คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 220

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานรับของโจร
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ความผิดฐานยักยอกและรับของโจรเกี่ยวเนื่องกันจึงรับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ ดังนี้คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้เท่านั้น มิใช่เป็นการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ความผิดฐานยักยอกไม่มีมูลนั้น มีผลเป็นการพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 167 อันเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีอย่างหนึ่ง การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ มาใช้บังคับด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องความผิดฐานยักยอกและรับของโจรต่างกรรมต่างวาระกัน เมื่อความผิดฐานยักยอกต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ในความผิดฐานยักยอกไว้ด้วยจึงไม่ชอบ สำหรับความผิดฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันรับรถของโจทก์ไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานยักยอก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้กระทำผิดฐานยักยอก การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ จึงเป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงการที่โจทก์ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์มีมูลความผิดฐานรับของโจรจึงเป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายนอกเหนือจากประเด็นอุทธรณ์ และการพิจารณาว่าคำเบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งนั้นเป็นความเท็จแต่มิได้เป็นข้อสำคัญในคดี พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยเบิกความเท็จมีความเห็นพ้อง ด้วยในผล พิพากษายืน ดังนี้กรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218เนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่อย่างใดและคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย กรณีจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 อีกเช่นกัน การพิจารณาคดีอาญาของศาลอุทธรณ์ไม่จำกัดอยู่เพียงในปัญหาที่คู่ความอุทธรณ์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะหยิบยกพยานหลักฐานข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายทั้งปวงที่ปรากฏในสำนวนขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งสิ้น เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยกระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้อง ก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีไปตามนั้นและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ซึ่งมาตรา 215ให้นำมาใช้บังคับ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพราะย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอย่างใด. (ความในวรรคแรกเป็นการวินิจฉัย มาตรา 220 ก่อนพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้บังคับ).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายนอกเหนือจากประเด็นอุทธรณ์ และการพิจารณาว่าคำเบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งนั้นเป็นความเท็จแต่มิได้เป็นข้อสำคัญในคดี พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยเบิกความเท็จมีความเห็นพ้อง ด้วยในผล พิพากษายืน ดังนี้กรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่อย่างใดและคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย กรณีจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 อีกเช่นกัน
การพิจารณาคดีอาญาของศาลอุทธรณ์ไม่จำกัดอยู่เพียงในปัญหาที่คู่ความอุทธรณ์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะหยิบยกพยานหลักฐานข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายทั้งปวงที่ปรากฏในสำนวนขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งสิ้น เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยกระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้อง ก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีไปตามนั้นและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ซึ่งมาตรา 215 ให้นำมาใช้บังคับ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพราะย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอย่างใด.
(ความในวรรคแรกเป็นการวินิจฉัย มาตรา 220 ก่อนพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้บังคับ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องความผิดพยายามฆ่าและอาวุธปืน ศาลจำกัดการฎีกาเฉพาะประเด็นที่พิพากษากลับกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 80 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้อง ดังนี้ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามมาตรา 289, 80 โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์จึงฎีกาข้อหาดังกล่าวในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ คงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะข้อหาความผิดตามมาตรา 288, 80 ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษากลับกันมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าและการโต้แย้งข้อเท็จจริงในชั้นฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289,80 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,80 โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องดังนี้ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามมาตรา 289,80 โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์จึงฎีกาข้อหาดังกล่าวในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ คงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะข้อหาความผิดตามมาตรา 288,80 ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษากลับกันมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดทางอาญา: ความขัดแย้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 28980ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 28880 โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องดังนี้ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตาม มาตรา 28980 โดย อาศัยข้อเท็จจริงโจทก์จึงฎีกาข้อหาดังกล่าวในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ คงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เฉพาะ ข้อหาความผิดตาม มาตรา 28880 ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษากลับกันมา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาจำกัดเฉพาะผู้ใช้สิทธิอุทธรณ์ การไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ทำให้หมดสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เฉพาะแต่โจทก์เท่านั้นที่อุทธรณ์ ส่วนโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ด้วย จึงเป็นกรณีที่โจทก์ร่วมไม่มีข้อที่จะคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ฎีกาจำกัดเฉพาะผู้ที่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์จึงหมดสิทธิ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เฉพาะแต่โจทก์เท่านั้นที่อุทธรณ์ส่วนโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ด้วย จึงเป็นกรณีที่โจทก์ร่วมไม่มีข้อที่จะคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ฎีกาของโจทก์ที่โต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดตามข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์ตามศาลชั้นต้นโดยอาศัยข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ฎีกาของโจทก์ที่โต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดตามข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์ตามศาลชั้นต้นโดยอาศัยข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 50