คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สาคร ตั้งวรรณวิบูลย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3158/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผงโซลาร์เซลล์เป็นสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มีหน้าที่เสียภาษี
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 6 บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ท่านให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ" และมาตรา 5 บัญญัติว่า "ในพระราชบัญญัตินี้ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น... "โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ" ให้กินความถึงแพด้วย..." เท่านั้น โดยมิได้กำหนดความหมายของสิ่งปลูกสร้างไว้โดยเฉพาะ โดยสภาพของแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ของโจทก์เป็นทรัพย์ที่ใช้อยู่เป็นประจำกับโครงเหล็กฐานรากเพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกัน แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนโครงคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งติดตรึงถาวรอยู่กับพื้นดินเพื่อใช้ในการประกอบกิจการโรงผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายอันก่อให้เกิดรายได้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือนเป็นหลัก จึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 6 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา ความผิดอันยอมความได้ ความสำคัญของการร้องทุกข์ภายในกำหนด
ความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 335 และเป็นการกระทำที่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระทำต่อกัน จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ ตาม ป.อ. มาตรา 71 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 96 การที่โจทก์ร่วมไปดูที่ดินที่โจทก์ร่วมครอบครองทำประโยชน์ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 และพบว่ามีคนลักตัดต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกไว้ในที่ดินดังกล่าว จึงเดินทางไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนในวันเดียวกันนั้นว่าต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ร่วมปลูกไว้ในที่ดินที่โจทก์ร่วมครอบครองทำประโยชน์ถูกลักตัดไปทั้งหมด 40 ไร่ จึงมาแจ้งไว้เพื่อให้สืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีต่อไป และในชั้นนี้ได้ขอลงประจำวันให้เป็นหลักฐานไว้ก่อนนั้น เป็นการที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและการกระทำนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม แม้โจทก์ร่วมยังไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ก็มีความประสงค์ให้เจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีต่อไป และแม้จะมีข้อความว่าในชั้นนี้ได้ขอลงประจำวันให้เป็นหลักฐานไว้ก่อน แต่ก็ชี้ให้เห็นเจตนาของโจทก์ร่วมในขณะนั้นว่า โจทก์ร่วมมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ การแจ้งความดังกล่าวจึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) แม้ภายหลังเมื่อโจทก์ร่วมรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นจำเลยแล้ว แต่เพิ่งไปแจ้งความเพิ่มเติมให้ดำเนินคดีแก่จำเลย รวมทั้งให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2561 หลังรู้ตัวผู้กระทำความผิดหลายปีก็ไม่ทำให้คำร้องทุกข์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 เสียไป เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ร่วมร้องทุกข์ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.อ. มาตรา 96 แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สนับสนุนการค้ายาเสพติดและฟอกเงิน: จำเลยรับโอนเงินจากผู้ค้ายาเสพติดและถอนเพื่อประโยชน์ในการกระทำผิด
จำเลยรับโอนเงินจาก ส. โดยรู้ว่าเป็นค่าเมทแอมเฟตามีนที่ ท. ขายให้ ส. แล้วจำเลยถอนเงินดังกล่าวไปจากบัญชีเงินฝากเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดของ ท. อันเป็นการสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดก่อนหรือขณะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) ซึ่งต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น และเป็นการรับโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น อันเป็นความผิดฐานฟอกเงินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 (1) แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยสมคบหรือตกลงกับ ท. หรือ ส. ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน คงฟังได้ว่าจำเลยสนับสนุนการกระทำความผิดของ ท. เท่านั้น ซึ่งการสนับสนุนนี้ไม่ถือเป็นการสมคบหรือตกลงกับ ท. เพื่อกระทำความผิด เพราะจำเลยไม่มีเจตนาร่วมกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกับ ท. หรืออยู่ในฐานะอันเป็นผู้กระทำความผิดโดยตรงกับ ท. เช่นเป็นผู้ตกลงซื้อเมทแอมเฟตามีนจาก ท. แต่อย่างใด กรณีของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรมของผู้อนุบาลต้องกระทำร่วมกัน หรือได้รับคำสั่งศาลเป็นพิเศษ
