พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝาก: กำหนดเวลาไถ่คืนพิสูจน์ได้จากหลักฐานอื่น แม้ไม่ได้ระบุในช่องสัญญา
สัญญาขายฝากที่จดทะเบียนมิได้พิมพ์ข้อความไว้ในช่องกำหนดเวลา แต่มีบันทึกของเจ้าหน้าที่ว่าหลงลืม กับมีเอกสารอื่นและในสารบัญจดทะเบียนว่า กำหนดเวลาไถ่คืน 10 เดือน คู่ความสืบพยานอื่นประกอบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาประกันตัว: ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามสมควร หากจำนวนสูงเกินไปเมื่อเทียบกับความร้ายแรงของข้อหา
จำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันซึ่งผู้ประกันจะต้องชำระเมื่อมีการผิดสัญญาโดยส่งตัวผู้ที่ขอประกันให้ตามกำหนดมิได้นั้น เป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาประกันตัว: ศาลมีอำนาจลดจำนวนเงินลงให้เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดีได้
จำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันซึ่งผู้ประกันจะต้องชำระเมื่อมีการผิดสัญญาโดยส่งตัวผู้ที่ขอประกันให้ตามกำหนดมิได้นั้น เป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาแยกจากสามีโดยสมัครใจ ไม่ถือเป็นเหตุให้สามีต้องรับผิดชอบค่าเลี้ยงดูและเป็นเหตุหย่าได้
ภริยาแยกจากสามีไปเอง มิใช่เพราะสามีขับไล่ สามีไม่เลี้ยงดูในระหว่างนั้น ไม่ใช่ความผิดของสามีที่ภริยาจะอ้างเป็นเหตุหย่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดคำนวณบำนาญสำหรับข้าราชการที่เคยได้รับบำนาญแล้ว และได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นข้าราชการใหม่ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการบอกเลิกบำนาญ
โจทก์เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2463 แล้วลาออกเมื่อวันที่1 สิงหาคม 2477 โดยได้ไปเป็นผู้ช่วยจัดทำตำราและสอนกฎหมายซึ่งเป็น ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2477 นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2477 ถึง พ.ศ.2502โจทก์ได้รับบำนาญจากทางราชการตลอดมา แต่ต่อมาได้คืนบำนาญสำหรับปี พ.ศ.2501 และ 2502 เนื่องจากในวันที่ 1 มกราคม 2500ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2499 ออกใช้บังคับ และโดยผลของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ นี้ โจทก์ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนย้อนหลังไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2477 แม้การที่กฎหมาย เปลี่ยนฐานะของโจทก์จากการเป็นลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะถือไม่ได้ว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2494 เพราะไม่มีการกลับเข้ารับ ราชการใหม่ แต่โดยที่โจทก์เป็นผู้ได้รับบำนาญอยู่ก่อนที่โจทก์จะได้รับการ เปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะคิดเวลาราชการของโจทก์ทั้งสองครั้งติดต่อกัน เพื่อคำนวณ เงินบำนาญได้หรือไม่ กรณีก็ต้องวินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือเทียบกับมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2494 ซึ่งตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้าราชการผู้ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งการ รับราชการครั้งเก่าและครั้งใหม่ติดต่อกันสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ จะต้อง บอกเลิกรับบำนาญเสียก่อนภายใน 30 วัน นับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อไม่มีวันกลับเข้ารับราชการใหม่ ก็ควรจะต้องถือว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งสองครั้งติดต่อกัน โจทก์ก็ต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันประกาศใช้บังคับของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2499 เมื่อโจทก์ มิได้บอกเลิกรับบำนาญภายในกำหนด จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำนาญทั้งเวลาราชการครั้งก่อนและครั้งหลังติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดเวลาราชการต่อเนื่องสำหรับคำนวณบำนาญหลังเปลี่ยนสถานะจากลูกจ้างเป็นข้าราชการพลเรือน
