พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจเลือดผู้ต้องหาในคดีขับรถเมา การยินยอม และการรับฟังพยานหลักฐาน
การตรวจพิสูจน์ที่ต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือดจากร่างกายของผู้ต้องหาในความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหานั้น ป.วิ.อ. มาตรา 131/1 วรรคสอง ไม่ได้บัญญัติว่า การให้ความยินยอมต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น การให้ความยินยอมจึงอาจทำโดยวิธีอื่นได้
การที่ร้อยตำรวจเอก ส. ร้องขอให้เจาะเลือดของจำเลยจนแพทย์เวรมีคำสั่งให้เจาะเลือดของจำเลยแล้ว ณ. เข้าไปสอบถามจำเลยก่อนเจาะเลือด ซึ่งมาตรฐานในการตรวจเลือดของคนไข้จะต้องสอบถามและได้รับความยินยอมจากคนไข้ก่อนทุกครั้ง เมื่อ ณ. สามารถสอบถามและเจาะเลือดของจำเลยได้ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยให้ความยินยอมในการเจาะเลือดแล้ว รายงานการตรวจวิเคราะห์จึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้
การที่ร้อยตำรวจเอก ส. ร้องขอให้เจาะเลือดของจำเลยจนแพทย์เวรมีคำสั่งให้เจาะเลือดของจำเลยแล้ว ณ. เข้าไปสอบถามจำเลยก่อนเจาะเลือด ซึ่งมาตรฐานในการตรวจเลือดของคนไข้จะต้องสอบถามและได้รับความยินยอมจากคนไข้ก่อนทุกครั้ง เมื่อ ณ. สามารถสอบถามและเจาะเลือดของจำเลยได้ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยให้ความยินยอมในการเจาะเลือดแล้ว รายงานการตรวจวิเคราะห์จึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ผู้เสียหายมีสิทธิขอคืนทรัพย์สิน
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้นำห้องชุด 84 ห้อง ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชดใช้คืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นเงิน 40,000,000 บาท หากขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าจำนวนดังกล่าวก็ชดใช้คืนเพียงเท่าที่ขายได้ กรณีขายทอดตลาดได้เงินเกินจำนวนดังกล่าว ให้เงินส่วนที่เกินพร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดินนั้น เมื่อเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 นำไปซื้อห้องชุดเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ต้องเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาที่เป็นความผิดมูลฐาน อันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เสียหายร้องขอให้คืนทรัพย์สินหรือชดใช้คืน ประกอบกับผู้ร้องไม่คัดค้าน กรณีจึงต้องคืนห้องชุด 84 ห้องแก่ผู้คัดค้านที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 49 วรรคหก โดยไม่อาจมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านที่ 3 มิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ. 2558 ข้อ 6 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับในเวลาที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา กำหนดว่า การขออนุญาตฎีกา ให้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นโดยต้องแสดงถึง (1) ปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายที่ขออนุญาตฎีกาโดยชัดแจ้ง (2) ปัญหาที่ขออนุญาตฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 249 หรือในข้อกำหนดนี้ซึ่งศาลฎีกาควรรับวินิจฉัย เมื่อคำร้องขออนุญาตฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ระบุถึงประเด็นปัญหาตามฎีกาประเด็นใดไว้ด้วย จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ประสงค์จะขออนุญาตฎีกาในประเด็นปัญหานั้น และปัญหานั้นได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ. 2558 ข้อ 6 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับในเวลาที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา กำหนดว่า การขออนุญาตฎีกา ให้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นโดยต้องแสดงถึง (1) ปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายที่ขออนุญาตฎีกาโดยชัดแจ้ง (2) ปัญหาที่ขออนุญาตฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 249 หรือในข้อกำหนดนี้ซึ่งศาลฎีกาควรรับวินิจฉัย เมื่อคำร้องขออนุญาตฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ระบุถึงประเด็นปัญหาตามฎีกาประเด็นใดไว้ด้วย จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ประสงค์จะขออนุญาตฎีกาในประเด็นปัญหานั้น