ป.พ.พ. มาตรา 1598/18 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1590 บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับแก่ผู้อนุบาล โดยศาลจะตั้งผู้อนุบาลหลายคนให้กระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็ได้ ซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 179/2558 ให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของ ฤ. และจำเลยร่วมกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลฎีกาพิพากษายืนโดยศาลฎีกาให้ ฤ. เป็นผู้มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของโจทก์ ตามคำสั่งศาลระบุเพียงว่า ฤ. และจำเลยเป็นผู้อนุบาลโจทก์ผู้ไร้ความสามารถ โดยมิได้กำหนดหน้าที่ของผู้อนุบาลแต่ละคนไว้โดยเฉพาะและมิได้กำหนดให้ผู้อนุบาลกระทำการร่วมกันอย่างไร ยกเว้นแต่ในเรื่องการกำหนดที่อยู่ที่ศาลฎีการะบุให้ ฤ. เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของโจทก์ได้ กรณีจึงต้องถือว่าการใดที่ ฤ. และจำเลยกระทำการแทนโจทก์รวมถึงการบอกล้างโมฆียะกรรมต้องกระทำด้วยความยินยอมพร้อมใจกัน ดังนั้น การที่โจทก์โดย ฤ. ในฐานะผู้อนุบาลเพียงคนเดียวโดยไม่มีจำเลยร่วมฟ้องเป็นคดีนั้นจึงขัดต่อคำสั่งศาล ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นปฏิปักษ์ต่อทรัพย์ของโจทก์ แต่ ฤ.ไม่อาจอ้างเหตุความเป็นปฏิปักษ์ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวได้เพราะ ฤ. อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถโดยแสดงเหตุขัดข้องดังกล่าว เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ ฤ. เพียงฝ่ายเดียวมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว หรือขอให้ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาลร่วมได้ ดังนั้น โจทก์โดย ฤ. ในฐานะผู้อนุบาลเพียงคนเดียวจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906-2907/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแรงงาน: การจ่ายค่าจ้างล่าช้า ความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และอำนาจศาล
คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ยื่นฎีกาทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริง พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ อ. ร. ส. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่ง ส. ได้ลงชื่ออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ ส. เป็นเพียงผู้พิพากษาที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 อันเป็นการสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้ว ส. มิได้พิจารณาคดีนี้เลย จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ ประกอบกับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ยังเป็นการคัดลอกข้อความตามอุทธรณ์มาทั้งหมด มิได้ระบุว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนใดมีข้อวินิจฉัยผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง กรณีไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนลงไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการจัดส่งคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไปให้ผู้พิพากษาอื่นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ระบุในคำร้องพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 อีก
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 และ 124 บัญญัติให้สิทธิลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้ลูกจ้างได้ บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนาที่จะให้การเยียวยาแก่ลูกจ้างที่นายจ้างไม่จ่ายเงิน ตามพระราชบัญญัตินี้ให้แก่ลูกจ้าง มิใช่บทบัญญัติตัดสิทธิหรือกำหนดขั้นตอนและวิธีการให้ลูกจ้างต้องปฏิบัติเสียก่อนจึงจะดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างแต่ประการใดไม่ ส่วนปัญหาว่าลูกจ้างมีสิทธิฟ้องคดีอาญานายจ้างได้หรือไม่เพียงใด ก็ต้องพิจารณาไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในฐานะนายจ้างของโจทก์ทั้งสองร่วมกันไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงเป็นความผิดฐานไม่จ่ายค่าจ้างให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคหนึ่ง (1), 144 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวง และการไม่มีอำนาจฟ้องของโจทก์
โจทก์และจำเลยไม่มีเจตนาซื้อขายที่ดินกันจริง แต่เป็นการทำสัญญาขึ้นเพื่อให้จำเลยนำไปฟ้องหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างต่อศาลปกครองระยอง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์และจำเลยตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์และจำเลยสมรู้กันทำสัญญาขึ้นโดยไม่มีเจตนาผูกพันกันและทำเพื่อให้จำเลยนำไปฟ้องหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างต่อศาลปกครองระยอง จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การเบิกจ่ายถูกต้องตามระเบียบเท่านั้น แม้มีอนุมัติเบิกจ่ายก่อนหน้า หากไม่มีสิทธิก็ต้องคืน
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
พ.ศ.2545 ข้อ 3 ได้กำหนดว่า “ท้องที่” หมายความว่า
กรุงเทพมหานคร... “ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก” หมายความว่า ท้องที่ที่มีคำสั่งบรรจุเข้ารับราชการเป็นครั้งแรก...
และข้อ 7 ได้กำหนดว่า ภายใต้บังคับข้อ 16 และข้อ
17 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่จ่ายจริงตามสมควรแก่สภาพแห่งบ้าน
แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้...
(3) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก...
