พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีเช็คหมดอายุเมื่อมีการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งแล้ว คดีอาญาจึงระงับ
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลแพ่งและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีนี้มีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามา ฟ้องย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคำพิพากษาเดิมในข้อหาขับรถภายใต้ฤทธิ์ยาเสพติด โดยศาลฎีกายก เนื่องจากข้อหาดังกล่าวศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 57,91 จำคุก 1 ปี จำเลยให้การ รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน ข้อหาและคำขออื่น นอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนถือได้ว่าความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหา ข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ดังนี้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้สั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ควบคู่กับคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติดและจราจร
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 จำคุก 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนถือได้ว่าความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ดังนี้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้สั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดอำนาจฎีกาซ้ำในคดีเดิม: คดีจำเลยรับสารภาพผิด พ.ร.บ.ยาเสพติด แต่พ้นข้อหาขับรถภายใต้ยาเสพติด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43ทวิ, 157 ทวิ ป.อ.มาตรา 91 และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 57, 91 จำคุก 1 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือนการที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนในขณะขับรถยนต์นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2539เป็นต้นไป อันเป็นวันที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539)มีผลบังคับ จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา43 ทวิ ไม่อาจนำมาตรา 157 ทวิ มาบังคับใช้กับกรณีนี้ได้อีก คำขอนอกจากนี้ให้ยกศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิวรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยและให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยในความผิดข้อหาดังกล่าวอีกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ก็ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อหาจราจร เนื่องจากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้องแล้ว การฎีกาซ้ำจึงขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่งและให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย ซึ่งความผิดข้อหาดังกล่าว ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหาดังกล่าวอีกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คเลิกกันตามกฎหมาย เนื่องจากมีการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดียวกัน
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับ ไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเลิกกันเนื่องจากประนีประนอมยอมความก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 7 สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วม จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ระงับตามยอม ศาลไม่รับฎีกา คดีเช็คพิพาทที่มูลหนี้เดียวกันกับคดีแพ่งที่ประนีประนอมยอมความแล้ว
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้เป็นมูลหนี้เดียวกันกับสัญญากู้ยืมเงินซึ่งโจทก์นำไปฟ้องต่อศาลแพ่งให้จำเลยชำระเงิน แก่โจทก์ คดีดังกล่าวโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้น เห็นว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น เป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำหน่ายคดีออกเสียจาก สารบบความผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเนื่องจากมีการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ทำให้มูลหนี้สิ้นผลผูกพัน และศาลไม่รับฎีกา
คดีแดงที่ 5863-5864/2541
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันสิ้นผลผูกพัน คดีจึงเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ร่วมไว้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันสิ้นผลผูกพัน คดีจึงเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ร่วมไว้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้