พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารที่ไม่เป็นความจริงเป็นพยานหลักฐานในคดีอื่น และข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วว่าเอกสารนั้นไม่ปลอม
คดีของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เฉพาะความผิดข้อหาว่าร่วมกันปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน หนังสือรับรองให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดินและเช็ค กับความผิดข้อหาใช้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดิน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาอ้างว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปลอมเช็คตามฟ้องแล้วนำไปใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมโดยมิได้กล่าวอ้างว่าบุคคลอื่นเป็นผู้ปลอมแต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยมิได้ปลอมเช็คดังกล่าว และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ปลอมเช็คหรือไม่จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คตามฟ้องไม่ใช่เอกสารปลอม การที่จำเลยที่ 2 นำเอกสารดังกล่าวไปใช้อ้างเป็นพยานในการดำเนินคดี จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารที่ไม่ใช่เอกสารปลอม ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
คดีของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เฉพาะความผิดข้อหาว่าร่วมกันปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน หนังสือรับรองให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดินและเช็ค กับความผิดข้อหาใช้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดิน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
โจทก์ฎีกาอ้างว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปลอมเช็คตามฟ้องแล้วนำไปใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมโดยมิได้กล่าวอ้างว่าบุคคลอื่นเป็นผู้ปลอมแต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยมิได้ปลอมเช็คดังกล่าว และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ปลอมเช็คหรือไม่จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คตามฟ้องไม่ใช่เอกสารปลอม การที่จำเลยที่ 2 นำเอกสารดังกล่าวไปใช้อ้างเป็นพยานในการดำเนินคดี จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
โจทก์ฎีกาอ้างว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปลอมเช็คตามฟ้องแล้วนำไปใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมโดยมิได้กล่าวอ้างว่าบุคคลอื่นเป็นผู้ปลอมแต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยมิได้ปลอมเช็คดังกล่าว และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ปลอมเช็คหรือไม่จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คตามฟ้องไม่ใช่เอกสารปลอม การที่จำเลยที่ 2 นำเอกสารดังกล่าวไปใช้อ้างเป็นพยานในการดำเนินคดี จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสิทธิฎีกาหลังกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. ใช้บังคับ แม้คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การพิจารณาว่าโจทก์จะฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม แต่โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่16 พฤษภาคม 2534 หลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้บังคับแล้วโจทก์จึงฎีกาไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 กรณีศาลชั้นต้นรับฎีกาโดยมิชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีโจทก์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ จึงมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาถูกจำกัดเนื่องจากศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นในข้อหาที่ถูกยกฟ้องไปแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371ข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ข้อหาตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: จำเลยยิงผู้ตายเพื่อป้องกันภัยจากการถูกทำร้ายจากทั้งผู้ตายและบิดา
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมและฆ่าเด็กชายป.โดยเจตนา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำคุก 2 ปีริบของกลางคำขอนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องคืนของกลางแก่เจ้าของ ดังนี้ ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ในส่วนที่เด็กชาย ป. ถูกฆ่า โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาเด็กชายป. เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในฐานะผู้เข้าจัดการแทนเด็กชายป. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)ต่อมาโจทก์ร่วมตายลง ว.พี่ชายเด็กชายป.ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ร่วมหามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายตามมาตรา 29 ไม่เพราะโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้จัดการแทนเด็กชายป.ซึ่งเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฆ่าเด็กชายป. โจทก์ร่วมมีอาวุธเหล็กแหลมเดินเข้าไปหาจำเลย จำเลยเดินถอยหลังเมื่อโจทก์ร่วมเข้าไปหาห่างประมาณ 5-6 เมตร จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้า1 นัด และยิงลงที่พื้นอีก 1 นัด เด็กชายป. ผู้ตายถือไม้ขนาดเท่าแขนวิ่งเข้าไปจะตีจำเลย เหตุเกิดในเวลากลางคืน ภยันตรายที่ละเมิดต่อกฎหมายใกล้จะเกิดกับจำเลยทั้งสองด้าน ในขณะนั้นจำเลยตัวคนเดียวในเวลาที่คับขันไม่อาจคาดหมายได้ว่าภยันตรายจะเกิดขึ้นกับตนนั้นมีมากน้อยเพียงใด จำเลยใช้อาวุธปืนที่อยู่ในมือยิงไปทางเด็กชาย ป. ซึ่งเป็นผู้ที่จะทำให้เกิดภยันตรายต่อจำเลยที่ใกล้ชิดที่สุดก่อนเพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีโอกาสเลือกที่จะป้องกันโดยวิธีอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า บุกรุก และทำให้เสียทรัพย์: การพิจารณาอาการป่วยทางจิตและกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 ประกอบด้วยมาตรา 65 วรรคสองจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้อง ไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น บุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ จำคุกกระทงละไม่เกิน 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษายกฟ้องทั้งสามข้อหา ไม่ได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 จำเลยถืออาวุธปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายเปิดประตูบ้าน แล้วเข้าไปในบ้านกับผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้ยิงผู้เสียหายทันที แต่เพิ่งยิงผู้เสียหาย เมื่อจำเลยขอเข้าไปในห้องนอนผู้เสียหายแต่ผู้เสียหายไม่ยอมเข้าไปกับจำเลยตามที่จำเลยต้องการ ที่บุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายนั้น จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปยิงผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกและพยายามฆ่าสองกระทง จำเลยใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย กระสุนปืนไปถูกกระจกหน้าต่างและโต๊ะของผู้เสียหายได้รับความเสียหายด้วย เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าและทำให้เสียทรัพย์ แต่จำเลยมีเจตนายิงผู้เสียหายเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การใช้เครื่องจักรในที่ดินเพื่อผลิตแร่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็นตัวการในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืนตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำว่า อาคารสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักรเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 สั่งจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่อง มีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่เกลือหินขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์อันเป็นการแปรสภาพหรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้าขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5, 8, 12, 43 วรรคหนึ่ง, 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำว่า อาคารสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักรเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 สั่งจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่อง มีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่เกลือหินขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์อันเป็นการแปรสภาพหรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้าขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5, 8, 12, 43 วรรคหนึ่ง, 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ กว้างถึงสถานที่ติดตั้งเครื่องจักร แม้ไม่มีอาคารถาวร
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็น ตัวการ ในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืน ตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 คำว่า อาการสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักร เพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดย ไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9สั่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่องมีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่ เกลือ หิน ขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์ อันเป็นการแปรสภาพ หรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้า ขึ้น ไปถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อ ไม่ได้ รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5,8,12,43 วรรคหนึ่ง,44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220แม้จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายก็ต้องห้าม