และปัญหานั้นได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องค่าสินไหมทดแทนก่อนศาลยกคำร้องเพิกถอนการบังคับคดี ไม่ชอบตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคท้าย (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องคดีนี้บัญญัติไว้ใจความว่า ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องที่ขอให้เพิกถอนกระบวนการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ดำเนินการโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวเห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ ซึ่งกรณีนี้เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยื่นคำร้องขอดังกล่าวในคดีเดิมได้ โดยไม่ต้องนำไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก แต่มีการระบุเงื่อนเวลาไว้ว่า ศาลต้องยกคำร้องที่ขอให้เพิกถอนกระบวนการบังคับคดีอันเป็นมูลเหตุแห่งการร้องขอของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นเสียก่อน และต้องยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องนั้นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันเดียวกับวันที่โจทก์ยื่นคำคัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของผู้ร้อง อันเป็นมูลเหตุที่โจทก์ใช้อ้างให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นการยื่นคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในขณะที่ศาลยังไม่ได้สั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของผู้ร้อง ซึ่งไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคท้าย (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคาร NORD/LB ไม่เป็นสถาบันการเงินตามสนธิสัญญาฯ จึงต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า ธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB เป็นสถาบันการเงินตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุนหรือไม่ ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุน ข้อ 11 ระบุว่า "... (4) แม้จะมีบทของวรรค 2 และ 3 อยู่ ดอกเบี้ยซึ่งเกิดขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีในรัฐนั้น ถ้าดอกเบี้ยนั้นได้รับโดย (ก) รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง มลรัฐ (ลันด์) ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของอีกรัฐหนึ่งนั้น หรือ (ข) สถาบันการเงินใด ๆ ซึ่งรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง มลรัฐ (ลันด์) ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของอีกรัฐหนึ่งนั้นเป็นเจ้าของทั้งหมด และโดยเฉพาะในกรณีสหพันธ์สาธารณรัฐ โดย "ดอยช์ บุนเดสแบงก์" หรือ "เครดิตทันสตาลห์ฟือร์ วีเดอรัฟเบา" และในกรณีประเทศไทย โดย "ธนาคารแห่งประเทศไทย" หรือ (ค) โดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งจากพันธบัตรซึ่งออกจำหน่ายโดยรัฐบาลของรัฐผู้ทำสัญญารัฐแรก..." ธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB ไม่เป็นสถาบันการเงินซึ่งมลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะเหตุผลสามประการประกอบกัน ประการที่หนึ่ง คำว่า เป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) หมายถึงเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรงเท่านั้น ไม่หมายรวมถึงการเป็นเจ้าของโดยอ้อมหรือโดยทางอ้อมด้วย ดังจะเห็นได้ว่า ตามความตกลงนี้หากกรณีที่ต้องการให้หมายรวมถึงโดยทางอ้อมด้วยก็จะระบุไว้ชัดเจน ดังที่ระบุไว้ในข้อ 9 และข้อ 23 ประการที่สอง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบข้อ 11 (4) (ก) กับข้อ 11 (4) (ข) แล้วควรมีความสำคัญที่เท่าเทียมหรือเกือบเท่าเทียมกัน ซึ่งตามข้อ 11 (4) (ก) ถ้าดอกเบี้ยได้รับโดยรัฐ มลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนข้อ 11 (4) (ข) ผู้รับดอกเบี้ยมิใช่รัฐ แต่เป็นสถาบันการเงินโดยเป็นสถาบันการเงินซึ่งรัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด การที่รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมดของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจึงควรมีความสำคัญเท่ากับหรือเกือบเท่ากับรัฐตามข้อ 11 (4) (ก) นั่นคือ ต้องเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรงเท่านั้น เพราะหากเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางอ้อมด้วย