คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แถม ดุลยสุข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอ และอำนาจขยายเวลาประกาศรับสมัครเลือกตั้งกำนัน
ฟ้องของโจทก์ใส่ชื่อจำเลยในช่องคู่ความโดยไม่มีข้อความว่าในฐานะนายอำเภอ แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยรับราชการในตำแหน่งนายอำเภอจัตุรัสเป็นเจ้าของพนักงานตามกฎหมาย จำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอจัตุรัสได้ออกประกาศของอำเภอ และคำขอท้ายฟ้องก็ขอให้พิพากษาว่าประกาศของนายอำเภอจัตุรัสเป็นโมฆะ ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเข้าใจได้ชัดเจนว่า โจทก์มุ่งหมายที่จะฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอจัตุรัส หาใช่ฟ้องเป็นการส่วนตัวไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 364 ข้อ 3 ให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกกำนันโดยรับสมัครจากผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้น วิธีเลือกกำนันให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย นายอำเภอจึงมีอำนาจออกประกาศกำหนดวันเลือกตั้งกำนันและระยะเวลารับสมัคร ดังนั้น เมื่อมีเหตุสมควร นายอำเภอก็ย่อมมีอำนาจที่จะขยายระยะเวลาวันเลือกตั้งและเวลารับสมัครออกไปอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเจ้าของเรือต่างประเทศไม่ต้องรับผิดละเมิดของลูกจ้างที่ทำตามหน้าที่
เจ้าของเรือที่นายเรือทำละเมิดอยู่ต่างประเทศ จำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือในประเทศไทย ไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่ลูกจ้างของตัวการได้ทำตามหน้าที่ด้วย จะตีความคำว่าทำสัญญาใน มาตรา 824หมายความถึงทำละเมิด ฝืนถ้อยคำที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยไม่ได้เป็นปัญหากฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายสุราและผลผูกพันของสัญญาค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญากันว่าจำเลยที่ 1 ต้องทำสุราออกขายไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท และยอมเสียภาษีสุราไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท เดือนใดเสียภาษีสุราต่ำกว่าจำนวนดังกล่าวนี้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับเท่ากับสุรา ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที และจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินค่าภาษีหรือเงินอื่นใดที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำสุราออกขายได้ตามจำนวนดังกล่าว และค้างชำระเงินค่าปรับเป็นจำนวนนับล้านบาท โจทก์ยอมได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยผลแห่งข้อสัญญา หาใช่ว่าจะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งซึ่งออกตามกฎหมายเฉพาะกฎหมายสุราจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ไม่
เบี้ยปรับตามสัญญาก็คือ ค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าเพื่อชดใช้แก่กันหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่ากระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว และยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับรองการทำสัญญาดังกล่าวของกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญา แม้ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จะมีว่ากรรมการจะต้องลงนามร่วมกัน 2 คน จึงจะทำการแทนบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องการจำกัดอำนาจกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 อันเป็นคนละกรณีกับการกระทำโดยทางตัวแทน
ในกรณีที่การบอกเลิกสัญญาไม่ทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วระงับสิ้นลง จนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้นั้น แม้เจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ก็หาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสุรา, การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, การค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญากันว่าจำเลยที่ 1 ต้องทำสุราออกขายไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท และยอมเสียภาษีสุราไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท เดือนใดเสียภาษีสุราต่ำกว่าจำนวนดังกล่าวนี้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับเท่ากับภาษีสุรา ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที และจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินค่าภาษีหรือเงินอื่นใดที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำสุราออกขายได้ตามจำนวนดังกล่าว และค้างชำระเงินค่าปรับเป็นจำนวนนับล้านบาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยผลแห่งข้อสัญญา หาใช่ว่าจะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งซึ่งออกตามกฎหมายเฉพาะกฎหมายสุราจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ไม่
