คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 220

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์เปลี่ยนฐานความผิดจากลักทรัพย์เป็นยักยอก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานยักยอก ตามมาตรา 352 วรรคแรกจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอลงโทษจำเลยที่ 2 เนื่องจากศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเช็คและปลอมลายมือชื่อถือเป็นความผิดทางอาญา แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 แต่ฎีกาโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ต้องห้าม
การแก้ไขวันเดือนปีและปลอมลายมือชื่อโจทก์ลงกำกับการแก้ไขลงในเช็คเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266(4) ศาลชั้นต้นยกฟ้องจำเลยที่ 2 โดยอาศัยข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกฟ้องจำเลยที่ 2 โดยอาศัยข้อกฎหมาย คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาข้ามกำหนด: เหตุขยายเวลาต้องเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจกะเกณฑ์ได้
โจทก์ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 19 สิงหาคม 2534 โจทก์ไม่ทำฎีกาและคำร้องยื่นขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีอนุญาตให้ฎีกาจนเหลือเวลาอีกเพียง 2 วัน จะครบกำหนดยื่นฎีกา จึงมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 25 วัน นับแต่วันครบกำหนดอ้างว่าผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นย้ายไปรับราชการที่ศาลอื่น ทั้งที่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีอีกนายหนึ่งยังรับราชการอยู่ที่ศาลชั้นต้นนั้นแม้โจทก์ประสงค์จะให้ผู้พิพากษาที่ย้ายไปเป็นผู้อนุญาตให้ฎีกา ระยะเวลาหนึ่งเดือนก็เพียงพอที่จะดำเนินการได้ทันหากโจทก์รีบจัดการเสียแต่เมื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ข้ออ้างของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษไม่เป็นเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา มาตรา 188 และการฎีกาที่ไม่ชอบ
คดีสำหรับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาความเท็จมากล่าวอ้างกับโจทก์ว่า โจทก์เป็นหนี้ค่าโฆษณาสินค้าแก่บริษัท ม.โจทก์หลงเชื่อจึงได้ออกเช็คมอบให้จำเลยที่ 1 เพื่อนำไปชำระหนี้ให้บริษัท ม. แต่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยที่ 1 พอเข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์โจทก์หลงเชื่อจึงได้ออกเช็คชำระหนี้ให้แก่บริษัท ม. โดยมอบเช็คให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อนำไปมอบให้บริษัท ม. แต่จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยที่ 1 เสียเอง เป็นการบรรยายว่าจำเลยที่ 1 เอาไปเสียซึ่งเช็คของโจทก์ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับคำฟ้อง ถือเป็นคำสั่งยกฟ้อง ห้ามฎีกาตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วสั่งไม่รับคำฟ้อง ย่อมถือได้ว่าเป็นคำสั่งไม่ประทับฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 220 ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับฟ้องถือเป็นคำสั่งยกฟ้อง ห้ามฎีกาตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมิได้อยู่ในเขตอำนาจ สั่งไม่รับคำฟ้อง กรณีย่อมถือได้ว่าเป็นคำสั่งประทับฟ้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 161 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่แก้ไขใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับคำฟ้องถือเป็นการยกฟ้อง ห้ามฎีกาตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วสั่งไม่รับคำฟ้องย่อมถือได้ว่าเป็นคำสั่งไม่ประทับฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3533/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีฉ้อโกง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ประเด็นข้อเท็จจริง และการพิจารณาความผิดฐานอื่น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคหนึ่ง,83 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 82 เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 82 อันเป็นบทหนัก จำคุก 4 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่ง,83 จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ในข้อหาจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่นนี้ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่งมีการแก้ไขเฉพาะโทษ และเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคหนึ่ง,86 จำคุก 2 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 2 เข้ามอบตัวต่อสู้คดีเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษหนักเกินไป ควรกำหนดให้ใหม่ให้จำคุกจำเลยที่ 2 มี กำหนด 1 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 2 มอบตัวสู้คดีเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี ดังนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ส่วนข้อหาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่ง,86 นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ไขเฉพาะโทษ ให้จำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี เป็นเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 เป็นบิดาจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมหลอกลวงโจทก์ร่วมหรือพวกผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น นอกจากช่วยพูดจารับรองกับโจทก์ร่วมและพวกผู้เสียหายในวันสมัครงานว่าจำเลยที่ 1 สามารถส่งคนไปทำงานต่างประเทศได้จริงและพูดจารับรองว่าจะคืนเงินให้หากไม่ได้ไปหรือไปแล้วไม่ได้ทำงานเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 แล้ว ในสำนวนแรกและสำนวนที่สามโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน และฟ้องสำนวนที่สองว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพวกของจำเลยที่ 1 ได้จัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายบางส่วนในสำนวนที่สองซึ่งเป็นชุดเดียวกับสำนวนแรกและสำนวนที่สามไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนให้ไปรอเข้าประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ประเทศมาเลเซียก่อน แต่ในที่สุดคนสมัครงานทุกคนก็ถูกส่งกลับประเทศไทยโดยไม่ได้เข้าทำงานที่ประเทศไต้หวันตามที่จำเลยที่ 1 กับพวกหลอกลวงไว้แม้แต่คนเดียว การส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปประเทศสิงคโปร์หรือประเทศมาเลเซียนั้นจึงเป็นเพียงวิธีการหรืออุบายอย่างหนึ่งในการกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชนซึ่งเป็นชุดเดียวกันนั่นเอง โดยจำเลยที่ 1 กับพวกไม่ได้มีเจตนาที่จะจัดหางานหรือส่งคนสมัครงานไปทำงานในประเทศที่หลอกลวงไว้แต่อย่างใด และจากพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1กับพวกเคยส่งคนสมัครงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวันจริงการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 อีกบทหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารที่ไม่เป็นความจริงเป็นพยานหลักฐานในคดีอื่น และข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วว่าเอกสารนั้นไม่ปลอม
คดีของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เฉพาะความผิดข้อหาว่าร่วมกันปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน หนังสือรับรองให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดินและเช็ค กับความผิดข้อหาใช้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดิน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาอ้างว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปลอมเช็คตามฟ้องแล้วนำไปใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมโดยมิได้กล่าวอ้างว่าบุคคลอื่นเป็นผู้ปลอมแต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยมิได้ปลอมเช็คดังกล่าว และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ปลอมเช็คหรือไม่จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คตามฟ้องไม่ใช่เอกสารปลอม การที่จำเลยที่ 2 นำเอกสารดังกล่าวไปใช้อ้างเป็นพยานในการดำเนินคดี จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
of 50