แสดงว่า ข้าราชการที่จะมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จะต้องเป็นกรณีที่ผู้นั้นได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่นอกเหนือกรุงเทพมหานคร
แม้โจทก์จะมีคำสั่งให้จำเลยได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการครั้งแรกตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศาลปกครอง 3 กลุ่มงานคดีปกครอง
สำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค 9 (ยะลา) ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2544 ก็ตาม
แต่สำนักงานดังกล่าวยังไม่ได้เปิดทำการ โจทก์จึงมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติราชการที่สำนักงานศาลปกครองในส่วนกลางที่สำนักงานส่งเสริมงานคดีปกครอง
สำนักงานศาลปกครองกลางที่กรุงเทพมหานครไปพลางก่อน
ต่อมาโจทก์มีคำสั่งย้ายให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค
5 (นครศรีธรรมราช) ตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง 3 กลุ่มงานคดีปกครอง แต่ขณะนั้นสำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค
5 (นครศรีธรรมราช) ยังไม่เปิดทำการ จำเลยจึงยังคงปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานศาลปกครองในส่วนกลาง
ที่สำนักงานส่งเสริมงานคดีปกครองตลอดมา จากข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยไม่เคยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในท้องที่นอกเหนือกรุงเทพมหานครอย่างแท้จริงแต่อย่างใด
จำเลยจึงย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามระเบียบดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้รับคำสั่งให้บรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการครั้งแรกที่สำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค
9 (ยะลา) ก็ตาม แต่เพียงการที่จำเลยได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มรับราชการครั้งแรกในจังหวัดอื่นนอกเหนือจากกรุงเทพมหานครนั้น
ก็ยังไม่ก่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ เพราะสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สำคัญที่ว่าข้าราชการผู้นั้นจะต้องได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานนอกเหนือกรุงเทพมหานครด้วย
เมื่อจำเลยมิได้รับคำสั่งในลักษณะดังกล่าว จำเลยจึงย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6679/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายพร้อมค้ำประกัน: โจทก์ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน จำเลยมีหน้าที่ติดตามเอารถเอง
จำเลยทั้งสองผู้รับซื้อสินค้าทำสัญญากับโจทก์ผู้ให้เช่าเพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ของบริษัท ส. ผู้เช่า และตกลงว่า ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาเช่า ผู้รับซื้อสินค้าตกลงผูกพันตนร่วมกันกับผู้เช่า เพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้เช่าโดยซื้อทรัพย์สินจากผู้ให้เช่าในราคาตามที่ระบุไว้ รวมด้วยจำนวนหนี้ที่ค้างชำระและบรรดาหนี้เงินที่ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องชำระให้แก่ผู้ให้เช่า โดยให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้รับซื้อสินค้า เมื่อผู้รับซื้อสินค้าได้ชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าเสร็จสิ้นแล้ว ผู้รับซื้อสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบทุกอย่างแต่เพียงฝ่ายเดียวในการดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการรับโอน การเก็บรักษาทรัพย์สิน การยึดทรัพย์สินจากความครอบครองของผู้เช่า และการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินมาอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า ผู้รับซื้อสินค้า หรือของบุคคลอื่นตามที่ผู้ให้เช่ากำหนด แล้วแต่กรณีตลอดจนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ผู้รับซื้อสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียวในบรรดาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้ ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้รับซื้อสินค้ามีหน้าที่ต้องชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ให้เช่า และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่ผู้รับซื้อสินค้าเมื่อผู้รับซื้อสินค้าได้ชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าเสร็จสิ้นแล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระราคารถขุดตีนตะขาบที่เช่าตามสัญญารับซื้อสินค้าพร้อมค่าปรับ หากจำเลยทั้งสองชำระราคารถให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์และเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองในการยึดรถจากความครอบครองของบริษัท ส. หรือการเคลื่อนย้ายรถมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง และการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญารับซื้อสินค้า สัญญารับซื้อสินค้าไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถแก่จำเลยทั้งสอง แต่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองผู้รับซื้อสินค้าเอง ซึ่งมีผลบังคับได้ เมื่อโจทก์เลือกใช้สิทธิดังกล่าวแล้วโดยมิได้เลือกใช้สิทธิที่จะนำรถไปขายให้แก่บุคคลอื่น จำเลยทั้งสองก็ต้องผูกพันและมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา โดยชำระราคาและติดตามรถเอง โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถแก่จำเลยทั้งสอง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ส่งมอบรถแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่ถูกต้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและหน้าที่การสืบพยานประกอบ, การลดโทษ, และการริบของกลางในคดีปลอมแปลงเงินตรา
แม้ศาลชั้นต้นนำแบบพิมพ์คำให้การจำเลย (คดีรับสารภาพไม่ต้องสืบพยาน) มาใช้ แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาที่อยู่ด้านหลังแบบพิมพ์ ปรากฏว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณาให้รอฟังคำพิพากษาวันนี้ โดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว ซึ่งหากโจทก์เห็นว่าการที่จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์จะต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานโจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน โจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชอบแล้ว คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2562 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพจำเลยและการพิจารณาคดีอาญา ศาลต้องตรวจสอบพยานหลักฐานแม้จำเลยรับสารภาพ และการลดโทษที่เหมาะสม
แม้ศาลชั้นต้นจะนำแบบพิมพ์คำให้การจำเลย (คดีรับสารภาพไม่ต้องสืบพยาน) มาใช้แต่ก็ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่อยู่ด้านหลังแบบพิมพ์คำให้การดังกล่าวว่า นัดสอบคำให้การวันนี้ โจทก์และจำเลยมาศาล ก่อนเริ่มพิจารณาศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงว่าไม่มีและไม่ต้องการทนายความ อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณาให้รอฟังคำพิพากษาวันนี้ และได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยฟังในวันนั้นเอง โดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว ดังนี้ หากโจทก์เห็นว่าการที่จำเลยให้การรับสารภาพ แล้วโจทก์จะต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานโจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน โจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชอบแล้วคดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตราเพื่อให้เป็นธนบัตรซึ่งรัฐบาลออกใช้ตาม ป.อ. มาตรา 240 โดยใช้เครื่องพิมพ์ของกลางพิมพ์ธนบัตรปลอมออกมา เครื่องพิมพ์ของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดฐานดังกล่าว และเครื่องพิมพ์ของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ศาลย่อมไม่มีอำนาจสั่งริบให้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 32 จึงให้คืนแก่เจ้าของ
of 5