คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แถม ดุลยสุข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2111/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ความจำเป็นในการตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อมีข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดก ได้ความว่าฝ่ายผู้ร้องและฝ่ายผู้คัดค้านต่างเป็นทายาทของเจ้ามรดก เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ทั้งสองฝ่ายต่างทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ตกทอดได้แก่ตนให้แก่ ถ. น้องชายของเจ้ามรดกไว้ โดยผู้ร้องได้ที่ดินกับหุ้น ผู้คัดค้านได้เงินสดไป 4,500,000 บาท ดังนี้ เมื่อการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ร้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากว่า การจัดการมรดกขัดข้องเฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์กับหุ้นที่จะต้องโอนกันตามข้อตกลง ซึ่งจะต้องมีผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านจึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะเข้ามาเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายยื่นฎีกา แม้ไม่มีเอกสารแต่งตั้งในสำนวน ศาลอนุญาตแก้ไขและวินิจฉัยฎีกาได้ หากมีพฤติการณ์น่าเชื่อถือ
ฎีกาของจำเลยมี ล. ทนายความลงชื่อในฐานะทนายจำเลยพฤติการณ์น่าเชื่อว่า จำเลยได้แต่ง ล. เป็นทนายความของจำเลยในคดีนี้แล้วจริง เมื่อปรากฏว่าใบแต่งทนายความสำหรับ ล. ไม่มีอยู่ในสำนวน ศาลก็มีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขจัดทำเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เมื่อจำเลยได้แต่ง ล. เข้ามาภายหลังแล้ว ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยฎีกาจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งครอบครองที่ดิน: โฉนดร่วม ไม่ตัดสิทธิการแบ่งส่วนสัดเดิม หากมีหลักฐานการครอบครองเป็นสัดส่วน
เมื่อโจทก์จำเลยได้แบ่งกันครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัดมาแต่แรกแล้วแม้โจทก์จำเลยจะมีชื่อร่วมกันในโฉนดก็ตาม แต่ก็เป็นเพราะเจ้าพนักงานที่ดินแนะนำให้ขอออกโฉนดร่วมกันไปก่อนเนื่องจากที่พิพาทเป็นที่ดินตกสำรวจจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่ดินแปลงพิพาทเท่ากันตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่สาธารณประโยชน์: การใช้ประโยชน์ร่วมกันของราษฎร แม้ไม่ขึ้นทะเบียนก็เป็นที่สาธารณสมบัติ
หนองน้ำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติสำหรับราษฎรในหมู่บ้านใช้เป็นที่จับปลาและเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแม้ทางราชการจะไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ไม่ใช่ข้อสารสำคัญเพราะไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องกระทำดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและขอบเขตคำฟ้อง: จำเลยไม่ต้องรื้อถอนหากเชื่อโดยสุจริต ศาลไม่สามารถพิพากษาค่าเสียหายเกินคำฟ้อง
การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทโดยถือหลักเขตตามโฉนดที่ดินที่เจ้าพนักงานออกให้โดยไม่ทราบว่าหลักเขตที่ปักนั้นคลาดเคลื่อน ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยไม่ต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312
การเรียกร้องค่าเสียหายเป็นสิทธิหน้าที่หรือความรับผิดของบุคคลอันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ส่วนวิธีการที่จะยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามกฎหมายจะต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวคือถ้าเป็นคดีแพ่งก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ มิได้มีคำขอเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหาย ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่ได้ เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตตามโฉนดที่ดิน และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาเรื่องค่าเสียหาย
การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทโดยถือหลักเขตตามโฉนดที่ดินที่เจ้าพนักงานออกให้ โดยไม่ทราบว่าหลักเขตที่ปักนั้นคลาดเคลื่อน ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยไม่ต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1312
การเรียกร้องค่าเสียหายเป็นสิทธิหน้าที่หรือความรับผิดของบุคคลอันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ส่วนวิธีการที่จะยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามกฎหมายจะต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีบัญญัติ กล่าวคือ ถ้าเป็นคดีแพ่งก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ มิได้มีคำขอเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหาย ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่ได้ เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อผลละเมิดของลูกจ้าง
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดซึ่งลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากการละเมิดดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อความเสียหายจากการละเมิดของลูกจ้าง
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดซึ่งลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากการละเมิดดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: คดีความผิดเกิดขึ้นที่ปัตตานี แต่สอบสวนที่สงขลา โจทก์มีอำนาจฟ้องที่สงขลาได้
เมื่อความผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดปัตตานี แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ในท้องที่จังหวัดสงขลาและพนักงานสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ทำการสอบสวนความผิดตามที่ถูกกล่าวหานี้แล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดสงขลาให้ชำระคดีนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1) ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 22 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: คดีความผิดเกิดขึ้นในเขตหนึ่ง แต่มีการสอบสวนในอีกเขตหนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องที่ศาลในเขตสอบสวนได้
เมื่อความผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปัตตานี แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ในท้องที่จังหวัดสงขลา และพนักงานสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ทำการสอบสวนความผิดตามที่ถูกกล่าวหานี้แล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดสงขลาให้ชำระคดีนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 22 วรรคแรก
of 24