คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1111

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานรายชื่อผู้ถือหุ้นจากรายงานการประชุมบริษัทที่ราชการรับรองมีผลผูกพัน การโอนหุ้นไม่สมบูรณ์เป็นโมฆะ
สำเนารายชื่อผู้ถือหุ้นตามรายงานการประชุมตั้งบริษัทซึ่งทางราชการรับรองและส่งมาในคดี ถือว่าแท้จริงรับฟังได้
ผู้ถือหุ้นอ้างว่าโอนหุ้นระบุชื่อแล้ว แต่ไม่ทำตาม มาตรา 1129 เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในเช็คของหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และอำนาจกรรมการลงลายมือชื่อ
จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยมูลหนี้อะไร และโจทก์ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังที่จำเลยให้การตัดฟ้อง จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายหรือนำสืบถึงมูลหนี้เช็คตามฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่บริษัทโจทก์จดทะเบียนว่า กรรมการสองนายมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท หมายความว่า กรรมการ 2 คน ไม่ว่าชายหรือหญิงร่วมกันลงชื่อแทนบริษัทโจทก์ได้
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จำเลยจึงต้องรับผิดตามเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2), 900

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งกรรมการใหม่ ทำให้กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารกิจการต่อไป
บริษัท ส. ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย ในการนี้ได้จดทะเบียนรายชื่อกรรมการของบริษัทครั้งหลังที่สุด คือเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ไว้ว่ามีกรรมการ 7 คน คือจำเลยทั้งเจ็ดคนนี้ซึ่งเป็นกรรมการชุดที่ได้รับเลือกจากมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2508 จึงถือได้ว่ากรรมการชุดจำเลยนี้เป็นกรรมการของบริษัทที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ได้มีการประชุมใหญ่ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นอีก 7 คน คือกรรมการชุดโจทก์ แต่ได้มีการคัดค้าน และ ท. กับพวก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 อ้างว่าเป็นการประชุมใหญ่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ปรากฏตามคดีแพ่งดำที่ 132/2509 ซึ่งคดีดังกล่าวได้เด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ที่ตั้งกรรมการใหม่คือกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทเสีย ฉะนั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ซึ่งตั้งกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทในภายหลังการแต่งตั้งกรรมการชุดจำเลยเพื่อบริหารกิจการของบริษัทแทนกรรมการชุดจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนเสียเช่นนี้แล้ว ก็เท่ากับไม่มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนกรรมการชุดจำเลย กรรมการชุดจำเลยซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่และนายทะเบียนได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็มีสิทธิและอำนาจที่จะบริหารกิจการของบริษัทได้โดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งกรรมการใหม่ ทำให้กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารบริษัทต่อไป
บริษัท ส. ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไว้โดยชอบด้วยกฎหมายในการนี้ได้จดทะเบียนรายชื่อกรรมการของบริษัทครั้งหลังที่สุด คือเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ไว้ว่ามีกรรมการ 7 คน คือจำเลยทั้งเจ็ดคนนี้ซึ่งเป็นกรรมการชุดที่ได้รับเลือกจากมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2508 จึงถือได้ว่ากรรมการชุดจำเลยนี้เป็นกรรมการของบริษัทที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ได้มีการประชุมใหญ่ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นอีก 7 คนคือกรรมการชุดโจทก์ แต่ได้มีการคัดค้านและ ท. กับพวก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509อ้างว่าเป็นการประชุมใหญ่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทปรากฏตามคดีแพ่งดำที่ 132/2509 ซึ่งคดีดังกล่าวได้เด็ดขาดถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ที่ตั้งกรรมการใหม่คือกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทเสีย ฉะนั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ซึ่งตั้งกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทในภายหลังการแต่งตั้งกรรมการชุดจำเลยเพื่อบริหารกิจการของบริษัทแทนกรรมการชุดจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนเสียเช่นนี้แล้วก็เท่ากับไม่มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนกรรมการชุดจำเลย กรรมการชุดจำเลยซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่และนายทะเบียนได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วก็มีสิทธิและอำนาจที่จะบริหารกิจการของบริษัทได้โดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นซองประกวดราคาถือเป็นการยอมรับเงื่อนไข การถอนซองหลังยื่นถือเป็นการผิดสัญญา
