คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การขายยา พ.ศ.2493 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายยาที่ทะเบียนถูกยกเลิก และการใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียชื่อเสียง ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
เมื่อทะเบียนตำรับยาซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษมผู้เสียหายได้ขึ้นทะเบียนไว้ได้ถูกยกเลิกไปโดยผลแห่งพระราชบัญญัติการขายยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2505 มาตรา 15 วรรคแรกแล้ว จำเลยจะอาศัยทะเบียนตำรับยาดังกล่าวสั่งยาเข้ามาจำหน่ายอีกไม่ได้ มาตรา 15 วรรคสองบัญญัติยกเว้นให้เฉพาะเจ้าของผู้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้วเท่านั้นโดยผ่อนผันให้ขายยาเก่าไปได้อีก 1 ปี หาได้รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งอาศัยทะเบียนตำรับยาของคนอื่นสั่งยาเข้ามาจำหน่ายดังกรณีของจำเลยไม่
จำเลยรู้ดีแล้วว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษมผู้เสียหายเป็นผู้ขึ้นทะเบียนตำรับยาสำเร็จรูปเลขที่ 869/2502 ไว้ก่อนแล้ว หาใช่ห้างหรือบริษัทอื่นไม่ ดังนี้ การที่จำเลยประกาศโฆษณาว่า มีบุคคลกระทำผิดกฎหมายเลียนแบบผลิตยาออกจำหน่าย ทั้งยังแอบอ้างใช้เลขทะเบียนปิดอยู่หน้ากล่องยา เช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษมผู้เสียหายเป็นผู้ปลอมแปลงผลิตยาเลียนแบบออกจำหน่าย อันเป็นเท็จ เจตนาจะให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษมเสียความเชื่อถือโดยมุ่งประโยชน์แก่การค้าของจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนิยามคำว่า 'ยา' ตาม พ.ร.บ.ขายยา พิจารณาจากความมุ่งหมายในการใช้ ไม่ใช่ผลลัพธ์การรักษา
คำว่า 'ยา' ตามพระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ.2493มาตรา4 นั้น หาได้อยู่ที่ว่าวัตถุนั้นจะบำบัดรักษาหรือป้องกันโรคได้จริงหรือไม่ แต่อยู่ที่ความมุ่งหมายในการใช้ฉะนั้น กำไลแหวน และสร้อย ซึ่งมุ่งหมายจะใช้เพื่อบำบัดรักษาและป้องกันโรคจึงเป็นยาตามความหมายแห่งกฎหมายดังกล่าวและเมื่อผู้ใดโฆษณาหรือขายวัตถุเหล่านี้โดยมิได้รับอนุญาตก็ย่อมมีความผิด(ประชุมใหญ่ ครั้งที่42/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายวัตถุที่มีเจตนาใช้บำบัดโรค ถือเป็น 'ยา' ตาม พ.ร.บ.ขายยา แม้จะไม่ได้ผลจริง
คำว่า "ยา" ตามพระราชบัญญัติการขาย พ.ศ. 2493 มาตรา 4 นั้น หาได้อยู่ที่ว่าวัตถุนั้นจะบำบัดรักษาหรือป้องกันโรคได้จริงหรือไม่ แต่อยู่ที่ความมุ่งหมายในการใช้ ฉะนั้น กำไลแหวนและสร้อยซึ่งมุ่งหมายจะใช้ป้องกันโรค จึงเป็นยาตามความหมายแห่งกฎหมายดังกล่าว และเมื่อผู้ใดโฆษณาหรือขายวัตถุเหล่านี้โดยมิได้รับอนุญาต ก็ย่อมมีความผิด