พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดิน: อำนาจสอบสวนและคำสั่งไม่อนุมัติกรณีมีเหตุเชื่อได้ว่าซื้อเพื่อประโยชน์คนต่างด้าว
เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าพน้าที่ที่จะสอบสวนคู่กรณีในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดได้สอบสวนโจทก์ ก่อนที่จะดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการกระทำชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อปรากฏจากการสอบสวนตามถ้อยคำของโจทก์เองว่า โจทก์มีภริยาเป็นคนสัญชาติจีนซึ่งเป็นคนต่างด้าว อยู่กันกันมาจนมีบุตรถึง 12 คน แล้ว และโจทก์ก็จะซื้อที่พิพาทเพื่อปลูกบ้านอยู่จึงเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินควรเชื่อได้ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเอก ได้บันทึกเรื่องเสนอกรมที่ดินจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 ได้เสนอต่อไปยังกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 5 เพื่อพิจารณา จึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อจำเลยที่ 5 โดยรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาและมีคำสั่งไม่อนุมัติให้มีการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาท คำสั่งเช่นว่านี้จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 74 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 5 ปฏิบัติการดังกล่าวโดยเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 5 ที่สั่งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าทรัพย์สินไม่มีหลักฐาน: ฟ้องขับไล่ได้ด้วยกรรมสิทธิ์
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือผู้ให้เช่าก็ยังฟ้องฐานละเมิดให้ขับไล่โดยอาศัยกรรมสิทธิ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ลูกจ้างเกินกำลังจนเกิดอุบัติเหตุ นายจ้างต้องรับผิด
จำเลยค้ำประกัน พ. ซึ่งเป็นลูกจ้างขับรถยนต์ของโจทก์ คนของโจทก์ใช้งาน พ.ให้ขับรถทั้งวันจนถึงค่ำก็ยังใช้ให้ขับรถอีก 600 กิโลเมตร จนเวลา 5 นาฬิกาจึงเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน พ.ตาย รถเสียหาย โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายแก่รถอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนี้เป็นการใช้คนเกินกำลังความสามารถโดย พ.ไม่สามารถขัดคำสั่งได้ เป็นความบกพร่องของคนของโจทก์เองพ.ไม่บกพร่องต่อหน้าที่ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาดสัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉล สัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137, 138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ สัญญาเป็นโมฆียะ หากบอกล้างภายใน 1 ปี
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาด สัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉลสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 137,138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง หากโจทก์ไม่ใช่คู่ความเดียวกัน และไม่มีอำนาจฟ้องในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ชนรถโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้ปรากฏว่ากรณีเดียวกันนี้จำเลยที่ 1 เคยถูกผู้ว่าคดีฟ้องเป็นคดีอาญา และศาลพิพากษายกฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีอาญานั้นโจทก์คดีนี้มิใช่เป็นผู้รับบาดเจ็บจากการที่รถชนกัน และคดีอาญาที่เกี่ยวกับการกระทำผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องหรือขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้ว่าคดีได้ ผู้ว่าคดีจึงไม่อยู่ในฐานะฟ้องคดีอาญาแทนโจทก์ ผลของคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่เป็นคู่ความเดียวกันในคดีแพ่งต้องฟังข้อเท็จจริงกันใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง หากโจทก์ในคดีอาญาและคดีแพ่งไม่เป็นบุคคลเดียวกัน ศาลต้องพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ชนรถโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้ปรากฏว่ากรณีเดียวกันนี้จำเลยที่ 1 เคยถูกผู้ว่าคดีฟ้องเป็นคดีอาญา และศาลพิพากษายกฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีอาญานั้นโจทก์คดีนี้มิใช่เป็นผู้รับบาดเจ็บจากการที่รถชนกัน และคดีอาญาที่เกี่ยวกับการกระทำผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้อง หรือขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้ว่าคดีได้ ผู้ว่าคดีจึงไม่อยู่ในฐานะฟ้องคดีอาญาแทนโจทก์ ผลของคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่เป็นคู่ความเดียวกัน ในคดีแพ่งต้องฟังข้อเท็จจริงกันใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเดิมตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย หากไม่ปฏิบัติตามฎีกายกคำพิพากษาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย มิได้อุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาแต่ประการใด ฉะนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนดังที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงใหม่ โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์เลยนั้นจึงมิชอบและแม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในเรื่องนี้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นปัญหาเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างได้โดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายที่ จำเลยอุทธรณ์แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น หากอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย มิได้อุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาแต่ประการใด ฉะนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์นั้นศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงใหม่โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์เลยนั้นจึงมิชอบและแม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในเรื่องนี้มาก็ตาม แต่เมื่อเป็นปัญหาเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างได้โดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ขัดต่อเจตนาเดิมของจำเลย แม้จะเซ็นมอบอำนาจไว้ก่อนหน้า ย่อมไม่ผูกมัดจำเลย
การที่จำเลยเซ็นหนังสือมอบอำนาจที่ยังมิได้กรอกข้อความให้ไว้ในวันทำสัญญาค้ำประกัน พร้อมกับมอบโฉนดที่ดินของจำเลยให้ไว้เป็นประกันด้วยนั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยยินยอมให้เอาที่ดินของจำเลยนั้นตราเป็นประกันชำระหนี้ได้ด้วย ฉะนั้น หากมีการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจให้ทำจำนองแม้จะกระทำภายหลัง ก็ถือได้ว่าข้อความนั้นตรงตามความประสงค์ของจำเลยแล้ว แต่ทั้งนี้การทำจำนองต้องกระทำเสียก่อนที่จำเลยเพิกถอนความประสงค์นั้น
การที่โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยมากรอกข้อความขึ้นในภายหลังแล้วนำไปทำจำนองนั้น เมื่อกระทำหลังจากที่จำเลยขอถอนการค้ำประกันและขอคืนโฉนดแล้วจึงหาใช่ความประสงค์ของจำเลยไม่ ฉะนั้น การจำนองที่กระทำขึ้นโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยเพียงแต่ลงชื่อไว้ให้ แต่ไม่ประสงค์จะผูกพันต่อไปแล้ว จึงหาผูกมัดจำเลยไม่จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าวนั้น
การที่โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยมากรอกข้อความขึ้นในภายหลังแล้วนำไปทำจำนองนั้น เมื่อกระทำหลังจากที่จำเลยขอถอนการค้ำประกันและขอคืนโฉนดแล้วจึงหาใช่ความประสงค์ของจำเลยไม่ ฉะนั้น การจำนองที่กระทำขึ้นโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยเพียงแต่ลงชื่อไว้ให้ แต่ไม่ประสงค์จะผูกพันต่อไปแล้ว จึงหาผูกมัดจำเลยไม่จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าวนั้น