คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวัสดิ์ สุขศรีวงษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์, สัญญาต่างตอบแทน, การบอกเลิกสัญญา, การอยู่โดยละเมิด
จำเลยซื้อตึกและเช่าที่ดินที่ตึกนั้นตั้งอยู่ จึงมีนิติกรรมสองรายซึ่งแยกจากกันได้ คือนิติกรรมซื้อขายกับนิติกรรมเช่าที่ดิน นิติกรรมซื้อขายตึกเป็นสัญญาต่างตอบแทน ส่วนการเช่าที่ดินเมื่อจำเลยมิได้ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใด ๆ แก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ธรรมดา มิใช่สัญญาต่างตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากสัญญษเช่าธรรมดาและตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538
เมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว จำเลยยังครองที่ดินอยู่โดยโจทก์มิได้ทักท้วง ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 เมื่อโจทก์ได้แจ้งบอกเลิกการเช่าให้จำเลยทราบไว้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าที่ดินพิพาทเป็นอันสิ้นสุดลงและจำเลยไม่มีสิทธิ์ที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะผู้เช่าต่อไปได้อีก หลังจากนั้นจึงเป็นการอยู่โดยละเมิดอันจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, อำนาจฟ้อง, อายุความครอบครอง และการซื้อขายในท้องตลาด
ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจจะมีอำนาจฟ้องตามใบมอบอำนาจหรือไม่ และการที่โจทก์มิได้ฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้น เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 (ผู้ฎีกา) ย่อมอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้
ปัญหาเกี่ยวกับใบมอบอำนาจที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็วินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
ใบมอบอำนาจของโจทก์นี้มีข้อความมอบอำนาจให้ ส. ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีต่อลูกหนี้ให้ส่งมอบทรัพย์สินและใช้ค่าเสียหายมีความหมายถึงให้ฟ้องและดำเนินคดีต่อจำเลยที่ 3 ผู้ยึดถือรถยนต์ของโจทก์ให้ส่งมอบรถยนต์และใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้
แม้ร้านค้าของจำเลยที่ 3 อยู่ในชุมนุมการค้า แต่การที่จำเลยที่ 3 ซื้อรถยนต์พิพาทของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปจาก ศ. ซึ่งเอามาขายให้ที่ที่ร้านค้าของจำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมนุมการค้า แต่เป็นการซื้อจากบุคคลที่เอามาขายให้ที่ร้านค้าของจำเลยที่ 3 เอง จึงไม่เป็นการซื้อในท้องตลาดดังนั้นจำเลยที่ 3 จะสุจริตหรือไม่ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1372
การฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 หมายถึงผู้ที่มีเพียงสิทธิ์ครอบครองในทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินนั้นคืนจึงต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง แต่รถยนต์คันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิ์ติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ได้เสมอโดยไม่มีอายุความ จึงจะนำมาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, อำนาจฟ้อง, อายุความครอบครอง และการซื้อขายในท้องตลาด
ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจฟ้องตามใบมอบอำนาจหรือไม่ และการที่โจทก์มิได้ฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้นเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3(ผู้ฎีกา) ย่อมอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้
ปัญหาเกี่ยวกับใบมอบอำนาจที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็วินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
ใบมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความมอบอำนาจให้ ส.ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีต่อลูกหนี้ให้ส่งมอบทรัพย์สินและใช้ค่าเสียหายมีความหมายถึงให้ฟ้องและดำเนินคดีต่อจำเลยที่ 3 ผู้ยึดถือรถยนต์ของโจทก์ให้ส่งมอบรถยนต์และใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้
แม้ร้านค้าของจำเลยที่ 3 อยู่ในชุมชนการค้า แต่การที่จำเลยที่ 3 ซื้อรถยนต์พิพาทของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปจาก ศ.ซึ่งเอามาขายให้ที่ที่ร้านค้าของจำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมชนการค้าแต่เป็นการซื้อจากบุคคลที่เอามาขายให้ที่ร้านค้าของจำเลยที่ 3 เอง จึงไม่เป็นการซื้อในท้องตลาดดังนั้นจำเลยที่ 3 จะสุจริตหรือไม่ก็เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332
การฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 หมายถึงผู้ที่มีเพียงสิทธิครอบครองในทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินนั้นคืนจึงต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง แต่รถยนต์คันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ได้เสมอโดยไม่มีอายุความ จึงจะนำมาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินกู้: เริ่มนับเมื่อผิดนัดชำระดอกเบี้ย แม้สัญญาจะกำหนดวันใช้เงินต้นในภายหลัง
โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน สัญญากู้ข้อ 3 กำหนดให้ใช้ต้นเงินคืนวันที่ 4 มิถุนายน 2508 สัญญาข้อ 4 กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทุกเดือน และในสัญญาข้อ 6 มีความว่า "แม้ว่าข้าพเจ้า (จำเลย) ประพฤติผิดสัญญานี้แต่ข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ยอมให้ท่าน (โจทก์) ฟ้องร้องเรียก6 นี้ ถ้าจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยในเดือนใด นับแต่วันนั้นโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แล้ว ไม่จำต้องรอจนครบกำหนดวันใช้ต้นเงินคืนตามสัญญาข้อ 3 จำเลยผิดนัดไม่นำดอกเบี้ยมาชำระให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 4กรกฎาคม 2507 โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้และดอกเบี้ยในวันที่ 9 กันยายน 2517 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าและการโอนสิทธิเช่า: สิทธิเรียกร้องลักษณะสัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแถวซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นให้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าตอบแทน จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งโดยจ่ายบางส่วนในวันทำสัญญาและในวันเข้าอยู่ในตึกแถวส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด งวดแรกชำระแล้ว คงค้างชำระงวดหลังซึ่งนานเกิน 5 ปีแล้ว ดังนี้เงินตามสัญญาที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ยอมตกลงทำสัญญาให้จำเลยได้รับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมด แต่เพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้จำเลย จึงได้ทำสัญญาเป็นแบ่งงวดชำระ จำนวนเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้รับจากการที่ยอมให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าตึกแถว มิใช่เงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนโดยตรงเป็นงวดๆ และไม่ใช่การเรียกเอาเงินค้างจ่าย เช่น เงินปีเงินเดือน หรือเงินอื่นๆ ที่เป็นทำนองเดียวกันที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามความในมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาโอนสิทธิ์เช่า: เงินค่าตอบแทนไม่ใช่เงินผ่อนทุน แต่เป็นผลประโยชน์จากการทำสัญญา ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิ์การเช่าตึกแถวซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นให้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าตอบแทน จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งโดยจ่ายบางส่วนในวันทำสัญญา และในวันเข้าอยู่ในตึกแถว ส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด งวดแรกชำระแล้ว คงค้างชำระงวดหลังซึ่งนานเกิน 5 ปีแล้ว ดังนี้ เงินตามสัญญาที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ยอมตกลงทำสัญญาให้จำเลยได้รับโอนสิทธิ์การเช่าตึกแถวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมด แต่เพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้จำเลย จึงได้ทำสัญญาเป็นแบ่งงวดชำระ จำนวนเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้รับจากการที่ยอมให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าตึกแถว มิใช่เงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนโดยตรงเป็นงวด ๆ และไม่ใช่การเรียกเอาเงินค้างจ่าย เช่น เงินปี เงินเดือนหรือเงินอื่น ๆ ที่เป็นทำนองเดียวกันที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิ์เรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามความในมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม และอำนาจฟ้องของผู้ทรงเช็ค
การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานไว้ว่า ก่อนสืบพยาน โจทก์ยื่นขอระบุพยานเพิ่มเติม ศาลสั่งอนุญาตและจ่ายสำเนาให้จำเลย โจทก์จะนำพยานคนที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบ แต่จำเลยแถลงคัดค้านขออย่าให้ศาลอนุญาตให้โจทก์นำพยานปากนี้เข้าสืบ ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วอนุญาตให้โจทก์จำพยานดังกล่าวเข้าสืบได้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมไว้แล้ว จึงมีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ เมื่อโจทก์มีเช็คพิพาทไว้ในความครอบครอง โดย น. ได้นำมาขอแลกเงินจากโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904
ก่อนพยานเบิกความ ย่อมต้องสาบานตนว่าจะให้การตามสัตย์จริงและตอบคำถามของศาลในเรื่องนามของตนแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112, 116 เมื่อศาลชั้นต้นเขียนชื่อพยานว่า จ. จึงน่าเชื่อว่าพยานผู้นั้นคือ จ. จริง แต่เหตุใดพยานจึงเซ็นชื่อว่า พ. นั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงบ่งชัดว่าเป็นคนละคนกัน จ. ก็จะฟังว่ามิใช่ จ. ยังไม่ถนัด เพราะพยานอาจมีชื่ออีกชื่อหนึ่งก็ได้ เพียงเหตุนี้อย่างเดียวยังไม่พอจะทำให้ไม่รับฟังคำเบิกความของ จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลอนุญาตระบุพยานเพิ่มเติม และการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานไว้ว่า ก่อนสืบพยาน โจทก์ยื่นขอระบุพยานเพิ่มเติม ศาลสั่งอนุญาตและจ่ายสำเนาให้จำเลย โจทก์จะนำพยานคนที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบ แต่จำเลยแถลงคัดค้านขออย่าให้ศาลอนุญาตให้โจทก์นำพยานปากนี้เข้าสืบ ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วอนุญาตให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบได้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมไว้แล้ว จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ เมื่อโจทก์มีเช็คพิพาทไว้ในความครอบครอง โดย น. ได้นำมาขอแลกเงินจากโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904
ก่อนพยานเบิกความ ย่อมต้องสาบานตนว่าจะให้การตามสัตย์จริงและตอบคำถามของศาลในเรื่องนามของตนแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112,116 เมื่อศาลชั้นต้นเขียนชื่อพยานว่า จ. จึงน่าเชื่อว่าพยานผู้นั้นคือ จ. จริง แต่เหตุใดพยานจึงเซ็นชื่อว่า พ. นั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงบ่งชัดว่าเป็นคนละคนกับ จ. ก็จะฟังว่ามิใช่ จ. ยังไม่ถนัด เพราะพยานอาจมีชื่ออีกชื่อหนึ่งก็ได้ เพียงเหตุนี้อย่างเดียวยังไม่พอจะทำให้ ไม่รับฟังคำเบิกความของ จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและหีบห่อยา ไม่เข้าข่ายละเมิด หากมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
โจทก์เป็นเจ้าของยาชื่อ PERIACTIN ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า PERITADINE เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยพิมพ์คำนี้บนกล่องบรรจุยาของจำเลย แม้จะมีคำภาษาไทย "เพอริตาดิน" พิมพ์ไว้ด้วย จำเลยก็มีสิทธิ์ทำได้ และการที่แผงยาของจำเลยทำด้วยพลาสติกเซโลเฟนด้านหนึ่ง และอลูมิเนียมหรือฟอยล์สีฟ้าคล้ายกับแผงยาของโจทก์อีกด้านหนึ่ง แต่ตัวอักษรที่พิมพ์ไว้ทั้งสองด้านแตกต่างกันหลายประการ แผงยาของโจทก์และแผงยาของจำเลยจึงแตกต่างกัน ไม่อาจทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นแผงยาของผู้ผลิตรายเดียวกันได้ โดยเฉพาะยาของโจทก์และจำเลยเป็นยาอันตรายด้วยกัน ตามปกติผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ จึงเป็นการยากที่จะทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดได้ สำหรับกล่องบรรจุแผงยาของโจทก์และของจำเลยก็มีลักษณะสีสรรแตกต่างกันมาก ไม่อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์มีสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างไร และจำเลยได้กระทำการอย่างใดบ้างอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ สำหรับค่าเสียหายก็ได้บรรยายแล้วว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายอย่างใดคิดเป็นเงินเท่าใด ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากหาย: ไม่ใช่อายุความ 1 ปี แต่เป็น 10 ปี
กรณีฝากทรัพย์แล้วทรัพย์ที่ฝากได้หายไป มิใช่เป็นเรื่องผู้รับฝากทรัพย์ทำละเมิด จึงไม่ใช่อายุความ 1 ปี และไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 ที่ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา ต้องใช้อายุความสิบปีตามมาตรา 164 ในการใช้ราคาทรัพย์
of 11