พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7789/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วไม่สามารถเข้าร่วมเป็นโจทก์ใหม่ได้
คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ร่วม ระบุว่าขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงกันได้แล้ว ไม่ได้ระบุว่าขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์คดีนี้ เมื่อเป็นการขอถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้อีกไม่ได้เพราะการเข้าร่วมเป็นโจทก์ถือว่าเป็นการฟ้องคดีใหม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงาน-อัยการผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้ และที่พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วยนั้น จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ไม่ได้แล้วโจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นโจทก์ของคดีนี้ และไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตกทอดแก่ทายาท ทำให้คดีระงับ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 126 วรรค 1 บัญญัติให้ไว้แก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ และสิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องทุกข์ในคดีดังกล่าวตาย มารดาผู้ร้องทุกข์ซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์นั้นได้ แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 206/2488)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358ซึ่งมาตรา 361 บัญญัติว่าเป็นความผิดอันยอมความได้เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) คำพิพากษาของศาลล่างก็ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358ซึ่งมาตรา 361 บัญญัติว่าเป็นความผิดอันยอมความได้เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) คำพิพากษาของศาลล่างก็ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องในคดีอาญา ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ผู้ตายมอบสิทธิให้ทายาทได้ ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 126 วรรค 1 บัญญัติให้ไว้แก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ และสิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตก ทอดแก่ทายาท ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องทุกข์ในคดีดังกล่าวตาย มารดาผู้ร้องทุกข์ซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์นั้นได้แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 206/2488)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งมาตรา 361 บัญญัติว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (2) คำพิพากษาของศาลล่างก็ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งในจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งมาตรา 361 บัญญัติว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (2) คำพิพากษาของศาลล่างก็ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งในจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์: เจ้าของทรัพย์ต้องเป็นผู้ร้องทุกข์ หรือได้รับมอบอำนาจ หากไม่ได้ร้องทุกข์ ผู้ครอบครองไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้เสียหายกับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำเลยตัดฟันต้นมะขามเทศในที่ดินของมารดา เมื่อมารดาไม่ร้องทุกข์ ผู้เสียหายซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์กับจำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของทรัพย์ได้
บทบัญญัติในมาตรา 194 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บังคับให้ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นหมายเฉพาะข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์เท่านั้น
คดีเรื่องทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์อาจยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยมิได้เป็นคนทำให้ทรัพย์นั้นเสียหายได้ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะ ผู้เสียหายที่ร้องทุกข์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ทำให้ทรัพย์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแปลข้อความในฎีกานั้นได้ว่า พอถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย และถ้าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นให้ด้วย
บทบัญญัติในมาตรา 194 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บังคับให้ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นหมายเฉพาะข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์เท่านั้น
คดีเรื่องทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์อาจยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยมิได้เป็นคนทำให้ทรัพย์นั้นเสียหายได้ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะ ผู้เสียหายที่ร้องทุกข์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ทำให้ทรัพย์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแปลข้อความในฎีกานั้นได้ว่า พอถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย และถ้าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นให้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์: เจ้าของทรัพย์ต้องเป็นผู้ร้องทุกข์ ผู้ครอบครองไม่มีอำนาจฟ้องแทน
ผู้เสียหายกับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำเลยตัดฟันต้นมะขามเทศในที่ดินของมารดา เมื่อมารดาไม่ร้องทุกข์ ผู้เสียหายซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์กับจำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของทรัพย์ได้
บทบัญญัติในมาตรา 194 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บังคับให้ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นหมายเฉพาะข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์เท่านั้น
คดีเรื่องทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์อาจยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยมิได้เป็นคนทำให้ทรัพย์นั้นเสียหายได้ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะผู้เสียหายที่ร้องทุกข์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ทำให้ทรัพย์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแปลข้อความในฎีกานั้นได้ว่า พอถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย และถ้าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาก็รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นให้ด้วย
บทบัญญัติในมาตรา 194 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บังคับให้ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นหมายเฉพาะข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์เท่านั้น
คดีเรื่องทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์อาจยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยมิได้เป็นคนทำให้ทรัพย์นั้นเสียหายได้ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะผู้เสียหายที่ร้องทุกข์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ทำให้ทรัพย์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแปลข้อความในฎีกานั้นได้ว่า พอถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย และถ้าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาก็รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นให้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดทำนบสาธารณะเสียหาย แม้ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง ก็ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อจำเลยรับว่าได้ขุดทำนบซึ่งบุคคลใช้เป็นทางสาธารณะขาดออกกว้าง 7 วา ยาว 5 วาจริง แต่ต่อสู้ว่าไม่ได้ทำให้ทางสาธารณะเสียหายและไม่เป็นอันตรายต่อการจราจร ดังนี้ทำนบซึ่งใช้เป็นทางสัญจรไปมานี้ เป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์เมื่อจำเลยทำการขุดให้ลักษณะดังกล้าวข้างต้น ถือได้ว่าจำเลยทำให้เสียหาย ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 160 ส่วนที่จะผิดตามมาตรา 229 ด้วยหรือไม่นั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากพยานโจทก์เพียงว่าราษฎรไม่อาจเกินหรือใช้เกวียนบนทำนบนี้ได้ก่อนที่จะถมให้กลับคืนดีโดยไม่ปรากฎว่ามีลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจรแต่อย่างใด ต้องถือว่าจำเลยได้ทำแต่เพียงให้ทางเสียหายใช้การไม่ได้ไปชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น จำเลยจึงไม่ผิดตามมาตรา 229 ด้วย
ข้อที่จำเลยอ้างว่าจำเลยขุดทำนบเสียหายก็เพื่อระบายน้ำออกจากนาจำเลย มิฉะนั้นน้ำจะท่วมข้าวของจำเลยตายหมดนั้น ไม่พอจะก่อให้เกิดสิทธิอันเป็นความจำเป็นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 67 ได้
ข้อที่จำเลยอ้างว่าจำเลยขุดทำนบเสียหายก็เพื่อระบายน้ำออกจากนาจำเลย มิฉะนั้นน้ำจะท่วมข้าวของจำเลยตายหมดนั้น ไม่พอจะก่อให้เกิดสิทธิอันเป็นความจำเป็นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 67 ได้