ความสำคัญของสถาบันการเงินจะมีน้อยกว่ารัฐตามข้อ 11 (4) (ก) มาก เช่น หากรัฐเป็นเจ้าของทางอ้อมด้วย รัฐไม่อาจควบคุมดูแลสถาบันการเงินได้ดีเหมือนกับที่รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรง และประการที่สาม กรณีที่กระทรวงการคลัง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีหนังสือ 2 ฉบับ ตอบมายังจำเลย โดยตอบมารวมความได้ว่า ธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB มีหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นโดยทางอ้อมด้วย จึงไม่ได้เป็นสถาบันการเงินตามข้อ 11 (4) (ข) ที่อาจอ้างสิทธิได้รับยกเว้นภาษีจากแหล่งเงินได้ ซึ่งเมื่อได้พิจารณาเหตุผลสามประการดังกล่าวประกอบกันแล้ว เห็นได้ชัดว่าธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB ไม่เป็นสถาบันการเงินซึ่งมลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรและเงินเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยจำกัดระยะเวลาการคิดเงินเพิ่มตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ฉ มาตรา 112 อัฏฐารส และ ป.รัษฎากร มาตรา 30 มาตรา 88/5 เป็นหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับผู้อุทธรณ์การประเมินที่จะนำคดีมาฟ้องศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์แล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (1) และ มาตรา 8 แต่ในส่วนของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากร หากโจทก์ทั้งสองเห็นว่าโจทก์ทั้งสองได้แจ้งการประเมินภาษีอากรแก่จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวภายในกำหนดตามกฎหมายจึงเป็นหนี้ภาษีอากรเด็ดขาด โจทก์ทั้งสองย่อมใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวได้ คดีนี้แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรที่พิพาทในคดีนี้เกินกำหนดตามกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าจำเลยได้อุทธรณ์การประเมินภาษีอากรภายในกำหนดตามกฎหมายหรือไม่ หากรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีอากรภายในกำหนดตามกฎหมายดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้าง ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรค้างได้ แต่หากรับฟังได้ว่าจำเลยได้อุทธรณ์การประเมินภาษีอากรภายในกำหนดตามกฎหมายแล้ว ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยอ้างเหตุไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดตามกฎหมายนั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลย่อมต้องพิพากษายกฟ้องเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดเสียก่อน การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยได้อุทธรณ์การประเมินภาษีอากรที่พิพาทในคดีนี้ภายในกำหนดตามกฎหมายหรือไม่ แต่กลับวินิจฉัยไปเลยว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจึงไม่ชอบ คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษในคดีที่จำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ว่า จำเลยอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรเกินกำหนดตามกฎหมาย และจำเลยไม่อาจยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินเกินระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดและการประเมินรวมทั้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ขึ้นต่อสู้ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดตามการประเมิน
จำเลยนำเข้าสินค้าระหว่างเดือนธันวาคม 2550 ถึง เดือนตุลาคม 2551 ความรับผิดอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพิพาทเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ยังมีผลใช้บังคับอยู่ โดยตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมาตรา 112 จัตวา มิได้บัญญัติว่าเงินเพิ่มอากรขาเข้าจะต้องไม่เกินอากรขาเข้าที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ดังนี้ เมื่อจำเลยชำระอากรขาเข้าไม่ครบถ้วน โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าได้ตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น โดยไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องไม่เกินอากรขาเข้าที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม แม้ต่อมาวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 จะได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ โดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 22 บัญญัติว่า "...โดยเงินเพิ่มที่เรียกเก็บนี้ต้องไม่เกินอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม..." ก็คงเป็นผลให้โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเฉพาะส่วนที่เกินอากรขาเข้านับแต่วันที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับแล้วได้อีกต่อไปเท่านั้น แต่มิได้เป็นการลบล้างเงินเพิ่มอากรขาเข้าที่เกิดความรับผิดขึ้นแล้ว ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ดังนั้น โจทก์ที่ 1 ย่อมมีสิทธิคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าส่วนที่เกินอากรขาเข้าได้จนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ส่วนเงินเพิ่มอากรขาเข้าที่เกินอากรขาเข้านับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิคำนวณเรียกเก็บดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันฟ้องคือ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 โจทก์ที่ 1 คำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละฉบับเกินอากรขาเข้าที่ต้องเสียเพิ่มแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าได้ต่อไปจนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายเดิมมีผลใช้บังคับเท่านั้น ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 26
จำเลยนำเข้าสินค้าระหว่างเดือนธันวาคม 2550 ถึง เดือนตุลาคม 2551 ความรับผิดอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพิพาทเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ยังมีผลใช้บังคับอยู่ โดยตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมาตรา 112 จัตวา มิได้บัญญัติว่าเงินเพิ่มอากรขาเข้าจะต้องไม่เกินอากรขาเข้าที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ดังนี้ เมื่อจำเลยชำระอากรขาเข้าไม่ครบถ้วน โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าได้ตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น โดยไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องไม่เกินอากรขาเข้าที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม แม้ต่อมาวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 จะได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ โดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 22 บัญญัติว่า "...โดยเงินเพิ่มที่เรียกเก็บนี้ต้องไม่เกินอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม..." ก็คงเป็นผลให้โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเฉพาะส่วนที่เกินอากรขาเข้านับแต่วันที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับแล้วได้อีกต่อไปเท่านั้น แต่มิได้เป็นการลบล้างเงินเพิ่มอากรขาเข้าที่เกิดความรับผิดขึ้นแล้ว ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ดังนั้น โจทก์ที่ 1 ย่อมมีสิทธิคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าส่วนที่เกินอากรขาเข้าได้จนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ส่วนเงินเพิ่มอากรขาเข้าที่เกินอากรขาเข้านับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิคำนวณเรียกเก็บดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันฟ้องคือ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 โจทก์ที่ 1 คำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละฉบับเกินอากรขาเข้าที่ต้องเสียเพิ่มแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าได้ต่อไปจนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายเดิมมีผลใช้บังคับเท่านั้น ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบสั่งจ้างไม่ใช่สัญญาจ้างทำของที่ต้องเสียอากรแสตมป์ หากเป็นเพียงหลักฐานการทำนิติกรรม
