พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการผัดฟ้องต่ออัยการสูงสุดในคดีเยาวชน ส่งผลให้ศาลไม่รับฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่มีการผัดฟ้องต่อหรือขออนุญาตจากอัยการสูงสุด คดีโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 53 จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับฟ้องคดีเยาวชนและครอบครัวเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการผัดฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่มีการผัดฟ้องต่อหรือขออนุญาตจากอัยการสูงสุดคดีโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 53 จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้น/อุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
คดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ไม่ว่าฎีกาของโจทก์จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายก็ย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวทั้งสิ้น
บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224ตอนแรกระบุให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาต่อศาลฎีกา แต่ข้อความถัดไปก็ระบุให้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นและมีบทบังคับชัดเจนว่าให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลฎีกาดังนั้น แม้คำขอท้ายคำร้องอุทธรณ์คำสั่งจะระบุขอให้ส่งไปยังศาลอุทธรณ์ด้วยเหตุผิดหลงใด ๆ ก็ตาม ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะส่งคำร้องไปให้ศาลฎีกาพิจารณาจึงจะเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 224
บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224ตอนแรกระบุให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาต่อศาลฎีกา แต่ข้อความถัดไปก็ระบุให้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นและมีบทบังคับชัดเจนว่าให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลฎีกาดังนั้น แม้คำขอท้ายคำร้องอุทธรณ์คำสั่งจะระบุขอให้ส่งไปยังศาลอุทธรณ์ด้วยเหตุผิดหลงใด ๆ ก็ตาม ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะส่งคำร้องไปให้ศาลฎีกาพิจารณาจึงจะเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีด ศาลพิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288, 80, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 295, 83 ผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้อง กระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้าย ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้อง กระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้าย ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงต่อเนื่องที่อวัยวะสำคัญ และการพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,83 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295,83 ผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้องกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้ายขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้องกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้ายขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โจทก์ฎีกาซ้ำข้อหาเดิมที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขอให้ลงโทษจำเลยในฐานร่วมเป็นคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย และยิงผู้เสียหาย แต่กระสุนปืนไม่ถูก อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80,83, 91,288 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหาดังกล่าวอีกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: ปัญหาความเคลือบคลุมและการจำกัดสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 8 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาว่าฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายแต่อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยส่วนที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกต่อไป
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบตาม ม.158(5) - จำเป็นต้องวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายก่อนพิจารณาข้อเท็จจริง - การรับรองฎีกาโดยอัยการสูงสุด
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 8 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ที่โจทก์ฎีกาว่าฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายแต่อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกต่อไป
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยมาตรา 247 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยมาตรา 247 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่ ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26,27,28 และ 272 หรือไม่นั้นศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้อง ของ ศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ข้อหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 26,27,28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก