พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ และการนับอายุความละเมิดจากวันที่ทราบผลสอบสวน
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็รับวินิจฉัยได้
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใดๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่างของที่ขาดหายไปยังไม่อาจทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีอำนาจเป็นผู้กระทำการในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อการนี้ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจให้บุคคลใดๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ตามความในมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นเรื่องแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิ่งของที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยมีหลายอย่างของที่ขาดหายไปยังไม่อาจทราบได้ว่าอะไรขาดหายไปอย่างไรบ้าง และใครบ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ โจทก์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเพื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คณะกรรมการทำการสอบสวนแล้วรายงานให้โจทก์ทราบ ดังนั้น การนับอายุความละเมิดจึงต้องถือเอาวันที่โจทก์รับทราบผลการสอบสวนเป็นวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งให้พักราชการจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถออกจากถนนต้องตรวจสอบความปลอดภัยก่อน หากชนกับรถที่ขับช้า ถือเป็นความประมาทเลินเล่อ
รถยนต์ที่ออกจากถนนที่มีป้ายจราจรให้หยุดปักอยู่ต้องดูว่าเป็นการปลอดภัย เมื่อชนกับรถที่ขับมาช้าๆ เหมาะสมกับเหตุการณ์ รถคันแรกประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียวค่าเสียหายที่ต้องรับผิดรวมถึงค่าขาดประโยชน์ในระหว่างที่ตำรวจยึดรถไว้ในการสอบสวนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางนากับไม้ยาง
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5 บัญญัติว่า ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้ห่วงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางนาถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 ไม้ยางนาจึงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ไม้ยาง' และ 'ไม้ยางนา' ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และการกำหนดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5 บัญญัติว่า ไม่สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาเมื่อไม้ยางนาถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชบกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 ไม้ยางนาจึงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการสืบพยาน
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจดทะเบียนผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ 3 คน โดยไม่มีข้อจำกัดอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจัดการห้างหุ้นส่วนได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1035 หุ้นส่วนผู้จัดการ 2 คนลงชื่อในใบแต่งทนายก็ใช้ได้หาจำเป็นต้องให้หุ้นส่วนผู้จัดการทั้งสามร่วมทำการแทนไม่
จำเลยขอเลื่อนการสืบพยานครั้งแรกอ้างว่าทนายความคนหนึ่งป่วยทนายความอีกคนหนึ่งไปเป็นพยานที่อื่น ครั้งที่สองและสามอ้างว่าจำเลยป่วยในวันสืบพยานทุกครั้งไม่มีพยานจำเลยมาศาล และจำเลยมิได้จัดการขอหมายเรียกพยานมาด้วย โดยเฉพาะในวันสืบพยานครั้งที่สองศาลสั่งว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใดๆ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
จำเลยขอเลื่อนการสืบพยานครั้งแรกอ้างว่าทนายความคนหนึ่งป่วยทนายความอีกคนหนึ่งไปเป็นพยานที่อื่น ครั้งที่สองและสามอ้างว่าจำเลยป่วยในวันสืบพยานทุกครั้งไม่มีพยานจำเลยมาศาล และจำเลยมิได้จัดการขอหมายเรียกพยานมาด้วย โดยเฉพาะในวันสืบพยานครั้งที่สองศาลสั่งว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใดๆ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินจากการมอบหมายให้ซื้อของ – อายุความสิบปี
โจทก์มอบเงินให้จำเลยไปซื้อแร่ให้โจทก์ เมื่อไม่ได้มีการซื้อแร่ด้วยประการใดก็ต้องคืนโจทก์ เพราะเป็นเงินของโจทก์มอบให้จำเลยไปจัดการแทน หาใช่เป็นเงินที่จำเลยออกแทนโจทก์ไปก่อนตามความหมายของคำว่าทดรองไม่ มูลหนี้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเอาทรัพย์ที่มอบให้จำเลยไว้คืนจากจำเลย ซึ่งมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องเดียวกัน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ากรรมการผู้จัดการของโจทก์ลงชื่อในใบแต่งทนายความโดยไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยมูลคดี โจทก์ฟ้องคดีใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องเดียวกัน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ากรรมการผู้จัดการของโจทก์ลงชื่อในใบแต่งทนายความโดยไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยมูลคดี โจทก์ฟ้องคดีใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับมรดกและสินสมรส ผลผูกพันและข้อยกเว้น
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลขอแบ่งมรดก คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคนละคนกัน จำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยในคดีนี้ก็ด้วยการที่ศาลเรียกให้เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
การที่ทายาทของผู้ตายรวมทั้งจำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงของทายาทว่า ทายาททุกคนไม่ถือว่าจะต้องแบ่งทรัพย์กันตามพินัยกรรมแต่หากต่างตกลงแบ่งกันตามที่เห็นสมควรเพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แต่ละฝ่ายจึงได้สิทธิตามที่ได้แสดงไว้ในสัญญานั้น และแม้ทรัพย์บางส่วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะเป็นสินสมรสส่วนของจำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็มิใช่เป็นการที่จำเลยที่ 2 ยกสินสมรสส่วนของตนให้ผู้อื่นจึงไม่ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการยกให้
การที่ทายาทของผู้ตายรวมทั้งจำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงของทายาทว่า ทายาททุกคนไม่ถือว่าจะต้องแบ่งทรัพย์กันตามพินัยกรรมแต่หากต่างตกลงแบ่งกันตามที่เห็นสมควรเพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แต่ละฝ่ายจึงได้สิทธิตามที่ได้แสดงไว้ในสัญญานั้น และแม้ทรัพย์บางส่วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะเป็นสินสมรสส่วนของจำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็มิใช่เป็นการที่จำเลยที่ 2 ยกสินสมรสส่วนของตนให้ผู้อื่นจึงไม่ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการยกให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันต่อสินสมรส: กรณีแบ่งทรัพย์มรดก
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ให้แบ่งมรดก คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วยนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน เพราะจำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยในคดีนี้ก็ด้วยการที่ศาลชั้นต้นเรียกให้เข้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 2 ได้ทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนที่เป็นของจำเลยที่ 2 ให้แก่ทายาท ต่อมาจำเลยที่ 2 และทายาทอื่น ๆ ได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์ทั้งหมดรวมทั้งสิ้นของจำเลยที่ 2 ให้แก่ทายาทรวมทั้งตัวของจำเลยที่ 2 ด้วยโดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ กำหนดส่วนที่ทายาทแต่ละคนจะได้รับ พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าทายาทของผู้ตายไม่ถือว่าจะต้องแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม แต่หากต่างตกลงแบ่งกันตามที่เห็นสมควร เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันได้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และแต่ละฝ่ายจึงได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้น และถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมตกลงด้วยในฐานะที่เป็นภรรยาของผู้ตายและฐานะเป็นทายาทด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ยกสินสมรสส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดสำหรับการยกให้
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 2 ได้ทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนที่เป็นของจำเลยที่ 2 ให้แก่ทายาท ต่อมาจำเลยที่ 2 และทายาทอื่น ๆ ได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์ทั้งหมดรวมทั้งสิ้นของจำเลยที่ 2 ให้แก่ทายาทรวมทั้งตัวของจำเลยที่ 2 ด้วยโดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ กำหนดส่วนที่ทายาทแต่ละคนจะได้รับ พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าทายาทของผู้ตายไม่ถือว่าจะต้องแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม แต่หากต่างตกลงแบ่งกันตามที่เห็นสมควร เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันได้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และแต่ละฝ่ายจึงได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้น และถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมตกลงด้วยในฐานะที่เป็นภรรยาของผู้ตายและฐานะเป็นทายาทด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ยกสินสมรสส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดสำหรับการยกให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่เกิดความผิดเช็ค: ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นหลัก
ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้นเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น จำเลยสั่งจ่ายเช็คธนาคาร ท. สาขากาญจนบุรีให้โจทก์ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีโจทก์ที่ธนาคาร ท. สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานครเพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคาร ท. สาขากาญจนบุรีปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุเกิดขึ้นในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี หาใช่ความผิดเกิดขึ้น ณสถานที่ที่เขียนเช็ค และสถานที่ตั้งธนาคารที่โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีและสถานที่ตั้งธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินเกี่ยวเนื่องกันหลายท้องที่ไม่แม้ธนาคาร ท. สำนักงานใหญ่และสาขากาญจนบุรีเป็นของเจ้าของเดียวกัน ธนาคาร ท. สำนักงานใหญ่ก็หาได้เป็นผู้จ่ายเงินตามเช็คให้โจทก์ไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คให้เท่านั้นจึงถือไม่ได้ว่าความผิดเกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานครด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่เกิดความผิดฐานเช็คเด้ง คือ สถานที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่สถานที่ออกหรือนำเช็คเข้า
จำเลยสั่งจ่ายเช็คธนาคารไทยพัฒนาจำกัด สาขากาญจนบุรีให้โจทก์ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีโจทก์ที่ธนาคารไทยพัฒนาจำกัด สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวเรียกเก็บเงินจากธนาคารไทยพัฒนาจำกัด สาขากาญจนบุรี ธนาคารไทยพัฒนาจำกัด สาขากาญจนบุรี ปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ความผิดเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น เมื่อธนาคารซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่จังหวัดกาญจนบุรีต้องถือว่า เหตุเกิดในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี หาใช่เกิดขึ้น ณ สถานที่เขียนเช็คและสถานที่ตั้งธนาคารที่นำเช็คเข้าบัญชีและสถานที่ตั้งธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน เกี่ยวเนื่องกันหลายท้องที่ไม่ แม้ธนาคารที่นำเช็คเข้าบัญชีและธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน เกี่ยวเนื่องกันหลายท้องที่ไม่ แม้ธนาคารที่นำเช็คเข้าบัญชีและธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นของเจ้าของเดียวกันก็ตาม ธนาคารที่นำเช็คเข้าบัญชีหาได้เป็นผู้จ่ายเงินตามเช็คไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินตามเช็คให้เท่านั้น เมื่อธนาคารซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินอยู่จังหวัดกาญจนบุรี เหตุจึงเกิดในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี ถือไม่ได้ว่าความผิดเกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานครด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2519)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2519)