คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แถม ดุลยสุข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ม.248 และการฎีกาไม่ชัดแจ้งตาม ม.249 กรณีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์และที่สาธารณะ
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจให้เช่าได้เดือนละ 200 บาท จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ มิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธินั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอีกไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
จำเลยฎีกาลอยๆ ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม มิได้ยกเหตุขึ้นอ้างอิงว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใด ไม่เป็นฎีกาที่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสนับสนุนเจ้าพนักงานแจ้งเท็จเกี่ยวกับลักษณะที่ดิน
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และนำชี้ให้จำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดพิสูจน์รับ น.ส.3. ไปโดยจำเลยที่ 2 ได้บันทึกในคำขอรับรองการทำประโยชน์ว่า ลักษณะของที่ดินเป็นที่ดินเหนียวปนทรายเหมาะแก่การทำนา ปลูกข้าว อันมิใช่ความจริงการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157กับจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 มิได้เป็นเจ้าพนักงานจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ผงดินของขลังจากพระพุทธรูป: ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ม.335(1)(7) ไม่ใช่ความผิดตาม ม.335ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักเอาผงดินของขลังซึ่งเป็นวัตถุในทางศาสนาที่ทำให้พระพุทธรูปมีความขลังและทรงคุณค่าในความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งอัดบรรจุอยู่ในพระพุทธรูป 'พระครูเหล็ก' จำนวนหนัก 4.50 กรัม ประมาณราคาไม่ได้ของวัดแจ้งสว่างไปดังนี้ เป็นฟ้องที่ชัดเจนแล้วว่าผงดินของขลังและพระพุทธรูป 'พระครูเหล็ก' เป็นของวัดแจ้งสว่างฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย
ผงดินของขลังที่บรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปได้มาจากแหล่งสำคัญในทางพุทธศาสนาที่ประชาชนเคารพนับถือ โดยสภาพเป็นผงดินธรรมดา การนำมาบรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพุทธรูปยิ่งขึ้นนั้นไม่ใช่วัตถุทางศาสนาซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน และคำว่า 'ส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป' ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512 มาตรา 3 นั้นหมายถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างพระพุทธรูป เช่น พระเศียร พระหัตถ์ พระกร และพระบาท ฯลฯ ซึ่งถ้าหากส่วนหนึ่งส่วนใดถูกตัดหรือถูกทำลายย่อมทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ผงดินของขลังที่บรรจุอยู่ในฐานองค์พระพุทธรูป แม้จะถูกนำออกไปก็หาทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ไปไม่ รูปลักษณะของพระพุทธรูปยังคงอยู่ในสภาพเดิม ผงดินของขลังจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูปการที่จำเลยลักเอาผงดินของขลังไปจึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512 มาตรา 3 ตามที่จำเลยที่ 6 แต่ผู้เดียวได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7) ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ด้วยก็ตาม โดยที่เป็นเหตุในลักษณะคดี จึงต้องมีผลถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ผงดินของขลังในพระพุทธรูป: ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ม.335 (1)(7) ไม่ใช่ความผิดตาม ม.335 ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักเอาผงดินของขลังซึ่งเป็นวัตถุในทางศาสนาที่ทำให้พระพุทธรูปมีความขลัง และทรงคุณค่าในความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งอัดบรรจุอยู่ในพระพุทธรูป "พระครูเหล็ก" จำนวนหนัก 4.50 กรัม ประมาณราคาไม่ได้ของวัดแจ้งสว่างไป ดังนี้ เป็นฟ้องที่ชัดเจนแล้วว่าผงดินของขลังและพระพุทธรูป "พระครูเหล็ก" เป็นของวัดแจ้งสว่าง ฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย
ผงดินของขลังที่บรรจุในฐาน 4 องค์ พระพุทธรูปได้มาจากแหล่งสำคัญในทางพุทธศาสตราที่ประชาชนเคารพนับถือ โดยสภาพเป็นผงดินธรรมดา การนำมาบรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพุทธรูปยิ่งขึ้นนั้น ไม่ใช่วัตถุทางศาสนาซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน และคำว่า "ส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2512 มาตรา 3 นั้น หมายถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างพระพุทธรูป เช่น พระเศียร พระหัตถ์ พระกร และพระบาท ฯลฯ ซึ่งถ้าหากส่วนหนึ่งส่วนใดถูกตัดหรือถูกทำลายย่อมทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ ผงดินของขลังที่บรรจุอยู่ในฐานองค์พระพุทธรูป แม้จะถูกนำออกไปก็หาทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ไปไม่ รูปลักษณะของพระพุทธรูปยังคงอยู่ในสภาพเดิม ผงดินของขลังจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป การที่จำเลยลักเอาผงดินของขลังไปจึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2512 มาตรา 3 ตามที่จำเลยที่ 6 แต่ผู้เดียวได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1)(7) ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ด้วยก็ตาม โดยที่เป็นเหตุในลักษณะคดี จึงต้องมีผลถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: การครอบครองโดยนิติบุคคลที่ได้รับยกให้จากราชการ
กรมจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมาย ซึ่งรวมทั้งมีสิทธิครอบครองที่ดินตามที่ได้รับยกให้ด้วย ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าโจทก์ซื้อมาจากผู้อื่น ต่อมานายอำเภอได้ประกาศสงวนไว้ ครบกำหนดไม่มีผู้คัดค้านทางจังหวัดจึงยกให้จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองโดยลักษณะโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตลอดมาดังนี้ ไม่ปรากฏว่าการเข้าครอบครองที่พิพาทจะผิดวัตถุประสงค์และไม่ชอบธรรมด้วยประการใดโจทก์ย่อมฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ถูกจำเลยที่ 1 แย่งการครอบครองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นภาษีโรงเรือนสำหรับอาคารที่เจ้าของใช้เองเป็นสำนักงานและไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด การที่โจทก์ใช้อาคารของโจทก์เองเป็นที่ทำการหรือสำนักงานฝ่ายบริหารและติดต่อธุรกิจของโจทก์โดยมิได้ใช้แสวงหาผลประโยชน์ตอบแทนโดยตรงด้วยนั้น เป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเข้าอยู่เองตามความหมายของมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 เมื่อมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม ย่อมได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน
การที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำระเกินไป และศาลพิพากษาให้คืนนั้น เท่ากับตัดสินให้ลดค่าภาษีแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หากคืนเงินส่วนลดนี้ให้โจทก์ภายในสามเดือนตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 39วรรคสองแต่ถ้าไม่คืนภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีแก่โจทก์นับตั้งแต่วันที่ได้รับเงินไว้ และจำเลยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวชั้นฎีกาได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ: การพิจารณาคำพูดกระตุ้นความโกรธและเหตุผลในการลดโทษ
โจทก์ต่อว่าจำเลยว่า มองหน้าทำไม เป็นตำรวจหรือ ตำรวจไม่สำคัญ จำเลยก็ชักปืนยิงโจทก์คำพูดเช่นนี้ระคายเคืองอยู่บ้าง แต่ไม่ถึงข่มเหงอย่างร้ายแรงและไม่เป็นธรรมที่จะลดโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิ การครอบครองปรปักษ์ และผลของการโอนที่ดินนอกระบบทะเบียน
ถึงจำเลยจะซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นที่มือเปล่ามาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจาก ว. ผู้อาศัยโจทก์ จำเลยก็ไม่ได้สิทธิเพราะ ว.ไม่มีอำนาจเอาที่ดินของโจทก์ไปขายให้จำเลยกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ซึ่งเป็นเรื่องการโอนทางทะเบียนและผู้โอนมีชื่ออยู่ในทะเบียนเช่นโฉนดตราจอง
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาท 28-29 ปี โดยไม่ได้ขออาศัยจากโจทก์ก็ไม่ทำให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ครอบครอง เพราะ ว. อยู่ในที่พิพาทฐานะผู้อาศัยจึงเป็นผู้ครอบครองแทนโจทก์ เมื่อ ว. ขายให้จำเลย จำเลยย่อมได้สิทธิไปเพียงเท่าที่ ว.มีอยู่ คือเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแทนเจ้าของเท่านั้น เว้นแต่จำเลยจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
การแจ้งการครอบครองของจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิ การครอบครองโดยไม่สุจริต และผลของการแจ้งการครอบครอง
ถึงจำเลยจะซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นที่มือเปล่ามาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจาก ว. ผู้อาศัยโจทก์ จำเลยก็ไม่ได้สิทธิเพราะ ว. ไม่มีอำนาจเอาที่ดินของโจทก์ไปขายให้จำเลยกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ซึ่งเป็นเรื่องการโอนทางทะเบียนและผู้โอนมีชื่ออยู่ในทะเบียนเช่นโฉนดตราจอง
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทมา 28-29 ปี โดยไม่ได้ขออาศัยจากโจทก์ก็ไม่ทำให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง เพราะ ว. อยู่ในที่พิพาทฐานะผู้อาศัยจึงเป็นผู้ครอบครองแทนโจทก์เมื่อ ว. ขายให้จำเลย จำเลยย่อมได้สิทธิไปเพียงเท่าที่ ว. มีอยู่คือเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแทนเจ้าของเท่านั้น เว้นแต่จำเลยจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
การแจ้งการครอบครองของจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือ การปฏิเสธลงนามเนื่องจากเลตเตอร์ออฟเครดิตล่าช้า ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดในประเทศไทย ซ.ผู้แทนโจทก์ติดต่อกับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายปอกัน ซ.และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบปริมาณและราคาที่จะขาย โจทก์มีหนังสือยืนยันมายังจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งส่งสัญญาซื้อขายมาด้วย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในฐานผู้ขาย โจทก์เปิดเลตเตอร์อ๊อฟเครดิตส่งมาแต่ล่าช้าและผิดพลาด จำเลยที่ 1 จึงไม่ลงชื่อในสัญญาซื้อขาย การซื้อขายปอระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ครั้งก่อนๆ ต้องทำเป็นหนังสือทุกครั้ง พฤติการณ์ที่ปฏิบัติกันในการซื้อขายปอรายพิพาทเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้สัญญาซื้อขาย จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 สัญญาซื้อขายยังไม่มี
of 24