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์ (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นของประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการ ต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้ โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด...ฯลฯ... "หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนของประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า "เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด" เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯ จะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึกก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด นั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว จะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้ และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเสนอราคาหลังยื่นซองประกวดราคา ถือเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญา และการฟ้องธนาคารต้องฟ้องบริษัทแม่
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์(องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า 'เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ.... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด....ฯลฯ.....' หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนซองประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า'เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด' เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นไว้ต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯจะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึก ก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัดนั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้วจะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและแต่งทนายต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท หากไม่ถูกต้อง แม้จะยื่นคำร้องรับรองก็ไม่สมบูรณ์
เมื่อข้อบังคับของบริษัทระบุว่าในการลงชื่อทำการแทนบริษัทต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อแต่บริษัทโจทก์ฟ้องโดยมีกรรมการคนเดียวลงชื่อแต่งทนายเมื่อจำเลยตัดฟ้องว่ากรรมการผู้เดียวไม่มีอำนาจกรรมการสองคนของบริษัทโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการกระทำของทนายโจทก์และเพียงแต่ขอให้ศาลทราบไว้เท่านั้นไม่แต่งทนายเข้ามาใหม่ให้ถูกต้องอำนาจดำเนินคดีของทนายโจทก์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยกรรมการผู้เดียวยังคงบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่เช่นเดิมศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการแต่งทนายที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การดำเนินคดีเป็นโมฆะ
เมื่อข้อบังคับของบริษัทระบุว่า ในการลงชื่อทำการแทนบริษัทต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อ แต่บริษัทโจทก์ฟ้องโดยมีกรรมการคนเดียวลงชื่อแต่งทนาย เมื่อจำเลยตัดฟ้องว่ากรรมการผู้เดียวไม่มีอำนาจ กรรมการสองคนของบริษัทโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการกระทำของทนายโจทก์และเพียงแต่ขอให้ศาลทราบไว้เท่านั้น ไม่แต่งทนายเข้ามาใหม่ให้ถูกต้อง อำนาจดำเนินคดีของทนายโจทก์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยกรรมการผู้เดียวยังคงบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่เช่นเดิม ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่กรรมการบริษัท, ความถูกต้องของบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น, และผลผูกพันตามกฎหมาย
ตามบันทึกรายงานการประชุม งบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ส่งต่อกองทะเบียนหุ้นส่วน ปรากฏว่า ผู้ร้องลงชื่อเป็นประธานในที่ประชุมและลงชื่อรับรองในฐานะกรรมการไว้ในงบดุลด้วย และตามบัญชีผู้ถือหุ้นนั้นปรากฏว่า ผู้ร้องถือหุ้นบุริมสิทธิ์ 20 หุ้น และหุ้นสามัญ 226 หุ้น ดังนี้ ผู้ร้องจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็นและไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นตามบัญชีที่ปรากฏอยู่ที่นายทะเบียนนั้นหาได้ไม่
เอกสารต่าง ๆ ของบริษัทซึ่งต้องส่งต่อนายทะเบียนนั้น กรรมการลงชื่อรับรองเพียงคนเดียวก็ใช้ได้
การคืนหุ้นจะทำได้ก็โดยวิธีโอน ซึ่งต้องกระทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนในสมุดทะเบียนของบริษัทจึงจะใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่กรรมการบริษัท, ความถูกต้องของบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น, และผลผูกพันตามเอกสารที่ส่งนายทะเบียน
ตามบันทึกรายงานการประชุม งบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ส่งต่อกองทะเบียนหุ้นส่วน ปรากฏว่า ผู้ร้องลงชื่อเป็นประธานในที่ประชุมและลงชื่อรับรองในฐานะกรรมการไว้ในงบดุลย์ด้วยและตามบัญชีผู้ถือหุ้นนั้นปรากฏว่าผู้ร้องถือหุ้นบุริมสิทธิ 20 หุ้น และหุ้นสามัญ 226 หุ้น ดังนี้ ผู้ร้องจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็นและไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นตามบัญชีที่ปรากฏอยู่ที่นายทะเบียนนั้นหาได้ไม่
เอกสารต่างๆ ของบริษัทซึ่งต้องส่งต่อนายทะเบียนนั้นกรรมการลงชื่อรับรองเพียงคนเดียวก็ใช้ได้
การคืนหุ้นจะทำได้ก็โดยวิธีโอน ซึ่งต้องกระทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนในสมุดทะเบียนของบริษัทจึงจะใช้ได้
of 4