ใบสั่งจ้างมีข้อความในตอนต้นของกระดาษว่าคือใบสั่งจ้าง และเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความสำคัญเพียงว่า บริษัท ว. ผู้สั่งจ้าง โจทก์ผู้รับจ้าง วันที่ เลขที่ใบสั่งจ้าง รหัสสินค้า รายการสินค้า จำนวน ราคาต่อหน่วย และจำนวนเงิน แม้จะมีการลงชื่อผู้ว่าจ้างและโจทก์ผู้รับจ้างด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อสัญญาจ้างทำของนั้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือมิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ประกอบกับลักษณะในการประกอบกิจการของโจทก์ที่จะรอคำสั่งจ้างจากผู้ว่าจ้างเป็นลักษณะรายครั้ง เมื่อผู้ว่าจ้างต้องการสั่งจ้างผลิตครั้งใดก็จะมีใบสั่งจ้างทีละครั้ง ทำให้ช่วงเวลาที่โจทก์ผลิตสินค้าเดือนมกราคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 86 ฉบับ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีใบสั่งจ้าง 18 ฉบับ เดือนมีนาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 70 ฉบับ เดือนเมษายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 36 ฉบับ เดือนพฤษภาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 7 ฉบับ เดือนมิถุนายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 9 ฉบับ เดือนกรกฎาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 8 ฉบับ เดือนสิงหาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 11 ฉบับ เดือนกันยายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 9 ฉบับ เดือนตุลาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 10 ฉบับ และเดือนพฤศจิกายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 6 ฉบับ อันแสดงให้เห็นว่าใบสั่งจ้างดังกล่าวเป็นเพียงหลักฐานแห่งการทำนิติกรรม ไม่ใช่หนังสือสัญญาจ้างทำของอันจะต้องเสียอากรตามลักษณะแห่งตราสาร 4 บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 อากรแสตมป์แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด และสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำลอง การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เงินที่ใช้เป็นของโจทก์ แต่ใช้ชื่อนายธนวีร์ จำเลยไม่ต้องรับผิด
ธ. เป็นผู้แจ้งการโอนเงินเข้าบัญชีลูกค้าของจำเลยที่ 1 แก่ จ. เพื่อทำการสั่งซื้อสินค้าเกษตรล่วงหน้า แม้ว่าเงินดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่โอนมาจากบัญชีธนาคารของโจทก์ก็ตาม แต่เชื่อว่าโจทก์ต้องรู้เห็นยินยอมให้ ธ. ใช้เงินดังกล่าวเพื่อทำการสั่งซื้อสินค้าเกษตรล่วงหน้าแก่ จ. แทน เพราะถ้าโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมหรือบอกให้ ธ. ทราบว่าโจทก์ได้โอนเงินจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อลูกค้าของจำเลยที่ 1 ในวันใด เป็นจำนวนเท่าไร ไม่น่าเชื่อว่า ธ. จะแจ้งให้ จ. ทราบและออกใบรับเงินได้อย่างถูกต้อง ขณะที่ จ. ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ากับ ธ. นั้นโจทก์รับรู้ด้วย เมื่อสถานะทางบัญชีซื้อขายของ ธ. ขาดทุน และถูกเรียกเก็บเงินประกันเพิ่มเติม และเป็นหนี้บริษัทจำเลยที่ 1 ธ. ได้ขอให้ จ. โทรศัพท์ไปหาโจทก์เพื่อช่วยพูดถึงสาเหตุที่ ธ. ซื้อขายขาดทุนและเป็นหนี้บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งหากเงินที่นำมาใช้เป็นเงินของ ธ. เองก็ไม่มีความจำเป็นที่ จ. จะต้องโทรศัพท์ไปชี้แจงให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การซื้อขายในบัญชีของ ธ. จ. จึงน่าจะทราบดีว่าเป็นการซื้อขายโดยใช้เงินของโจทก์ และ ธ. น่าจะกระทำการแทนโจทก์ เช่นนี้ถือว่า โจทก์ได้เชิดหรือยอมให้ ธ. เชิดตนเองออกเป็นตัวแทนของตนในการใช้เงินจำนวนพิพาทที่โอนเข้าบัญชีลูกค้าของจำเลยที่ 1 ทำการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแทน โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่า ธ. เป็นตัวแทนของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6128/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดิน การเปลี่ยนแปลงค่าเช่ามาตรฐานกลาง และการพิจารณาปัจจัยตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 มิได้บัญญัติบังคับให้นําค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรง กฎหมายเพียงแต่ให้นํามาเป็นหลักในการคํานวณเท่านั้น เนื่องจากค่ารายปีย่อมอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง และสําหรับค่ารายปีนั้น มาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ให้ความหมายว่า คือ จํานวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทําให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จํานวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดําเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจประเมินค่ารายปีได้ โดยคํานึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ จึงแสดงว่าค่ารายปีที่จะใช้ในการคํานวณภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจที่จะแก้ไขกําหนดใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชําระภาษีได้เมื่อมีเหตุอันสมควร
จําเลยประกาศกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเป็นเวลานานสิบกว่าปี ลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งประกาศดังกล่าวไม่ได้มีการจําแนกประเภททรัพย์สินตามประเภทกิจการ โดยในส่วนของพื้นที่ต่อเนื่อง เช่น ถนนคอนกรีต กําหนดค่าเช่า 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลาดยางแอสฟัลต์ กําหนดค่าเช่า 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน สนามหญ้า ลานดิน กําหนดค่าเช่า 1 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งเป็นการกําหนดเป็นการทั่วไปไม่มีการจําแนกแยกประเภทดังเช่นบัญชีกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรประจําปีภาษี 2560 ที่แบ่งแยกตามประเภทของกิจการและลักษณะการใช้ประโยชน์ โดยบัญชีกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลาง ประจําปีภาษี 2560 ได้แยกประเภททรัพย์สินสําหรับกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้าออกมาโดยเฉพาะในรหัส 13 และในรายการที่ 13.9 คือ ลานใช้ประกอบการ ได้แก่ ลานคอนกรีต ค่าเช่า 8 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลานแอสฟัลต์ ค่าเช่า 10 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลานหินคลุก ค่าเช่า 25 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และลานดิน ค่าเช่า 30 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้าย่อมใช้ลานดังกล่าวในการประกอบกิจการโดยตรง แตกต่างจากทรัพย์สินประเภทอื่นที่ลานคอนกรีต ลานแอสฟัลต์ หรือลานดินเป็นเพียงพื้นที่ต่อเนื่องหรือลานใช้ประโยชน์ ประกอบกับตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการประเมินค่ารายปีเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 1/2559 และรายงานการประชุมปรึกษาหารือผู้ประกอบกิจการลานใช้ประโยชน์ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ /1 2559 ปรากฏว่า ปัจจุบันมีการประกอบกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์จํานวนมากกว่าเดิม ผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์หรือลานจอดรถขนส่งสินค้าเช่าที่ดินทําลานตู้คอนเทนเนอร์อยู่ข้างบ้านเรือนประชาชนจํานวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังได้ความจากคําเบิกความของ พ. ว่าการประกอบกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์ต้องใช้รถบรรทุกในการขนส่งตู้สินค้าก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขต่อประชาชน เกิดเสียงดัง ฝุ่นละออง ปัญหาด้านการจราจรที่มีรถบรรทุกขนส่งตู้สินค้าบนผิวจราจรจํานวนมาก ทําให้พื้นผิวจราจรได้รับผลกระทบอย่างหนักจนชํารุด จําเลยต้องจัดสรรงบประมาณในการบํารุงรักษา ซ่อมแซมพื้นผิวการจราจร และจัดเจ้าหน้าที่ทําความสะอาดพื้นผิวจราจร เห็นได้ว่าเป็นกิจการที่ใช้ทรัพย์สินก่อให้เกิดมลภาวะแก่ชุมชน ซึ่งการกําหนดค่ารายปีนั้น จะต้องคํานึงที่บริการสาธารณะที่ทรัพย์สินได้รับประโยชน์ นอกจากนี้ในการกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางของลานตู้คอนเทนเนอร์ของจําเลยได้เทียบเคียงกับเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ซึ่งมีผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์จํานวนมากเช่นเดียวกับจําเลยมีการกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางของลานหินคลุกประจําปีภาษี 2560 ในอัตรา 30 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทั้งที่เขตพื้นที่ของเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อยู่ห่างจากท่าเรือแหลมฉบังมากกว่าเขตพื้นที่ของจําเลยกลับมีราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางสูงกว่าเขตพื้นที่ของจําเลย พยานหลักฐานจําเลยที่นําสืบมาจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จําเลยกําหนดค่ารายปีและค่าภาษีในส่วนของลานแอสฟัลต์และลานหินคลุกโดยคํานึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามแล้ว
