คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1111

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049-7057/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องยื่นภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งขาดนัด การส่งหมายเรียกโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เท่านั้น
ศาลแรงงานมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วได้กำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยยอมรับในคำร้องว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ในหนังสือจดทะเบียนของจำเลย จึงเป็นที่ตั้งสำนักงานอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 68, 1111 แม้จำเลยจะมีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 33 ก็เป็นกรณีจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง การส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยการปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 แล้วเมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 การที่จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049-7057/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกคดีแรงงานโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง การยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาต้องภายใน 7 วัน
ศาลแรงงานมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธี ปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 อันเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยยอมรับในคำร้องว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ในหนังสือจดทะเบียนของจำเลยจึงเป็นที่ตั้งสำนักงานอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68,1111 แม้จำเลย จะมีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 33 ก็เป็นกรณีจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่งการส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยการปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 ประกอบ มาตรา 79 ต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มาและศาลแรงงานได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของ โจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด แต่จำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนที่ลาออก: การกระทำของกรรมการที่พ้นสภาพแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส.ช.และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช. ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการลาออก, ตัวแทน, ผลการเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อบุคคลภายนอก
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส. ช. และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช.ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีโดยใช้ตราบริษัทที่จดทะเบียน แม้ขนาดเล็กกว่าก็ใช้ได้หากเป็นตราที่ใช้ประจำ
ตราสำคัญของบริษัทโจทก์ที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตราสำคัญซึ่งได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แม้จะมีขนาดเล็กกว่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ และเป็นตราที่โจทก์ใช้ในกิจการทั่ว ๆ ไปเป็นประจำทั้งกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ยืนยันว่าเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดี: ตราประทับบริษัทใช้ได้แม้ขนาดเล็กกว่าที่จดทะเบียน หากเป็นตราที่ใช้ในกิจการทั่วไป
ตราสำคัญของบริษัทโจทก์ที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตราสำคัญซึ่งได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แม้จะมีขนาดเล็กกว่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ และเป็นตราที่โจทก์ใช้ในกิจการทั่ว ๆ ไปเป็นประจำทั้งกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ยืนยันว่าเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร การปฏิเสธคำอุทธรณ์เนื่องจากกรรมการลงชื่อไม่ครบ และการตรวจสอบบัญชีจากผู้ขายปลีก
โจทก์ให้การในชั้นตรวจสอบไต่สวนต่อเจ้าพนักงานประเมินรับรองว่าจะนำหลักฐานการขายรถยนต์ของตัวแทนโจทก์มามอบให้เจ้าพนักงานประเมินจนครบถ้วนแล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำรับรองดังนี้ คำรับรองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และจะนำประมวลรัษฎากร มาตรา 21 มาใช้บังคับแก่โจทก์หาได้ไม่ โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินได้ บัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการจากโจทก์นั้น ผู้แทนจำหน่ายซึ่งเป็นบุคคลต่างหากจากโจทก์เป็นผู้จัดทำและเก็บรักษาและเอกสารดังกล่าวไม่มีที่โจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ไม่ส่งเอกสารดังกล่าวตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์การประเมิน คำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ลงชื่อกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทโจทก์ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนไว้ แต่เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมรับโดยมิได้ท้วงติงและรับวินิจฉัยให้โจทก์ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาคำอุทธรณ์นั้นโดยมิได้โต้แย้งจึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันคำอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่เสียไป จำเลยจะอ้างว่าคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไม่ชอบและถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่มีอำนาจฟ้อง หาได้ไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1111 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดว่า ในการจดทะเบียนบริษัทนั้น ใบทะเบียนจะต้องมีข้อความตามที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มิใช่เป็นแบบที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับผู้มีอำนาจกระทำในนามนิติบุคคลแต่อย่างใด ดังนั้น แม้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำในนามบริษัทโจทก์ลงชื่อในคำอุทธรณ์การประเมินไม่ครบถ้วนก็หาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 115 ไม่ เมื่อบริษัทโจทก์ให้สัตยาบันแล้ว คำอุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง: ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่มีสิทธิฟ้องแทนบริษัท
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร. จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่งให้ควบคุมบริษัท ร. แล้วตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเสนอรายงานต่อจำเลยที่ 8 ว่าบริษัท ร. ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 8 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นจึงสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทร. ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยเพิกถอนเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการกระทำต่อบริษัท ร. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากโจทก์ทั้งสองผู้ที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ก็คือบริษัทร. ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท ร. ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น/กรรมการ: ความเสียหายต้องเกิดต่อนิติบุคคลโดยตรง ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น/กรรมการ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร. จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่งให้ควบคุมบริษัทร. แล้วตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเสนอรายงานต่อจำเลยที่ 8 ว่าบริษัท ร. ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 8ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นจึงสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทร. ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยเพิกถอนเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการกระทำต่อบริษัท ร. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากโจทก์ทั้งสองผู้ที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ก็คือบริษัทร. ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท ร. ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นภาษีโรงเรือนสำหรับอาคารที่ใช้เป็นสำนักงานของบริษัท แม้เจ้าของอาคารจะอยู่เองบางส่วน
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 10ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2475 มาตรา 3 โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ที่กฎหมายให้งดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน ตามบทบัญญัติแห่งภาค 1 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้แก่โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่รักษาและมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบอุตสาหกรรม โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเจ้าของอยู่และใช้เป็นร้านค้า หรือสถานที่ประกอบการค้าด้วย หาได้รับงดเว้นจากการที่จะต้องเสียภาษีโรงเรือนไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้าน้ำมันและผลิตภณฑ์ปิโตรเลี่ยมต่างๆโดบใช้ตึกพิพาททั้งหมด เป็นสถานที่บริหารงานและติดต่อธุรกิจการค้า แม้โจทก์จะเก็บสินค้าน้ำมันและตั้งโรงกลั่นน้ำมันอยู่ที่อื่น การบริหารงานอันเป็นส่วนสำคัญหรือหัวใจของการค้าน้ำมันของโจทก์ย่อมอยู่ที่ตึกพิพาทได้ชื่อว่าโจทก์ใช้ตึกพิพาทเป็นที่ดำเนินธุรกิจการค้า เมื่อโจทก์ใช้ตึกพิพาทประกอบธุรกิจการค้าแล้วโจทก์จะอยู่เองหรือไม่ ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับการงดเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามบทกฎหมายข้างต้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 658/2489)
of 4