พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและการบังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อทายาท
คดีก่อนที่จำเลยฟ้อง พ.มารดาโจทก์เพื่อให้ชำระหนี้ของผู้ตายซึ่งเป็นบิดาโจทก์หากไม่ชำระขอให้บังคับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น เป็นกรณีเจ้าหนี้กองมรดกบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737,1738 เมื่อ พ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่า พ.จะโอนที่ดินกับบ้านซึ่งนำมาจำนองไว้นั้นให้แก่จำเลยเป็นการชำระหนี้จำนอง เมื่อ พ.ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ถ้า พ.ไม่ดำเนินการก็ให้บังคับจำนองเอาทรัพย์จำนองขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ทันที และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้ ถือว่า พ.กระทำไปในฐานะทายาทของผู้ตายเพื่อจัดการเกี่ยวกับมรดกหาใช่กระทำในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไม่ แม้โจทก์จะมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายก็ตาม กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1546 ที่จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน โจทก์จึงจะมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประนีประนอมโดยทายาทผู้จัดการมรดก ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลหากทำในฐานะทายาท ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาตาย เจ้าหนี้ฟ้องมารดาเด็กบังคับจำนอง เป็นการฟ้องทายาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737,1738 มารดาทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีได้ ไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลก่อน ไม่ใช่ทำในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองตาม มาตรา 1546 มารดามาฟ้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กว่าสัญญาประนีประนอมนั้นไม่ผูกพันเด็กไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การเลิกสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อนชื่อที่เรียกคู่สัญญาในสัญญาทุกข้อก็ระบุว่าผู้ซื้อและผู้ขายแม้มีสัญญาข้อหนึ่งว่าผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองใช้สิทธิ ปลูกสร้างในที่ดินได้ก็มีเงื่อนไขว่านับตั้งแต่วันที่ผู้ขายกรุยดินยกถนนผ่านที่ดินเรียบร้อยแล้วอันมีความหมายชัดว่าผู้ขายไม่ได้มอบที่ดินให้ผู้ซื้อทันทีโจทก์ผู้ซื้อจึงไม่ได้ใช้และรับประโยชน์จากที่ดินพิพาทในวันทำสัญญาแต่ประการใด แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน ซึ่งต่างกับสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยจะต้องนำที่ดินมาให้โจทก์เช่า หรือส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ หรือได้รับประโยชน์จากที่ดินนั้นโดยมีคำมั่นว่าจะขาย แม้คำบรรยายฟ้องมีว่า โจทก์ได้ตกลงเช่าซื้อที่พิพาท แต่ก็อ้างหนังสือสัญญาท้ายคำฟ้องซึ่งตรงกับหนังสือสัญญาดังกล่าวที่ส่งศาลและโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสัญญาดังกล่าวเป็นหลัก. ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514(ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืนแต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514(ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืนแต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อน vs. สัญญาเช่าซื้อ ศาลวินิจฉัยเจตนาคู่สัญญาและแก้ไขคำพิพากษา
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อน ชื่อที่เรียกคู่สัญญาในสัญญาทุกข้อระบุว่าผู้ซื้อและผู้ขาย แม้มีสัญญาข้อหนึ่งว่าผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองใช้สิทธิปลูกสร้างในที่ดินได้ ก็มีเงื่อนไขว่านับตั้งแต่วันที่ผู้ขายกรุยดินยกถนนผ่านที่ดินเรียบร้อยแล้ว อันมีความหมายชัดว่าผู้ขายไม่ได้มอบที่ดินให้ผู้ซื้อทันที โจทก์ผู้ซื้อจึงไม่ได้ใช้และรับประโยชน์จากที่ดินพิพาทในวันทำสัญญาแต่ประการใด แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน ซึ่งต่างกับสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยจะต้องนำที่ดินมาให้โจทก์เช่า หรือส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ หรือได้รับประโยชน์จากที่ดินนั้นโดยมีคำมั่นว่าจะขาย แม้คำบรรยายฟ้องมีว่า โจทก์ได้ตกลงเช่าซื้อที่พิพาท แต่ก็อ้างหนังสือสัญญาท้ายคำฟ้องซึ่งตรงกับหนังสือสัญญาดังกล่าวที่ส่งศาลและโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสัญญาดังกล่าวเป็นหลัก ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514 (ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืน แต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514 (ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืน แต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายจากอาวุธปืน: การบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องบรรยายถึงการกระทำประมาทของจำเลยว่า จำเลยพาอาวุธปืนแก๊ปยาวบรรจุดินปืนพร้อมลูกปืนอยู่แล้วและยังใส่แก๊ปลงในเบ้าแก๊ปด้วย ถ้าปลายนกปืนเกิดกระทบกระเทือนจะตีแก๊ปในเบ้าแก๊ประเบิดขึ้นไปถูกผู้อื่นได้ และบรรยายต่อไปว่าจำเลยนำอาวุธปืนไปที่ตลาดวังทรายพูนในขณะที่มีคนพลุกพล่าน ในพฤติการณ์เช่นนี้บุคคลในภาวะเช่นจำเลยควรระมัดระวังตามวิสัยโดยไม่ใส่แก๊ปลงในเบ้าแก๊ปของอาวุธปืนนั้น