คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหุ้นเป็นประกันการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขัดต่อกฎหมายธนาคารพาณิชย์และข้อบังคับธนาคาร
พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์รับหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นประกันการให้สินเชื่อ หรือรับหุ้นของธนาคารพาณิชย์จากธนาคารพาณิชย์อื่นเป็นประกันการให้สินเชื่อ การที่จำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ ให้ ร.กู้เบิกเงินเกินบัญชี ถือเป็นการให้สินเชื่อตามมาตรา 4 แม้จำเลยจะใช้สิทธิยึดหุ้นของจำเลยจาก ร. ผู้ถือหุ้นไว้เป็นประกันหนี้สินตามข้อบังคับของจำเลยเมื่อ ร. ตกลงจำนำหุ้นไว้กับโจทก์แล้ว อันเป็นการยึดภายหลังจากการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือการให้สินเชื่อแก่ ร. ก็มีผลเท่ากับจำเลยรับหุ้นของตนเองเป็นประกันการชำระหนี้ จึงเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้อบังคับของจำเลยในส่วนที่ให้จำเลยมีสิทธิยึดหุ้นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นหนี้จำเลยไว้เป็นประกันต่างหนี้สินได้ก่อนบุคคลอื่นจึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหุ้นเป็นประกันการให้สินเชื่อโดยธนาคารพาณิชย์ขัดต่อกฎหมาย และข้อบังคับที่ให้สิทธิยึดหุ้นก่อนบุคคลอื่นเป็นโมฆะ
พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์รับหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นประกันการให้สินเชื่อ หรือรับหุ้นของธนาคารพาณิชย์จากธนาคารพาณิชย์อื่นเป็นประกันการให้สินเชื่อ การที่จำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ ให้ ร. กู้เบิกเงินเกินบัญชี ถือเป็นการให้สินเชื่อตามมาตรา 4 แม้จำเลยจะใช้สิทธิยึดหุ้นของจำเลยจาก ร. ผู้ถือหุ้นไว้เป็นประกันหนี้สินตามข้อบังคับของจำเลยเมื่อ ร. ตกลงจำนำหุ้นไว้กับโจทก์แล้ว อันเป็นการยึดภายหลังจากการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือการให้สินเชื่อแก่ ร. ก็มีผลเท่ากับจำเลยรับหุ้นของตนเองเป็นประกันการชำระหนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้อบังคับของจำเลยในส่วนที่ให้จำเลยมีสิทธิยึดหุ้นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นหนี้จำเลยไว้เป็นประกันต่างหนี้สินได้ก่อนบุคคลอื่นจึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่ผู้จัดการทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 การหักบัญชีผิดไม่ใช่ความผิดฐานยักยอก
จำเลยเป็นธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และมีสิทธิ ใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทางได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 4 ดังนั้นความสัมพันธ์ ระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากเงิน กับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับฝากเงินจึงเป็นไป ตามพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ โดยจำเลยมีฐานะเป็นเพียง ผู้รับฝากเงิน ของโจทก์อย่างธนาคารพาณิชย์เท่านั้น จำเลยหาได้รับ มอบหมาย ให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ตามความหมายที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 353 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินเพื่อลงทุนโดยผิดกฎหมายธนาคารพาณิชย์ สัญญาไม่เป็นโมฆะหากผู้ฝากไม่รู้เห็น
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย. และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก. หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย.
การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย. ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น.ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย. โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย. จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่.
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาต. แต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้.ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย. ดังนี้นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ. ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้.
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ใช้บังคับ. และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์. แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว. ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากเงินกับผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต สิทธิการเรียกร้องเงินฝากของผู้ฝากที่ไม่ร่วมรู้
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
การใดอันมีวัตถุที่ประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาต แต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้ นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลกระทบต่อสิทธิผู้ฝาก เงินฝากไม่เป็นโมฆะหากผู้ฝากไม่รู้
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้นถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาตแต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนในสัญญากู้: ความสมบูรณ์ตามประเพณีการค้าธนาคาร
ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจในการให้กู้ยืมเงินและมีประเพณีการค้าในการให้กู้เงินด้วยการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนเป็นปกติเสมอมา ทำสัญญาให้กู้ยืมเงินโดยตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อผิดนัดเป็นรายเดือน ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 254 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนในสัญญากู้ ธนาคารพาณิชย์ทำตามประเพณีการค้าได้ ไม่เป็นโมฆะ
ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจในการให้กู้เงินด้วยการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนเป็นปกติเสมอมา ทำสัญญาให้กู้ยืมเงินโดยตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อผิดนัดเป็นรายเดือนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง
of 2