การค้ำประกันยังไม่ระงับ
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้น การค้ำประกันยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและหนังสือรับสภาพหนี้ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ การค้ำประกันไม่ระงับแม้เจ้าหนี้ไม่ฟ้องตามกำหนด
โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องเพียงคดีเดียว กิจการต่างๆ ที่ระบุไว้ เช่น การแต่งทนาย ถอนฟ้อง ยอมความ อุทธรณ์ฎีกา รวมตลอดถึงการรับเงินในคดี ล้วนแต่เป็นกิจการเฉพาะคดีนั้นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่ใบมอบอำนาจทั่วไป คงปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาท
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้นการค้ำประกันยังไม่ระงับ
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้นการค้ำประกันยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช่าซื้อ-ค้ำประกัน: ฟ้องภายใน 2 ปี (ค่าเช่า) และ 10 ปี (เอาคืนทรัพย์) ข้อตกลงค้ำประกันมีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง. แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง. หากผู้ให้เช่าซื้อเป็นพ่อค้า ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้. ภายในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6).
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น. เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี.
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกันไม่ว่าเวลาใดนั้น. จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่.
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น. เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี.
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกันไม่ว่าเวลาใดนั้น. จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช่าซื้อ-ค้ำประกัน: สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อภายใน 2 ปี, ค้ำประกันมีผลผูกพันจนชำระหนี้ครบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากผู้ให้เช่าซื้อเป็นพ่อค้า ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้ ภายในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6)
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกัน ไม่ว่าเวลาใดนั้น จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกัน ไม่ว่าเวลาใดนั้น จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช่าซื้อ-ค้ำประกัน: ค่าเช่าซื้อมีอายุความ 2 ปี, สิทธิเจ้าของทรัพย์ 10 ปี, สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากผู้ให้เช่าซื้อเป็นพ่อค้า ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้ภายในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6)
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกันไม่ว่าเวลาใดนั้น จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกันไม่ว่าเวลาใดนั้น จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่