คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 655 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้บัตรเครดิต: การคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหากไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด
แม้ข้อตกลงในการใช้บัตรหลักและบัตรเสริมจะให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้โดยหักจากบัญชีออมทรัพย์และบัญชีกระแสรายวันที่เปิดไว้เพื่อการนี้ การที่จำเลยขอใช้บัตรเครดิตของธนาคารโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ แทนเงินสดเป็นสำคัญโดยให้โจทก์ออกเงินชำระแทนไปก่อน บัญชีที่เปิดไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หักเงินไปชำระหนี้หาใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างกันอย่างบัญชีเดินสะพัดไม่ เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ด้วย รวมทั้งไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็คแม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตจะมีข้อความตกลงให้บัญชีดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดก็เป็นเพียงความเข้าใจและเป็นไปตามรูปแบบของสัญญาสำเร็จรูปของโจทก์ ไม่เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น เมื่อคำให้การเดิมจำเลยมิได้ยืนยันให้การต่อสู้คดีในเรื่องมีการฉ้อฉลทำรายการเพิ่มเติมในใบแจ้งหนี้ของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่ามีการฉ้อฉลทำรายการเพิ่มเติมในใบแจ้งหนี้ของโจทก์โดยไม่สุจริต จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยไม่ได้ยกเหตุว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมไว้ต่อศาลว่าคดีขาดอายุความ ก็ไม่ทำให้เกิดประเด็นขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่มีรายการเดินสะพัด และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญากับระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่ออีกคราวละ 6 เดือนตลอดไป หลังจากครบกำหนดสัญญา 12 เดือนแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่า หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วได้มีรายการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ได้ถอนเงินฝากประจำจากบัญชีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาหักทอนบัญชี เพื่อชำระหนี้ แต่ก็ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์ดังกล่าวต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างตกลงกันให้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันครบกำหนด ตามสัญญา แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่าเมื่อถึงกำหนด 12 เดือนและไม่มีการต่ออายุการเบิก เงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณี ที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิก เงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์ บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9933/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งหักทอนบัญชีกัน ณ วันที่ 29 มกราคม 2531 เป็นเงิน 505,379.05 บาท ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยหนังสือของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย แสดงว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่คงเหลือแล้ว จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 859 ดังนั้นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามกฎหมายแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมสิ้นสุดลงทันที หากจะมีการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปอีก ก็จะต้องมีการทำสัญญากันใหม่ และในทางปฏิบัติของธนาคารโจทก์หลังจากที่มีการบอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากลูกค้าต้องการเดินบัญชีต่อก็ต้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีใหม่ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่ การกระทำของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้และยังสั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชี พร้อมทั้งนำเงินฝากเข้าบัญชีลดยอดหนี้หลายครั้งนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1ได้รับหนังสือของโจทก์
ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท นั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่า จำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในการเบิกเงินเกินบัญชีไม่เกินจำนวน 300,000 บาท เท่านั้นหาใช่จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนไม่เพราะมิฉะนั้นแล้วในสัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้โดยชัดเจนให้จำเลยที่ 2รับผิดโดยไม่จำกัดวงเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9933/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งหักทอนบัญชีกัน ณ วันที่ 29 มกราคม 2531เป็นเงิน 505,379.05 บาท ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยหนังสือของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย แสดงว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ที่คงเหลือแล้ว จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 ดังนั้นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามกฎหมายแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมสิ้นสุดลงทันที หากจะมีการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปอีก ก็จะต้องมีการทำสัญญากันใหม่และในทางปฎิบัติของธนาคารโจทก์หลังจากที่มีการบอกเลิกสัญญาเงินเกินบัญชีแล้ว หากลูกค้าต้องการเดินบัญชีต่อก็ต้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีใหม่ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่ การกระทำของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้และยังสั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชี พร้อมทั้งนำเงินฝากเข้าบัญชีลดยอดหนี้หลายครั้งนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด 15 วันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือของโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน 300,000บาท นั้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่า จำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ในการเบิกเงินเกินบัญชีไม่เกินจำนวน 300,000 บาท เท่านั้นหาใช่จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนไม่เพราะมิฉะนั้นแล้วในสัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้โดยชัดเจนให้จำเลยที่ 