คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวัสดิ์ สุขศรีวงษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. คำสั่งอายัด: แม้มีคำพิพากษาค้างอยู่ เจ้าของที่ดินยังมีสิทธิคัดค้านการอายัดได้
ปัญหาที่ว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจคัดค้านขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ชอบที่จะยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้
ที่ดินมีโฉนดมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อายัด แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าที่ดินนี้ยังคงเป็นของ ป. ตามผลของคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งอยู่ก็ตาม ตราบใดยังไม่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีนั้น ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ เมื่อสิทธิ์เช่นว่านี้ถูกโต้แย้งโดยการที่โจทก์ขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิ์ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
กรณีที่ศาลพิพากษาให้ ป. โอนขายที่ดินให้จำเลยนั้น จะถือว่าเป็นทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยยังไม่ได้ เพราะ ป. จะชำระหนี้ส่วนของตน คือโอนที่ดินให้จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้ตอบแทนคือชำระราคาที่ดินให้ ป. ด้วย ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยยังมิได้เสนอที่จะชำระราคาที่ดินและกำหนดเวลาให้ ป. โอนที่ดินนั้นให้ตนแล้ว จะถือว่าหนี้ที่ ป. จะต้องโอนที่ดินให้จำเลยถึงกำหนดชำระยังมิได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของผู้ร้อง แม้มีคำพิพากษาค้างอยู่ ผู้ร้องยังมีสิทธิคัดค้านการอายัดได้ หากสิทธิถูกโต้แย้ง
ปัญหาที่ว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจคัดค้านขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ชอบที่จะยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้
ที่ดินมีโฉนดมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อายัดแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าที่ดินนี้ยังคงเป็นของ ป. ตามผลของคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งอยู่ก็ตาม ตราบใดยังไม่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีนั้นผู้ร้องก็ยังมีสิทธิในที่ดินนั้นอยู่เมื่อสิทธิเช่นว่านี้ถูกโต้แย้งโดยการที่โจทก์ขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
กรณีที่ศาลพิพากษาให้ ป. โอนขายที่ดินให้จำเลยนั้นจะถือว่าเป็นทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยยังไม่ได้ เพราะ ป. จะชำระหนี้ส่วนของตนคือโอนที่ดินให้จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้ตอบแทนคือชำระราคาที่ดินให้ ป. ด้วย ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยยังมิได้เสนอที่จะชำระราคาที่ดินและกำหนดเวลาให้ ป. โอนที่ดินนั้นให้ตนแล้ว จะถือว่าหนี้ที่ ป. จะต้องโอนที่ดินให้จำเลยถึงกำหนดชำระยังมิได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนาย: การกำหนดจำนวนเงินแน่นอน ไม่ใช่การแบ่งทรัพย์สินจากลูกความ, อายุความ 2 ปีเริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุด
การเรียกค่าจ้างว่าความซึ่งกำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอนนั้น หาใช่เป็นการแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความไม่ ไม่เป็นโมฆะ และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยให้ก็ตาม จำเลยชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนาย: การตกลงค่าจ้างที่แน่นอน ไม่ถือเป็นการแบ่งทรัพย์สิน และอายุความ 2 ปีเริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุด
การเรียกค่าจ้างว่าความซึ่งกำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอนนั้นหาใช่เป็นการแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความไม่ ไม่เป็นโมฆะ และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยให้ก็ตาม จำเลยชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่า: คำพูดประชดประชัน, ทำร้ายร่างกายเล็กน้อย, ข่มขู่ไม่ร้ายแรง ไม่เป็นเหตุให้หย่า
คำกล่าวประชดประชัน ไม่ทำให้ผู้ใดเข้าใจผิด ไม่เป็นหมิ่นประมาทที่จะถือเป็นเหตุหย่า
บาดแผลชกต่อยเป็นรอยช้ำเลือดที่แขน 7 แห่ง เท่าลูกมะนาว 7 วันหาย ไม่ถึงอันตรายแก่กายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ไม่เป็นเหตุหย่า
ขู่ว่าจะให้จิ๊กโก๋ลากตัวกลับบ้าน ไม่ถือเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแจ้งความร้องทุกข์ต้องมุ่งหวังให้ดำเนินคดี หากแจ้งเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมาย
คำร้องทุกข์ตามกฎหมายจะต้องเป็นการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
คำแจ้งความของผู้เสียหายที่แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า"จึงมาแจ้งความร้องทุกข์ไว้เป็นหลักฐานและขอรับเช็คคืนไปดำเนินการเอง" นั้น เป็นเพียงแจ้งความไว้เพื่อให้เป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอเลื่อนคดีของโจทก์เนื่องจากทนายติดพิจารณาคดีอื่น ศาลอนุญาตเลื่อนได้ตามกฎหมาย