ส่วนที่จําเลยประกาศลดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางสําหรับลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้านั้น เป็นการลดชั่วคราวสําหรับปีภาษี 2561 ถึง 2563 ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการประเมินค่ารายปีเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 1/2560 ก็เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ มิได้เป็นเพราะการกําหนดค่ารายปีของปีภาษี 2560 ไม่ชอบแต่อย่างใด การประเมินและคําชี้ขาดของจําเลยจึงชอบแล้ว
จําเลยประกาศกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเป็นเวลานานสิบกว่าปี ลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งประกาศดังกล่าวไม่ได้มีการจําแนกประเภททรัพย์สินตามประเภทกิจการ โดยในส่วนของพื้นที่ต่อเนื่อง เช่น ถนนคอนกรีต กําหนดค่าเช่า 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลาดยางแอสฟัลต์ กําหนดค่าเช่า 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน สนามหญ้า ลานดิน กําหนดค่าเช่า 1 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งเป็นการกําหนดเป็นการทั่วไปไม่มีการจําแนกแยกประเภทดังเช่นบัญชีกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรประจําปีภาษี 2560 ที่แบ่งแยกตามประเภทของกิจการและลักษณะการใช้ประโยชน์ โดยบัญชีกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลาง ประจําปีภาษี 2560 ได้แยกประเภททรัพย์สินสําหรับกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้าออกมาโดยเฉพาะในรหัส 13 และในรายการที่ 13.9 คือ ลานใช้ประกอบการ ได้แก่ ลานคอนกรีต ค่าเช่า 8 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลานแอสฟัลต์ ค่าเช่า 10 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลานหินคลุก ค่าเช่า 25 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และลานดิน ค่าเช่า 30 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้าย่อมใช้ลานดังกล่าวในการประกอบกิจการโดยตรง แตกต่างจากทรัพย์สินประเภทอื่นที่ลานคอนกรีต ลานแอสฟัลต์ หรือลานดินเป็นเพียงพื้นที่ต่อเนื่องหรือลานใช้ประโยชน์ ประกอบกับตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการประเมินค่ารายปีเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 1/2559 และรายงานการประชุมปรึกษาหารือผู้ประกอบกิจการลานใช้ประโยชน์ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ /1 2559 ปรากฏว่า ปัจจุบันมีการประกอบกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์จํานวนมากกว่าเดิม ผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์หรือลานจอดรถขนส่งสินค้าเช่าที่ดินทําลานตู้คอนเทนเนอร์อยู่ข้างบ้านเรือนประชาชนจํานวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังได้ความจากคําเบิกความของ พ. ว่าการประกอบกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์ต้องใช้รถบรรทุกในการขนส่งตู้สินค้าก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขต่อประชาชน เกิดเสียงดัง ฝุ่นละออง ปัญหาด้านการจราจรที่มีรถบรรทุกขนส่งตู้สินค้าบนผิวจราจรจํานวนมาก ทําให้พื้นผิวจราจรได้รับผลกระทบอย่างหนักจนชํารุด จําเลยต้องจัดสรรงบประมาณในการบํารุงรักษา ซ่อมแซมพื้นผิวการจราจร และจัดเจ้าหน้าที่ทําความสะอาดพื้นผิวจราจร เห็นได้ว่าเป็นกิจการที่ใช้ทรัพย์สินก่อให้เกิดมลภาวะแก่ชุมชน ซึ่งการกําหนดค่ารายปีนั้น จะต้องคํานึงที่บริการสาธารณะที่ทรัพย์สินได้รับประโยชน์ นอกจากนี้ในการกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางของลานตู้คอนเทนเนอร์ของจําเลยได้เทียบเคียงกับเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ซึ่งมีผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์จํานวนมากเช่นเดียวกับจําเลยมีการกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางของลานหินคลุกประจําปีภาษี 2560 ในอัตรา 30 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทั้งที่เขตพื้นที่ของเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อยู่ห่างจากท่าเรือแหลมฉบังมากกว่าเขตพื้นที่ของจําเลยกลับมีราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางสูงกว่าเขตพื้นที่ของจําเลย พยานหลักฐานจําเลยที่นําสืบมาจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จําเลยกําหนดค่ารายปีและค่าภาษีในส่วนของลานแอสฟัลต์และลานหินคลุกโดยคํานึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามแล้ว