ซึ่งอยู่ในวิสัยของจำเลยที่จะทำได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จำเลยพาอาวุธปืนไปด้วยความไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้อาวุธปืนพลัดตก นกปืนกระทบพื้น ปลายนกปืนที่สวมอยู่ในเบ้าแก๊ปตีแก๊ประเบิดลั่นขึ้น 1 นัด ลูกปืนถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส มีอาการทุกขเวทนาจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน และต้องทุพพลภาพเสียอวัยวะนิ้วก้อยและนิ้วนางข้างขวาใช้การไม่ได้ตามปกติอาจถึงตลอดชีวิต เป็นการบรรยายให้จำเลยเข้าใจได้แล้วว่าจำเลยกระทำโดยประมาทอย่างไร ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสอย่างไรครบถ้วนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158แล้ว โดยไม่ต้องบรรยายว่าเป็นอาวุธปืนไม่มีคุณภาพใช้ได้โดยปลอดภัยและไม่ต้องบรรยายอีกว่าจำเลยกระทำอย่างไรเป็นการพาอาวุธปืนไปด้วยความไม่ระมัดระวัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทจากการใช้ปืน: การบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายและการพิสูจน์ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
โจทก์ฟ้องบรรยายถึงการกระทำประมาทของจำเลยว่า จำเลยพาอาวุธปืนแก๊ปยาวบรรจุดินปืนพร้อมลูกปืนอยู่แล้วและยังใส่แก๊ปลงในเบ้าแก๊ปด้วย ถ้าปลายนกปืนเกิดกระทบกระเทือนจะตีแก๊ปในเบ้าแก๊ประเบิดขึ้นไปถูกผู้อื่นได้ และบรรยายต่อไปว่าจำเลยนำอาวุธปืนไปที่ตลาดวังทรายพูนในขณะที่มีคนพลุกพล่าน ในพฤติการณ์เช่นนี้บุคคลในภาวะ เช่น จำเลยควรระมัดระวังตามวิสัยโดยไม่ใส่แก๊ปลงในเบ้าแก๊ปของอาวุธปืนนั้น ซึ่งอยู่ในวิสัยของจำเลยที่จะทำได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จำเลยพาอาวุธปืนไปด้วยความไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้อาวุธปืนพลัดตก นกปืนกระทบพื้น ปลายนกปืนที่สวมอยู่ในเบ้าแก๊ปตีแก๊ประเบิดลั่นขึ้น 1 นัด ลูกปืนถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส มีอาการ-ทุกขเวทนาจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน และต้องทุพพลภาพเสียอวัยวะนิ้วก้อยและนิ้วนางข้าขวา-ใช้การไม่ได้ตามปกติอาจถึงตลอดชีวิต เป็นการบรรยายให้จำเลยเข้าใจได้แล้วว่าจำเลยกระทำโดยประมาทอย่างไร ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสอย่างไรครบถ้วนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว โดยไม่ต้องบรรยายว่าเป็นอาวุธปืนไม่มีคุณภาพใช้ได้โดยปลอดภัยและไม่ต้องบรรยายอีกว่าจำเลยกระทำอย่างไร เป็นการพาอาวุธปืนไปด้วยความไม่ระมัดระวัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มาตรา 1373 คุ้มครองเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนโฉนดแล้ว ไม่ครอบคลุม น.ส.3
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 มุ่งถึงอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์แล้ว ไม่ใช้แก่กรณี น.ส.3 รับรองการ ทำประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่ต้องรับผิดต่อละเมิดลูกจ้าง หากการกระทำมิได้อยู่ในขอบเขตหน้าที่และวัตถุประสงค์ของนายจ้าง
จำเลยที่ 4 เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเดินรถโดยสารประจำทาง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสาร จำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมรถได้ความว่าพนักงานขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 ขับรถเลี้ยวด้วยความเร็ว ทำให้โจทก์และผู้โดยสารอื่นตกจากม้านั่ง การที่โจทก์ต่อว่าพนักงานขับรถเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่พอใจ และร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กายนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 4 ผู้เป็นนายจ้าง และมิใช่กิจการในหน้าที่ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้รับมอบหมาย การกระทำดังกล่าวอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จึงมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่ต้องรับผิดต่อการทำร้ายร่างกายโดยลูกจ้าง หากการกระทำนั้นนอกเหนือจากหน้าที่และวัตถุประสงค์ของนายจ้าง
จำเลยที่ 4 เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเดินรถโดยสารประจำทาง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสาร จำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมรถ ได้ความว่าพนักงานขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 ขับรถเลี้ยวด้วยความเร็ว ทำให้โจทก์และผู้โดยสารอื่นตกจากม้านั่งการที่โจทก์ต่อว่าพนักงานขับรถเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่พอใจ และร่วมกันทำร้ายร่างกายของโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กายนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 4 ผู้เป็นนายจ้าง และมิใช่กิจการในหน้าที่ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้รับมอบหมาย การกระทำดังกล่าวอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จึงมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจากสิ่งปลูกสร้างล้ำที่ดิน: สุจริต-จดทะเบียน-ชดใช้ค่าตอบแทน
เจ้าของรวมปลูกเรือนในที่ดินในกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาแบ่งแยกที่ดินปรากฏว่าเรือนนั้นล้ำอยู่ในที่ดินของผู้อื่นบางส่วน เป็นการปลูกเรือนโดยสุจริต จดทะเบียนเป็นภารจำยอมได้โดยเสียค่าตอบแทนการใช้ที่ดินนั้น