ทนายโจทก์ติดพิจารณาคดีอื่นซึ่งนัดไว้ก่อน เป็นความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ จึงขอเลื่อนเป็นครั้งแรก โจทก์มีสิทธิขอเลื่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ศาลสั่งให้เลื่อนได้ครั้งเดียวไม่เกิน 1 เดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอเลื่อนคดีผ่านศาลอื่น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการร้องขอเลื่อนคดีก่อนศาลสั่งขาดนัด ถือว่าไม่ขาดนัด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโดยอ้างว่าการที่โจทก์ไม่ไปศาลในวันสืบพยานโจทก์นั้น ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแล้ว เพียงแต่มิได้ยื่นต่อศาลชั้นต้น(ศาลจังหวัดเลย) โดยตรง เพราะทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคาย จึงได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลจังหวัดหนองคายเพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลชั้นต้นอีกต่อหนึ่ง ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์มิได้ขาดนัดพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 วรรค 2 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะต้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและหากฟังได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานดังที่โจทก์อ้าง ก็จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 201 ไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
วันนัดสืบพยานโจทก์(นัดแรก) ทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากทอนซิลอักเสบและแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรหยุดพักรักษาตัว ซึ่งถ้าทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดเลยอันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นแล้ว ทนายโจทก์ก็ต้องร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนลงมือสืบพยาน คดีนี้นัดสืบพยานโจทก์ไว้เวลา 9 นาฬิกา ปรากฏว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ซึ่งยื่นต่อศาลจังหวัดหนองคายโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น พนักงานรับฟ้องของศาลจังหวัดหนองคายลงรับไว้เวลา 10.00 นาฬิกา แต่ศาลชั้นต้นได้รออยู่จนเวลา 10.05 นาฬิกา จึงได้สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวถึงว่าโจทก์ได้ร้อบขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขอเลื่อนคดีข้ามเขตอำนาจศาลและการขาดนัดพิจารณา หากยื่นก่อนศาลสั่งขาดนัด ถือว่ามิได้ขาดนัด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโดยอ้างว่าการที่โจทก์ไม่ไปศาลในวันสืบพยานโจทก์นั้น ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแล้ว เพียงแต่มิได้ยื่นต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดเลย)โดยตรง เพราะทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคาย จึงได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลจังหวัดหนองคายเพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลชั้นต้นอีกต่อหนึ่ง ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มิได้ขาดนัดพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 วรรคสองโจทก์จึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและหากฟังได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มารศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานดังโจทก์อ้าง ก็จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 201 ไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
วันนัดสืบพยานโจทก์ (นัดแรก) ทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากทอนซิลอักเสบและแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรหยุดพักรักษาตัว ซึ่งถ้าทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดเลยอันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นแล้วทนายโจทก์ก็ต้องร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนลงมือสืบพยาน คดีนี้นัดสืบพยานโจทก์ไว้เวลา 9 นาฬิกา ปรากฏว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ซึ่งยื่นต่อศาลจังหวัดหนอกคาย โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น พนักงานรับฟ้องขอศาลจังหวัดหนองคายลงรับไว้เวลา 10.00 นาฬิกา แต่ศาลชั้นต้นได้รออยู่จนเวลา 10.05 นาฬิกา จึงได้สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดิน: อำนาจสอบสวนและคำสั่งไม่อนุมัติกรณีมีเหตุเชื่อได้ว่าซื้อเพื่อประโยชน์คนต่างด้าว
เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าพน้าที่ที่จะสอบสวนคู่กรณีในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดได้สอบสวนโจทก์ ก่อนที่จะดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการกระทำชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อปรากฏจากการสอบสวนตามถ้อยคำของโจทก์เองว่า โจทก์มีภริยาเป็นคนสัญชาติจีนซึ่งเป็นคนต่างด้าว อยู่กันกันมาจนมีบุตรถึง 12 คน แล้ว และโจทก์ก็จะซื้อที่พิพาทเพื่อปลูกบ้านอยู่จึงเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินควรเชื่อได้ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเอก ได้บันทึกเรื่องเสนอกรมที่ดินจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 ได้เสนอต่อไปยังกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 5 เพื่อพิจารณา จึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อจำเลยที่ 5 โดยรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาและมีคำสั่งไม่อนุมัติให้มีการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาท คำสั่งเช่นว่านี้จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 74 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 5 ปฏิบัติการดังกล่าวโดยเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 5 ที่สั่งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสาม
of 11