คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 655 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, การคิดดอกเบี้ย, และการผิดนัดชำระหนี้จากการเบิกเกินบัญชีและเงินกู้
แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีการโอนบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยจากสาขาใดไปสาขาใดเพราะเหตุใด และใครเป็นผู้สั่งให้โอนแต่จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เหตุใดจึงมีการโอนบัญชีและใครเป็นผู้สั่งโอนจึงเป็นการกล่าวลอย ๆ มิได้แสดงให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุม ดังนี้ ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการยอมรับว่าได้มีการโอนบัญชี ส่วนจะโอนเพราะเหตุใดและใครเป็นผู้สั่งให้โอนนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา นอกจากนี้ไม่ว่าจำเลยจะเป็นหนี้โจทก์สาขาใดโจทก์ก็ฟ้องจำเลยได้อยู่แล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์จำเลยได้ตกลงเพิ่มวงเงินเบิกเกินบัญชีและต่ออายุสัญญากันอีกหลายครั้ง สัญญาครบกำหนดวันที่ 1 สิงหาคม 2529 ซึ่งในวันดังกล่าวปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์เกินวงเงินที่อาจเบิกได้ไปแล้วหลังจากนั้นในวันที่22 สิงหาคม 2529 และวันที่ 26 กันยายน 2529 จำเลยยังได้เบิกเงินเกินบัญชีไปอีก 2 ครั้ง แต่จำเลยมิได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนอีกเลย ดังนี้เมื่อสัญญาครบกำหนดจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้นตามสัญญา โจทก์ยังคงยอมให้จำเลยเป็นหนี้อยู่ต่อไป และยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีไปอีก 2 ครั้ง แสดงว่าคู่สัญญายังคงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา และไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ลงวันที่16 มีนาคม 2530 กำหนดให้ชำระภายใน 30 วัน จำเลยได้รับหนังสือในวันที่ 19 มีนาคม 2530 แล้วไม่ชำระภายในกำหนด จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2530 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในยอดเงินซึ่งค้างชำระเมื่อวันที่ 26 กันยายน2529 จนถึงวันผิดนัดและดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยปริยายจากการหยุดคิดดอกเบี้ยทบต้น และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดระยะเวลา คู่สัญญาจึงบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 การบอกเลิกสัญญาอาจกระทำโดยแสดงเจตนาแจ้งชัดหรือมีพฤติการณ์อันถือได้ว่ามีเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายก็ได้ บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยเดินกันมาถึงเดือนกรกฎาคม2527 หลังจากนั้นในเดือนสิงหาคมและกันยายน 2527 มีแต่รายการเดบิทบัญชีตามใบแจ้งและรายการค่าดอกเบี้ยอย่างละ 1 รายการในแต่ละเดือน นอกจากนี้โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2527 จนถึงวันที่ 24 กันยายน 2527 การที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาและโจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นซึ่งการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นประเพณีในทางการค้าของธนาคารและเป็นข้อสาระสำคัญข้อหนึ่งในการที่โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีโดยสัญญาบัญชีเดินสะพัด พฤติการณ์จึงถือได้ว่าโจทก์เจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นคือวันที่ 12 กันยายน 2527 แม้โจทก์จะเริ่มคิดดอกเบี้ยทบต้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2527 เป็นต้นมาก็ไม่ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดกลับมีผลบังคับต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นนับแต่วันเลิกสัญญาแล้วได้อีกคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอย่างไม่ทบต้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามวงเงินกู้ที่ระบุในสัญญา แม้เจ้าหนี้ยินยอมให้กู้เกินวงเงิน
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกแม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้รายนี้เสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท หรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาทเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 ประกอบด้วยมาตรา 744(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยปริยาย แม้มีข้อตกลงต่ออายุอัตโนมัติ หากไม่มีการใช้งานจริง
แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบกำหนด12 เดือนแล้วไม่มีการต่ออายุสัญญากันใหม่ให้ถือว่าต่อสัญญากันอีกคราวละ 6 เดือนก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนด 12 เดือนแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีหรือโจทก์ยินยอมให้เบิกได้ คงมีแต่รายการโจทก์นำยอดดอกเบี้ยเข้าทบต้นเดือนละครั้ง จำเลยไม่ได้เบิกเงินหรือนำเงินเข้าฝากในบัญชีเลย จึงถือได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยปริยายตั้งแต่วันครบกำหนดตามสัญญาและโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ถึงวันดังกล่าวแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเบิก/นำเงินเข้า และดอกเบี้ยทบต้นมีข้อจำกัดตามสัญญาและอายุความ
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีกำหนดระยะเวลา ไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชี จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้ฝากเงินต้องนำเงินเข้าบัญชีและมีการหักทอนกันเป็นระยะเวลาอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดนับแต่ถึงกำหนดในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ ทั้งเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็ไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง
ข้อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน มิฉะนั้นยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้กลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสัญญานั้นยังไม่ถึงหนึ่งเดือนตามสัญญา เจ้าหนี้จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ ปัญหานี้แม้เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์มิได้ฎีกา แต่เป็นดอกเบี้ยที่จำเลยไม่ต้องรับผิด และกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คดีนี้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดี ดอกเบี้ยค้างส่งจึงนับแต่วันก่อนฟ้องย้อนหลังไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพียง 5 ปี ดอกเบี้ยก่อนนั้นเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องไปจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพราะมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่ง แต่เมื่อเจ้าหนี้ไม่ฎีกา จึงให้ได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดเพียง5 ปี ตามศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด/ไม่ต่ออายุ สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจำกัด
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีกำหนดระยะเวลาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชี จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้ฝากเงินต้องนำเงินเข้าบัญชีและมีการหักทอนกันเป็นระยะเวลาอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดนับแต่ถึงกำหนดในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ ทั้งเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็ไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง ข้อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน มิฉะนั้นยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้กลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสัญญานั้นยังไม่ถึงหนึ่งเดือนตามสัญญา เจ้าหนี้จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ ปัญหานี้แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ฎีกาแต่เป็นดอกเบี้ยที่จำเลยไม่ต้องรับผิด และกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 คดีนี้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดี ดอกเบี้ยค้างส่งจึงนับแต่วันก่อนฟ้องย้อนหลังไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพียง 5 ปีดอกเบี้ยก่อนนั้นเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องไปจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพราะมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่ง แต่เมื่อเจ้าหนี้ไม่ฎีกา จึงให้ได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดเพียง 5 ปี ตามศาลอุทธรณ์วินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและการคิดดอกเบี้ยในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึกต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน 30,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาทเท่านั้น แม้สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิเช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ และที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว คงมีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท ด้วยเท่านั้น หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในวงเงินที่ค้ำประกันจำนวน30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาทโดยไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกันอีกต่อไป ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 856โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อไปอีกนับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึกต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน30,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้น ก็มีความหมายว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิ เช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยง ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้ มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับลูกหนี้ และที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคงมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่านับแต่วันถัด จากวันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลยและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท โดยไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกันอีกถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 อีกนับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระเสร็จแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดจำเลยที่ 3-4 ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึก ต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงิน เกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน 30,000 บาทแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงิน ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท เท่านั้น แม้สัญญาค้ำประกัน มีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิเช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ และ ที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชี จะ ต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิด ร่วม กับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ ลูกหนี้ ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงิน เกิน บัญชีแล้ว คงมีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใน ดอกเบี้ย ที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท ด้วยเท่านั้น หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดย ไม่จำกัดจำนวนไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ในวงเงินที่ค้ำประกันจำนวน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด ตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลยและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี ต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตาม ยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท โดย ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่าง โจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนี้ พฤติการณ์ แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี กันอีกต่อไปถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึก เพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อไปอีก นับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคง มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดย ไม่ทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุด สัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่ใช่สัญญากู้ยืม แต่เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาชนิดหนึ่งที่กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ฉะนั้น แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้หรือผู้ให้กู้ก็บังคับกันได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยผู้กู้ตกลงที่จะชำระหนี้เป็นการหักทอนกันทางบัญชีกับโจทก์ผู้ให้กู้ และโจทก์ยอมให้จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาและแม้ภายหลังวันครบอายุสัญญาก็ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชี และมีการตัดทอนบัญชีหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยหักกลบลบกันเรื่อยมาตามบัญชีกระแสรายวันซึ่งเป็นการปฏิบัติต่อกันตามประเพณีของธนาคารอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีหลังจากสัญญาสิ้นสุด ก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาและโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาต่อกัน.
of 3