คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประถม วิเชียรเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างเริ่มต้นเมื่อผู้ว่าจ้างรับมอบงาน และการเรียกเบี้ยปรับจากผู้รับจ้างที่ทำงานล่าช้า
สินจ้างสำหรับการก่อสร้างจะได้รับต่อเมื่อผู้ว่าจ้างรับมอบงาน อายุความตาม มาตรา 165(1) นับตั้งแต่วันรับมอบงาน ไม่ใช่วันที่ทำงานเสร็จ
ผู้รับจ้างทำงานช้าเกินกำหนด ผู้ว่าจ้างไม่เลิกสัญญาก็ได้ และเรียกเบี้ยปรับได้ตลอดมา ซึ่งศาลลดจำนวนลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709-1710/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มอบนาทำต่างดอกเบี้ย การเปลี่ยนลักษณะการครอบครองเป็นสำคัญ หากไม่เปลี่ยน แม้เกิน 1 ปี ก็เรียกคืนได้
มอบนามือเปล่าให้ทำต่างดอกเบี้ย เป็นการครอบครองแทน ถ้าไม่เปลี่ยนลักษณะการครอบครอง แม้เกิน 1 ปีก็เรียกคืนได้ฟ้องและคำให้การอ้างว่าซื้อและทำนาต่างดอกเบี้ย ไม่มีข้ออ้างว่ามอบนาให้ทำต่างดอกเบี้ยแล้วเปลี่ยนลักษณะการครอบครอง ไม่มีประเด็น ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่ว่าจำเลยขอไถ่คืน โจทก์ว่าซื้อแล้วไม่ยอมให้ไถ่ จึงฟังว่าเปลี่ยนลักษณะการครอบครองไม่ได้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิให้เช่าทรัพย์: เจ้าของกรรมสิทธิ์ vs. สิทธิอื่น & ความสำคัญของการพิสูจน์สิทธิให้เช่า
ในเรื่องเช่าทรัพย์ แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ให้เช่าจะต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่าจึงเป็นผู้ให้เช่าได้ก็จริงอยู่ แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยปรากฏในเอกสารสัญญาเช่าท้ายฟ้องระบุชัดว่า ห้องพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ได้กล่าวถึงสิทธิอื่น เป็นการยืนยันว่าโจทก์มีอำนาจให้เช่าเพราะโจทก์เป็นเจ้าของแต่อย่างเดียว จำเลยจึงให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องพิพาท จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์เพราะสำคัญผิดว่าโจทก์มีสิทธิให้จำเลยเช่า ความจริงโจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่าห้องพิพาท และไม่มีสิทธิเก็บค่าเช่า ทั้งจำเลยได้เอาค่าเช่าไปชำระแก่เจ้าของแท้จริงโดยตรงแล้ว มิ่ได้ผิดนัดสัญญา ดังนี้ ศาลควรจะต้องฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า หากโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิให้เช่าห้องพิพาทได้หรือไม่ นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1166-1168/2509

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจให้เช่าทรัพย์สิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์ vs. สิทธิอื่น ต้องฟังข้อเท็จจริงก่อนพิพากษา
ในเรื่องเช่าทรัพย์นั้น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ให้เช่าจะต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่าจึงเป็นผู้ให้เช่าได้ก็จริงอยู่ แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยปรากฏในเอกสารสัญญาเช่าท้ายฟ้องระบุชัดว่า ห้องพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ได้กล่าวถึงสิทธิอื่น เป็นการยืนยันว่าโจทก์มีอำนาจให้เช่าเพราะโจทก์เป็นเจ้าของแต่อย่างเดียว จำเลยจึงให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องพิพาท จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์เพราะสำคัญผิดว่าโจทก์มีสิทธิให้จำเลยเช่า ความจริงโจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่าห้องพิพาท และไม่มีสิทธิเก็บค่าเช่าทั้งจำเลยได้เอาค่าเช่าไปชำระแก่เจ้าของแท้จริงโดยตรงแล้ว มิได้ผิดนัดผิดสัญญา ดังนี้ ศาลควรจะต้องฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า หากโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์โจทก์มีสิทธิให้เช่าห้องพิพาทได้หรือไม่ ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1166-1168/2509

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากละเมิด-ผู้รับประกันภัยฟ้องได้ทันที: ไม่ต้องทวงถามก่อนฟ้อง
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 เจ้าหนี้หาจำต้องเตือนหรือทวงถามก่อนฟ้องไม่
เจ้าของรถที่ถูกชนอื่นชนเสียหายโดยละเมิด ย่อมเป็นเจ้าหนี้และชอบที่จะฟ้องผู้ขับรถอื่นที่ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดนั้นได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ใช้ค่าเสียหายก่อน ผู้รับประกันภัยรถที่ถูกชนซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าของรถนั้นไปแล้ว ก็ชอบที่จะเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ และชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นในนามของตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 880 ดังนั้น ผู้รับประกันภัยจึงฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้โดยหาจำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามเสียก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิฟ้องผู้ทำละเมิดและนายจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องทวงถามหนี้
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 206เจ้าหนี้หาจำต้องเตือนหรือทวงถามก่อนฟ้องไม่
เจ้าของรถที่ถูกรถอื่นชนเสียหายโดยละเมิด ย่อมเป็นเจ้าหนี้และชอบที่จะฟ้องผู้ขับรถอื่นที่ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดนั้นได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ใช้ค่าเสียหายก่อนผู้รับประกันภัยรถที่ถูกชนซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าของรถนั้นไปแล้วก็ชอบที่จะเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้และชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นในนามของตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 880ดังนั้นผู้รับประกันภัยจึงฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้โดยหาจำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามเสียก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์/รับของโจร เป็นยักยอกทรัพย์ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ดูแลศาสนสมบัติของวัด
พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์/รับของโจรเป็นยักยอก เนื่องจากผู้ดูแลรักษาคือเจ้าอาวาส และการกระทำเข้าข่ายยักยอกทรัพย์
พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วยข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองแล้วโอนที่ดิน ถือเป็นการให้สิ่งที่มีภารติดพัน ไม่อาจถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณ
ที่ดินมีจำนอง ผู้รับให้ออกเงินไถ่จำนองแล้วผู้ให้โอนที่ดินได้ในวันเดียวกัน เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน ถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขององค์กร, อายุความละเมิด, และขอบเขตอำนาจของผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการมอบอำนาจดำเนินคดี
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็รับวินิจฉัยได้
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าราชการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่าง ของที่ขาดหายไปยังไม่ทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะถึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะถึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
of 17