โจทก์เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2463 แล้วลาออกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2477 โดยได้ไปเป็นผู้ช่วยจัดทำตำราและสอนกฎหมายซึ่งเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2477 นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2477 ถึง พ.ศ. 2502 โจทก์ได้รับบำนาญจากทางราชการตลอดมา แต่ต่อมาได้คืนบำนาญสำหรับปี พ.ศ. 2501 และ 2502 เนื่องจากในวันที่ 1 มกราคม 2500 ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 ออกใช้บังคับและโดยผลของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัตินี้โจทก์ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนย้อนหลังไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2477 แม้การที่กฎหมายเปลี่ยนฐานะของโจทก์จากการเป็นลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะถือไม่ได้ว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2494 เพราะไม่มีการกลับเข้ารับราชการใหม่ แต่โดยที่โจทก์เป็นผู้ได้รับบำนาญอยู่ก่อนที่โจทก์จะได้รับการเปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะคิดเวลาราชการของโจทก์ทั้งสองครั้งติดต่อกันเพื่อคำนวณเงินบำนาญได้หรือไม่ กรณีต้องวินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือเทียบกับมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2494 ซึ่งตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้าราชการผู้ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งการรับราชการครั้งเก่าและครั้งใหม่ติดต่อกันสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ จะต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียก่อนภายใน 30 วัน นับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อไม่มีวันกลับเข้ารัชราชการใหม่ก็ควรจะต้องถือว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งสองครั้งติดต่อกัน โจทก์ก็ต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันประกาศใช้บังคับของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 เมื่อโจทก์มิได้บอกเลิกรับบำนาญภายในกำหนด จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะขอให้จำเลยคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำนาญทั้งเวลาราชการครั้งก่อนและครั้งหลังติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้: การพิสูจน์ข้อต่อสู้ของสิทธิเรียกร้อง และหน้าที่ในการสืบพยานเพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริง แต่โจทก์ ก็เป็นหนี้จำเลยอยู่จำนวนหนึ่ง ขอหักกลบลบหนี้ ดังนี้ เมื่อโจทก์ยังมิได้โต้แย้งหรือยอมรับเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าสิทธิเรียกร้อง นั้น ยังมีข้อต่อสู้อยู่หรือไม่ จึงยังไม่ได้ความชัด หากโจทก์โต้แย้ง สิทธิเรียกร้อง ที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยจะนำมาขอหักกลบลบหนี้ไม่ได้ แต่ถ้าโจทก์ไม่มีข้อต่อสู้ จำเลยก็มีสิทธิขอหักกลบลบหนี้ได้ โดยหาจำต้องฟ้องแย้งไม่
เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายที่โจทก์ฎีกา คดีจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ข้อ 3(ข) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาย่อมให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายที่โจทก์ฎีกา คดีจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ข้อ 3(ข) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาย่อมให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864-2865/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามเช็คที่แก้ไข & ตั๋วสัญญาใช้เงิน การหักส่วนลดค่าธรรมเนียม
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามเช็ค ปรากฏว่าเช็คดังกล่าวมีการแก้ไขจำนวนเงินจาก 10,000 บาทเป็น 110,000 บาท โดยฟังไม่ได้ว่าลูกหนี้เป็นผู้แก้ไข แต่ลูกหนี้ยอมรับว่าตนเป็นหนี้ค่าผ้าเจ้าหนี้อยู่ 10,000 บาท และได้ออกเช็คฉบับดังกล่าวให้เจ้าหนี้ไว้จริง ดังนี้ แม้เช็คฉบับดังกล่าวจะเสียไปเพราะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่อีก 10,000 บาทเช่นนี้ เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้ในเงินจำนวนดังกล่าว
การที่ลูกหนี้ได้ยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสัญญาจะจ่ายเป็นงวด ๆ ทุกเดือน ถ้าผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจะยอมชำระดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่ลูกหนี้ได้รับเงินไปไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะเจ้าหนี้ได้หักเป็นค่าธรรมเนียมส่วนลดเสียก่อนร้อยละ 13 นั้น เป็นผลประโยชน์ที่ลูกหนี้ยินยอมมอบให้แก่เจ้าหนี้เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหนี้ยอมให้กู้หาใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้ก่อนไม่ และการหักเงินผลประโยชน์จำนวนมีไว้ก่อนหรือมอบเงินเต็มจำนวนที่กู้ยืมให้ แล้วลูกหนี้จึงมอบกลับคืนเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในภายหลัง ผลก็เป็นอย่างเดียวกัน
การที่ลูกหนี้ได้ยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสัญญาจะจ่ายเป็นงวด ๆ ทุกเดือน ถ้าผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจะยอมชำระดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่ลูกหนี้ได้รับเงินไปไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะเจ้าหนี้ได้หักเป็นค่าธรรมเนียมส่วนลดเสียก่อนร้อยละ 13 นั้น เป็นผลประโยชน์ที่ลูกหนี้ยินยอมมอบให้แก่เจ้าหนี้เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหนี้ยอมให้กู้หาใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้ก่อนไม่ และการหักเงินผลประโยชน์จำนวนมีไว้ก่อนหรือมอบเงินเต็มจำนวนที่กู้ยืมให้ แล้วลูกหนี้จึงมอบกลับคืนเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในภายหลัง ผลก็เป็นอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864-2865/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามเช็คแก้ไขและตั๋วสัญญาใช้เงิน หักส่วนลดค่าธรรมเนียม
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามเช็ค ปรากฏว่าเช็คดังกล่าวมีการแก้ไขจำนวนเงินจาก 10,000 บาทเป็น 110,000 บาท โดยฟังไม่ได้ว่าลูกหนี้เป็นผู้แก้ไข แต่ลูกหนี้ยอมรับว่าตนเป็นหนี้ค่าผ้าเจ้าหนี้อยู่ 10,000 บาท และได้ออกเช็คฉบับดังกล่าวให้เจ้าหนี้ไว้จริง ดังนี้ แม้เช็คฉบับดังกล่าวจะเสียไปเพราะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่อีก 10,000 บาทเช่นนี้ เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในเงินจำนวนดังกล่าว
การที่ลูกหนี้ได้ยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสัญญาว่าจะจ่ายเป็นงวดๆ ทุกเดือน ถ้าผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจะยอมชำระดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่ลูกหนี้ได้รับเงินไปไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะเจ้าหนี้ได้หักเป็นค่าธรรมเนียมส่วนลดเสียก่อนร้อยละ 13 นั้น เป็นผลประโยชน์ที่ลูกหนี้ยินยอมมอบให้แก่เจ้าหนี้เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหนี้ยอมให้กู้ หาใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้ก่อนไม่ และการหักเงินผลประโยชน์จำนวนนี้ไว้ก่อน หรือมอบเงินเต็มจำนวนที่กู้ยืมให้ แล้วลูกหนี้จึงมอบกลับคืนเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในภายหลังผลก็เป็นอย่างเดียวกัน
การที่ลูกหนี้ได้ยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสัญญาว่าจะจ่ายเป็นงวดๆ ทุกเดือน ถ้าผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจะยอมชำระดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่ลูกหนี้ได้รับเงินไปไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะเจ้าหนี้ได้หักเป็นค่าธรรมเนียมส่วนลดเสียก่อนร้อยละ 13 นั้น เป็นผลประโยชน์ที่ลูกหนี้ยินยอมมอบให้แก่เจ้าหนี้เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหนี้ยอมให้กู้ หาใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้ก่อนไม่ และการหักเงินผลประโยชน์จำนวนนี้ไว้ก่อน หรือมอบเงินเต็มจำนวนที่กู้ยืมให้ แล้วลูกหนี้จึงมอบกลับคืนเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในภายหลังผลก็เป็นอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: สิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ และการบอกเลิกสัญญา
จำเลยซื้อตึกและเช่าที่ดินที่ตึกนั้นตั้งอยู่ จึงมีนิติกรรมสองรายซึ่งแยกจากกันได้ คือนิติกรรมซื้อขายกับนิติกรรมเช่าที่ดิน นิติกรรมซื้อขายตึกเป็นสัญญาต่างตอบแทนส่วนการเช่าที่ดินเมื่อจำเลยมิได้ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใดๆ แก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ธรรมดา มิใช่สัญญาต่างตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่าธรรมดาและตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538
เมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว จำเลยยังครองที่ดินอยู่โดยโจทก์มิได้ทักท้วงถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 เมื่อโจทก์ได้แจ้งบอกเลิกการเช่าให้จำเลยทราบไว้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าที่ดินพิพาทเป็นอันสิ้นสุดลงและจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะผู้เช่าต่อไปได้อีก หลังจากนั้นจึงเป็นการอยู่โดยละเมิดอันจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
เมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว จำเลยยังครองที่ดินอยู่โดยโจทก์มิได้ทักท้วงถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 เมื่อโจทก์ได้แจ้งบอกเลิกการเช่าให้จำเลยทราบไว้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าที่ดินพิพาทเป็นอันสิ้นสุดลงและจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะผู้เช่าต่อไปได้อีก หลังจากนั้นจึงเป็นการอยู่โดยละเมิดอันจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์