คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวัสดิ์ สุขศรีวงษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขีดฆ่าอากรแสตมป์และการใช้สัญญากู้เป็นพยานหลักฐาน รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัด
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 103 จะให้ความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ว่า "การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อหรือ ลงชื่อ ห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษ และลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ฯลฯ" ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ความมุ่งหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" นั้น ก็เพื่อจะให้แสตมป์ที่ปิดทับเอกสารนั้นใช้ไม่ได้ต่อไปเท่านั้น มาตรา 103 จึงให้ความหมายไว้ในตอนแรกว่า เป็นการ กระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก ส่วนข้อความตอนต่อไปนั้นเป็นเพียงการอธิบายเพิ่มเติมวิธีกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อได้กระทำการใด ๆ ให้แสตมป์นั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อความที่อธิบายเพิ่มเติมไว้ก็ถือได้ว่าเป็นการขีดฆ่าตามความหมายของ มาตรา 103 ที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับคำว่า ขีดฆ่า นั้นแล้ว
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดบนเอกสารสัญญากู้ด้วยหมึกเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ได้อีกต่อไป เป็นการขีดฆ่าที่ชอบแล้ว แม้จะมิได้ลง วัน เดือน ปี ที่ขีดฆ่าก็ถือว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญากู้เพราะดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยต้องรับผิดใช้ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินกู้ให้โจทก์ในระหว่างที่จำเลย ผิดนัดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 และเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีได้ มีการผิดนัด จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขีดฆ่าอากรแสตมป์ไม่จำเป็นต้องลงวันเดือนปี หากมีเจตนาทำให้ใช้ไม่ได้ สัญญาใช้เป็นพยานหลักฐานได้
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 103 จะให้ความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ว่า "การกระทำเพื่อมิใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อ หรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ฯลฯ"ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ความมุ่งหมายขอคำว่า "ขีดฆ่า" นั้น ก็เพื่อจะให้แสตมป์ที่ปิดทับเอกสารนั้นใช้ไม่ได้ต่อไปเท่านั้น มาตรา 103 จึงให้ความหมายไว้ในตอนแรกว่า เป็นการกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก ส่วนข้อความตอนต่อไปนั้นเป็นเพียงการอธิบายเพิ่มเติมวิธีกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อได้กระทำการใด ๆ ให้แสตมป์นั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อความที่อธิบายเพิ่มเติมไว้ก็ถือได้ว่าเป็นการขีดฆ่าตามความหมายของมาตรา 103 ที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับคำว่า ขีดฆ่า นั้นแล้ว
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดบนเอกสารสัญญากู้ด้วยหมึกเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ไดอีกต่อไป เป็นการขีดฆ่าที่ชอบแล้ว แม้จะมิได้ลงวัน เดือน ปี ที่ขีดฆ่าก็ถือว่า สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่ทำสัญญากู้เพราะดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยต้งอรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไปในต้นเงินกู้ให้โจทก์ในระหว่างที่จำเลยผิดนัดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 และเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีได้มีการผิดนัด จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์เรื่องฉ้อฉลทนายร่วมกับโจทก์ ศาลอุทธรณ์สั่งไต่สวนและวินิจฉัย
ศาลพิพากษาให้เป็นไปตามยอม จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าทนายจำเลยฉ้อฉลร่วมกับโจทก์ ดังนี้ อุทธรณ์ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1),225 ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อที่จำเลยอ้างว่าฉ้อฉล แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว ฎีกาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี และความรับผิดร่วมของหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะตัวแทนของนิติบุคคล
ผู้ใดแจ้งข้อความไม่ตรงต่อความจริง โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร คือภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ย่อมมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนแต่ละเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้นเมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในการกระทำผิดของนิติบุคคล
ผู้ใดแจ้งข้อความไม่ตรงต่อความจริง โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร คือภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ย่อมมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แล้ว
จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือน ภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนและเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับ ดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่าจากพฤติกรรมร้ายแรง: การประพฤติชั่ว ติดยาเสพติด และกลั่นแกล้งครอบครัว