ส่วนที่จําเลยประกาศลดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางสําหรับลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้านั้น เป็นการลดชั่วคราวสําหรับปีภาษี 2561 ถึง 2563 ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการประเมินค่ารายปีเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 1/2560 ก็เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ มิได้เป็นเพราะการกําหนดค่ารายปีของปีภาษี 2560 ไม่ชอบแต่อย่างใด การประเมินและคําชี้ขาดของจําเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3986/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ แม้จะถูกล่อซื้อน้ำยาเคมีล้างกระดาษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษจำคุก
ธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมอยู่ในความครอบครองของจำเลยมาแต่แรก เจ้าพนักงานตำรวจค้นพบของกลางทั้งหมดภายในบ้านจำเลย หาได้กระทำการใดอันเป็นการก่อให้จำเลยจัดหามาไว้ในความครอบครองของตนซึ่งธนบัตรปลอมดังกล่าว การล่อซื้อน้ำยาเคมีล้างกระดาษให้กลายเป็นธนบัตรดอลลาร์สหรัฐของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยเท่านั้น มิใช่จำเลยขาดเจตนากระทำความผิดมาแต่แรกแล้วเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำความผิดอันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย การสอบสวนชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยเก็บธนบัตรปลอมไว้ในบ้านจำนวนมากลักษณะที่พร้อมจะนำออกมาใช้เองหรือมอบต่อให้ผู้อื่นใช้ดังเช่นธนบัตรจริง กับนำออกแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ล่อซื้อเพื่อให้หลงเชื่อหรือสนใจซื้อน้ำยาเคมีจากจำเลยด้วย ถือเป็นการมีธนบัตรปลอมไว้ในครอบครองเพื่อนำออกใช้แล้ว
จำเลยเก็บธนบัตรปลอมไว้ในบ้านจำนวนมากลักษณะที่พร้อมจะนำออกมาใช้เองหรือมอบต่อให้ผู้อื่นใช้ดังเช่นธนบัตรจริง กับนำออกแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ล่อซื้อเพื่อให้หลงเชื่อหรือสนใจซื้อน้ำยาเคมีจากจำเลยด้วย ถือเป็นการมีธนบัตรปลอมไว้ในครอบครองเพื่อนำออกใช้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีและเจตนาทุจริต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เมื่อจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตกลงซื้อสินค้าทั้งห้ารายการจากโจทก์ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อของตนและประทับตราของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาท 5 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยมอบให้แก่พนักงานขายของโจทก์ แล้วพนักงานขายของโจทก์ออกใบรับเงินค่าสินค้าทั้งห้ารายการมอบให้แก่จำเลยทั้งสองย่อมก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และมีผลบังคับโดยสมบูรณ์นับแต่เวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์คือการชำระราคาค่าสินค้าที่ซื้อ และโจทก์มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 คือการส่งมอบสินค้าที่ซื้อขาย ส่วนจำเลยที่ 1 กับโจทก์จะตกลงให้ส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายหรือจะชำระราคากันเมื่อใดนั้น ไม่เกี่ยวกับความสมบูรณ์และบังคับได้ของสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตั้งแต่เวลาที่จำเลยทั้งสองกับโจทก์ตกลงทำสัญญาซื้อขายกันดังกล่าว เมื่อความปรากฏว่า โจทก์มอบสินค้าที่ซื้อขายให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 4 รายการ ในวันที่ 12 เมษายน 2561 อันเป็นวันเดียวกับวันที่โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 1 อีก 1 รายการ ในวันที่ 25 เมษายน 2561 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาซื้อขายสินค้าทั้งห้ารายการให้แก่โจทก์ภายในวันที่ลงในเช็คแต่ละฉบับ เมื่อเช็คพิพาททั้งห้าฉบับถูกธนาคารปฏิเสธการใช้เงินเพราะจำเลยทั้งสองเปลี่ยนลายมือชื่อผู้มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คของจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะถึงวันที่ลงในเช็คฉบับที่ 1 เพียง 1 วัน และจำเลยทั้งสองมีคำสั่งห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น และออกเช็คโดยห้ามมิให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริตตามฟ้องโจทก์