คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักร ม. 20

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ สั่งจำคุกเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ และขอบเขตการตรวจสอบของศาล
ถ้อยคำในมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรที่ว่า'.....ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฯลฯ' นั้น ย่อมรวมถึงการสั่งจำคุกก็ทำได้ ในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรฯ
เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งว่า การกระทำของผู้ร้องที่ร่วมกันมียาปลอมไว้ขายและปลอมยาของผู้อื่นเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรให้จำคุกผู้ร้องไว้นั้นผู้ร้องจะเถียงว่าการกระทำของผู้ร้องไม่ถึงกับเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหาได้ไม่ เพราะเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีสั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย และไม่มีบทกฎหมายใดให้ศาลมีอำนาจรื้อฟื้นแก้ไขการใช้ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีในกรณีเช่นนี้ได้ เว้นแต่มตินั้นเป็นการกระทำนอกเหนือความในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
มาตรา 17 บัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้น ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฉะนั้นที่ นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 17จึงไม่ขัดต่อ มาตรา 5 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรอีกทั้งการวินิจฉัยสั่งการดังกล่าวก็หาขัดต่อมาตรา 20 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรแต่อย่างใดไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ในธรรมนูญนี้ไม่มีบทบัญญัติบังคับแก่กรณีนี้ได้ จึงจะต้องวินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602-1603/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของบุคคลที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ
บทกฎหมายใดก็ตามที่บัญญัติให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นที่เขามิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด และทรัพย์นั้นไม่ใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิดแล้ว ย่อมขัดกับการลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ในระหว่างใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลตีความมาแล้วว่า บทบัญญัติเช่นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยใช้บังคับมิได้ (อ้างฎีกาที่ 225/2506)
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้น ย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองกรรมสิทธิ์
ในขณะนี้ยังไม่มีรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศเป็นการแน่นอน และไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยบทกฎหมายใด ตลอดทั้งการตีความตามรัฐธรรมนูญ อันมิใช่เป็นเรื่องในวงงานของสภา ศาลย่อมมีอำาจกระทำได้
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นผู้มิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด ได้บัญญัติในสมัยใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2489 ต่อมาได้ใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2492 และรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ข้อความที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับหลังนี้ จึงเป็นโมฆะใช้ไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญฯ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 มาตรา 113 และคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคำพิพากษาฎีกาเรื่องความผิดตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวย่อมนำมาเปรียบเทียบกับคดีนี้ได้ เพราะเป็นเรื่องในทำนองเดียวกัน