เบี้ยปรับตามสัญญาก็คือ ค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าเพื่อชดใช้แก่กันหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่ากระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัวและยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับรองการทำสัญญาดังกล่าวของกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญา แม้ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จะมีว่ากรรมการจะต้องลงนามร่วมกัน 2 คนจึงจะทำการแทนบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องการจำกัดอำนาจกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 อันเป็นคนละกรณีกับการกระทำโดยทางตัวแทน
ในกรณีที่การบอกเลิกสัญญาไม่ทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วระงับสิ้นลง จนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้นั้น แม้เจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ก็หาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหาย: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดของนิติบุคคล
ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ 32 วรรค 2 ว่า "กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ" ดังนั้น การที่จะถือว่ากรมตำรวจโจทก์ได้รู้ถึงเรื่องการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ อธิบดีกรมตำรวจโจทก์ หรือผู้ทำการแทนรู้เรื่องการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าเมื่อประธานกรรมการสอบสวนรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตือถือว่าโจกท์รู้ด้วยหาได้ไม่ เพราะตามระเบียบราชการนั้นเจ้าหน้าที่ชั้นสูงจะต้องพิจารณาก่อนว่าเรื่องราวและความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่เสนอไปนั้นถูกต้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำผิดของนิติบุคคล
ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ 32วรรคสองว่า"กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ" ดังนั้นการที่จะถือว่ากรมตำรวจโจทก์ได้รู้ถึงเรื่องการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่ออธิบดีกรมตำรวจโจทก์หรือผู้ทำการแทนรู้เรื่องการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าเมื่อประธานกรรมการสอบสวนรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องถือว่าโจทก์รู้ด้วยหาได้ไม่ เพราะตามระเบียบราชการนั้นเจ้าหน้าที่ชั้นสูงจะต้องพิจารณาก่อนว่าเรื่องราวและความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่เสนอไปนั้นถูกต้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้เมื่อคำพิพากษาเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว
จำเลยเคยยื่นคำร้องในคดีก่อนอ้างว่าที่พิพาทเป็นที่ดินในโฉนดของโจทก์ซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดของโจทก์ ความจริงจำเลยเข้าไปอาศัยและทำนาโดยอาศัยสิทธิการเช่าของบุคคลอื่นที่เช่าที่ดินไปจากโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์ โดยต่างคนต่างครอบครองตามแนวเขตที่ดินของตนไม่ปรปักษ์กันดังนี้ คำพิพากษาคดีก่อนจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องผูกพันในคำพิพากษานั้นว่า ที่พิพาทไม่ได้อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีหลังและนำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจึงรับฟังไม่ได้
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อคำพิพากษาวินิจฉัยมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลย จำเลยย่อมอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้หากเคยถูกตัดสินแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในโฉนด
จำเลยเคยยื่นคำร้องในคดีก่อนอ้างว่าที่พิพาทเป็นที่ดินในโฉนดของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปกปักษ์ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดของโจทก์ ความจริงจำเลยเข้าไปอาศัยและทำนาโดยอาศัยสิทธิการเช่าของบุคคลอื่นที่เช่าที่ดินไปจากโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์ โดยต่างคนต่างครอบครองตามแนวเขตที่ดินของตนไม่ปรปักษ์กัน ดังนี้ คำพิพากษาคดีก่อนจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องผูกพันในคำพิพากษานั้นว่า ที่พิพาทไม่ได้อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีหลังและนำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจึงรับฟังไม่ได้
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อคำพิพากษาวินิจฉัยมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลย จำเลยย่อมอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมของเด็กอายุ 14 ปี กับการอยู่กินฉันสามีภริยา ไม่เป็นความผิด
เด็กหญิงอายุ 14 ปี เต็มใจไปอยู่กับจำเลยเพื่อเป็นสามีภริยาจำเลยไม่มีภริยา ไม่เป็นการอนาจาร ไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากปืนจากผู้มีใบอนุญาต ไม่ถือเป็นการครอบครองปืนผิดกฎหมาย
รับฝากปืนจากผู้ได้รับอนุญาตให้มี เป็นการครอบครองไว้เพื่อไม่ให้สูญหาย ไม่เป็นการมีปืนตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 4(6)
of 24