2 รับผิดโดยไม่จำกัดวงเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9933/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งหักทอนบัญชีกันณวันที่29มกราคม2531เป็นเงิน505,379.05บาทให้เสร็จสิ้นภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือโดยหนังสือของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วยแสดงว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้ที่คงเหลือแล้วจึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1อีกต่อไปถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา859ดังนั้นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงสิ้นสุดลงเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามกฎหมายแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมสิ้นสุดลงทันทีหากจะมีการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปอีกก็จะต้องมีการทำสัญญากันใหม่และในทางปฎิบัติของธนาคารโจทก์หลังจากที่มีการบอกเลิกสัญญาเงินเกินบัญชีแล้วหากลูกค้าต้องการเดินบัญชีต่อก็ต้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีใหม่เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ไม่ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่การกระทำของโจทก์และจำเลยที่1ที่ว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้จำเลยที่1ยังไม่ชำระหนี้และยังสั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีพร้อมทั้งนำเงินฝากเข้าบัญชีลดยอดหนี้หลายครั้งนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด15วันนับแต่วันที่จำเลยที่1ได้รับหนังสือของโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน300,000บาทนั้นจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงดังนี้ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่าจำเลยที่2ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ในการเบิกเงินเกินบัญชีไม่เกินจำนวน300,000บาทเท่านั้นหาใช่จำเลยที่2ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนไม่เพราะมิฉะนั้นแล้วในสัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้โดยชัดเจนให้จำเลยที่2รับผิดโดยไม่จำกัดวงเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี การต่ออายุโดยปริยาย และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 524,396.24 บาท แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่าได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนด12 เดือน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญาหากไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐาน ให้ถือว่าได้มีการตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ดังนั้นเมื่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด12 เดือนแล้ว โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ตกลงต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกก็ตาม ทั้งไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จึงถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวมีการต่ออายุสัญญาไปอีก 6 เดือน ตามที่ได้ตกลงกันไว้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นระหว่างระยะเวลา 6 เดือนต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่ออายุอัตโนมัติหากไม่มีการบอกเลิก & สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่1มิได้ให้การว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน524,396.24บาทแก่โจทก์ส่วนจำเลยที่2ขาดนัดยื่นคำให้การดังนั้นจำเลยที่2ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่าได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์และจำเลยที่1ตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนด12เดือนโดยมีข้อตกลงว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญาหากไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานให้ถือว่าได้มีการตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ6เดือนดังนั้นเมื่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด12เดือนแล้วโดยโจทก์และจำเลยที่1มิได้ตกลงต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกก็ตามทั้งไม่ปรากฎว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่งจึงถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวมีการต่ออายุสัญญาไปอีก6เดือนตามที่ได้ตกลงกันไว้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นระหว่างระยะเวลา6เดือนต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก
ตามรายการในบัญชีเดินสะพัดในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่19สิงหาคม2528ลูกหนี้เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน2,812,773.64บาทซึ่งเป็นจำนวนที่เกินวงเงินที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้และนับแต่นั้นมาลูกหนี้ก็ไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีและเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีได้อีกโดยมีแต่รายการนำเช็คของลูกหนี้ซึ่งสั่งจ่ายเบิกเงินจากบัญชีมาเรียกเก็บเงินแต่เจ้าหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คแต่ละรายการนั้นเลยซึ่งนับเป็นร้อยๆรายการอันเป็นข้อแสดงว่าเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีบัญชีเดินสะพัดอีกต่อไปนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้นส่วนที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากตามที่ฎีกามานั้นนับแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดเจ้าหนี้ก็ไม่ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินตามเช็คตลอดมาที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินในเดือนตุลาคม2528จำนวน1ครั้งเป็นเงิน4,664บาทในเดือนเมษายนและเดือนพฤศจิกายน2529รวม2ครั้งเป็นเงิน30,000บาทและ3,162บาทตามลำดับแต่ละรายการจำนวนเงินเล็กน้อยและได้ทิ้งช่วงระยะเวลาห่างกันจนผิดปกติเป็นพิรุธและรายการถอนเงินในวันที่16กรกฎาคม2530จำนวน20,000บาทก็ปรากฏมีรายการแก้ไขในช่องรายการฝากเงินในวันเดียวกันและจำนวนเงินเดียวกันซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาดไม่ใช่การถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใดและที่เจ้าหนี้จ่ายเบี้ยประกันภัยของลูกหนี้เมื่อวันที่12มิถุนายน2530จำนวน1,375บาทหรือรายการฝากเช็คธนาคาร2ฉบับฉบับละ500,000บาทในวันที่23กุมภาพันธ์2531แต่ในวันรุ่งขึ้นกลับปรากฏในช่องรายการถอนโดยใช้อักษรภาษาอังกฤษ"LOAN" จำนวน1,000,000บาทโดยไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามรายการเดินสะพัดอย่างไรหรือไม่ส่อแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการปรับปรุงรายการบัญชีเดินสะพัดเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ายังมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยู่เพื่อจะอ้างเป็นเหตุให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เท่านั้นนับว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากลูกหนี้โดยไม่ชอบตามพฤติการณ์ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้ได้อย่างชัดแจ้งว่าหลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้วเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีแก่ลูกหนี้อีกต่อไปถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้สิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดสัญญาคือวันที่19สิงหาคม2528หลังจากนั้นเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี – ดอกเบี้ยทบต้น – เจตนาเจ้าหนี้ – การเดินสะพัดทางบัญชี
ตามรายการในบัญชีเดินสะพัด ในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่ 19 สิงหาคม 2528 ลูกหนี้เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน2,812,773.64 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่เกินวงเงินที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ และนับแต่นั้นมา ลูกหนี้ก็ไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีและเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีได้อีก โดยมีแต่รายการนำเช็คของลูกหนี้ซึ่งสั่งจ่ายเบิกเงินจากบัญชีมาเรียกเก็บเงิน แต่เจ้าหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คแต่ละรายการนั้นเลย ซึ่งนับเป็นร้อย ๆ รายการ อันเป็นข้อแสดงว่าเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีบัญชีเดินสะพัดอีกต่อไปนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้น ส่วนที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากตามที่ฎีกามานั้นนับตั้งแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด เจ้าหนี้ก็ไม่ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินตามเช็คตลอดมา ที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินในเดือนตุลาคม 2528 จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน4,664 บาท ในเดือนเมษายนและเดือนพฤศจิกายน 2529 รวม 2 ครั้งเป็นเงิน 30,000 บาท และ 3,162 บาท ตามลำดับแต่ละรายการจำนวนเงินเล็กน้อย และได้ทิ้งช่วงระยะเวลาห่างกันจนผิดปกติเป็นพิรุธ และรายการถอนเงินในวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 จำนวน 20,000 บาท ก็ปรากฏมีรายการแก้ไขในช่องรายการฝากเงินในวันเดียวกันและจำนวนเงินเดียวกัน ซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาดไม่ใช่การถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใด และที่เจ้าหนี้จ่ายเบี้ยประกันภัยของลูกหนี้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2530 จำนวน 1,375 บาทหรือรายการฝากเช็คธนาคาร 2 ฉบับ ฉบับละ 500,000 บาท ในวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2531 แต่ในวันรุ่งขึ้นกลับปรากฏในช่องรายการถอนโดยใช้อักษร-ภาษาอังกฤษ "LOAN" จำนวน 1,000,000 บาท โดยไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามรายการเดินสะพัดอย่างไร หรือไม่ ส่อแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการปรับปรุงรายการบัญชีเดินสะพัดเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ายังมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยู่เพื่อจะอ้างเป็นเหตุให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เท่านั้น นับว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากลูกหนี้โดยไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้ได้อย่างชัดแจ้งว่าหลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว เจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีแก่ลูกหนี้อีกต่อไป ถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ สิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดสัญญา คือวันที่ 19 สิงหาคม 2528 หลังจากนั้นเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงที่แตกต่างกันตามประเภทการทำรายการ
ตามข้อตกลงการฝากเงินบัญชีกระแสรายวันของธนาคารโจทก์ข้อ 10 ระบุว่า ในกรณีธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนด้วยเหตุใดก็ตาม ทั้งที่เงินฝากคงเหลือในบัญชีของข้าพเจ้ามีไม่พอจ่ายตามเช็คที่มาขอขึ้นเงิน ซึ่งตามปกติธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเสียก็ได้นั้น ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้ธนาคารโดยถือเสมือนหนึ่งว่า ข้าพเจ้าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินส่วนที่เกินบัญชีให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ฯลฯ และข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ข้าพเจ้านำเช็คฝากเข้าบัญชีและในวันนำฝากนั้นธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินส่วนหนึ่งหรือเต็มมูลค่าเช็คที่นำฝากนั้นให้ไปก่อนโดยที่ธนาคารยังไม่ทราบผลการเรียกเก็บเงิน และเช็คดังกล่าวถูกคืนมาโดยมิใช่เนื่องจากความบกพร่องของธนาคารเอง ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้ธนาคารโดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินส่วนที่เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคารในอัตราสูงสุดเท่าที่กฎหมายจะอนุญาต นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ฯลฯ ซึ่งข้อความในข้อ 11 นั้นหมายถึงจำเลยนำเช็คมาฝากเข้าบัญชีและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่มาขอเบิกให้จำเลยไปก่อน แต่แล้วโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ ไม่ใช่กรณีโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินให้จำเลยไปโดยไม่มีการนำเช็คฝากเข้าบัญชี ซึ่งต้องบังคับกันตามข้อตกลงข้อ 10 เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยนำเช็คมาฝากเข้าบัญชีโดยโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่มาขอเบิกให้จำเลยไปก่อน แต่แล้วโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี
of 3