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยประพฤติชั่ว ติดยาเสพติดและประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล ไม่ยอมทำมาหากิน ไม่ยอมทำนาเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวและหาความเดือนร้อนมาสู่ครอบครัวอยู่เสมอ และได้กลั่นแกล้งโจทก์และลูก ๆ โดยการไม่ยอมให้เข้าทำนาเมื่อถึงฤดูทำนา ฯลฯ" เช่นนี้ อย่างน้อยก็ตีความได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่าจากพฤติกรรมประพฤติชั่วร้ายแรง: การตีความเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1500(2)
บรรยายฟ้องว่าจำเลยประพฤติชั่วติดยาเสพติดและประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล ไม่ทำมาหากิน ไม่ยอมทำนาเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวและ หาความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัวอยู่เสมอ และได้กลั่นแกล้งโจทก์และลูก ๆ โดยการไม่ยอมให้เข้าทำนาเพื่อถึงฤดูทำนา ฯลฯ" เช่นนี้ อย่างน้อยก็ตีความได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความได้สิทธิภารจำยอมและการละเมิดสิทธิจากเจ้าของภารทรัพย์
การนับระยะเวลาครอบครองติดต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 กล่าวไว้เฉพาะด้านผู้ครอบครองว่า ถ้าผู้ครอบครองได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และครบ 10 ปีแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์ มิได้คำนึงถึงฝ่ายผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองแต่อย่างใด แม้จะบัญญัติว่าต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น คำว่า "ผู้อื่น" ย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไปซึ่งมิใช่ผู้ครอบครองปกปักษ์ ฉะนั้นในการนับเวลาครอบครองติดต่อกันตามมาตรานี้ จึงถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองเท่านั้น ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบคอรงว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองให้แก่ผู้ใดหรือไม่ ทั้งไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณพ์ในการเริ่มระยะเวลาใหม่ทุกครั้งที่มีการเเปลี่ยนตัวเจ้าของ
ภารจำยอมที่อาจได้มาทางอายุความนั้น มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันเกี่ยวกับภารจำยอมโดยอายุความจึงต้องถือเอาการนับระยะเวลาตามเกณฑ์ในมาตรา 1382 มาเป็นหลักเมื่อได้ความว่าโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ๆ ได้ ตกลงกันและทำหนังสือสัญญากันไว้ยอมแบ่งที่ดินของตนฝ่ายตน 1เมตรทำเป็นทางออกสู่ถนนใหญ่ และโจทก์ก็ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเข้าออกตลอดมา ครั้นโจทก์ใช้ทางพิพาทยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยได้รับโอนที่ดินมาจาก ส. โดยจำเลยรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ๆ ดี ดังนี้แม้สัญญาที่ทำกันไว้จะไม่ผูกพันจำเลยให้จำต้องปฏิบัติตาม แต่การที่จำเลยยังปล่อยให้โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาโดยไม่ได้โต้แย้งขัดขวาง จนรวมเวลาเก่าใหม่เข้าด้วยกันเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ
จำเลยเป็นเจ้าของภารทรัพย์ย่อมต้องห้ามตามมาตรา 1390 มิได้ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เมื่อโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์เป็นผู้ลาดพื้นซีเมนต์ทางเดินบนที่ดินของจำเลยซึ่งตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมการที่จำเลยขุดพื้นซีเมนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นหลุ่มเพื่อทำรั้วและทำให้พื้นซีเมนต์แตกไป จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อมาตรา 1390 และย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 420 ด้วย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การนับระยะเวลาครอบครองโดยไม่ยึดการเปลี่ยนเจ้าของ และการละเมิดสิทธิจากกรรมที่ลดประโยชน์ภารจำยอม
การนับระยะเวลาครอบครองติดต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 กล่าวไว้เฉพาะด้านผู้ครอบครองว่าถ้าผู้ครอบครองได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และครบ 10 ปีแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์มิได้คำนึงถึงฝ่ายผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองแต่อย่างใด แม้จะบัญญัติว่าต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น คำว่า 'ผู้อื่น' ย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไปซึ่งมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์ ฉะนั้นในการนับเวลาครอบครองติดต่อกันตามมาตรานี้ จึงถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองเท่านั้นไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองให้แก่ผู้ใดหรือไม่ ทั้งไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณฑ์ในการเริ่มนับระยะเวลาใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าของ
ภารจำยอมที่อาจได้มาทางอายุความนั้น มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3บรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลมฉะนั้นการนับระยะเวลาติดต่อกันเกี่ยวกับภารจำยอมโดยอายุความจึงต้องถือเอาการนับระยะเวลาตามเกณฑ์ในมาตรา 1382 มาเป็นหลักเมื่อได้ความว่าโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่นๆ ได้ตกลงกันและทำหนังสือสัญญากันไว้ยอมแบ่งที่ดินของตนฝ่ายละ 1 เมตรทำเป็นทางออกสู่ถนนใหญ่ และโจทก์ก็ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเข้าออกตลอดมา ครั้นโจทก์ใช้ทางพิพาทยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยได้รับโอนที่ดินมาจาก ส. โดยจำเลยรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่นๆ ดี ดังนี้แม้สัญญาที่ทำกันไว้จะไม่ผูกพันจำเลยให้จำต้องปฏิบัติตาม แต่การที่จำเลยยังปล่อยให้โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาโดยไม่โต้แย้งขัดขวางจนรวมเวลาเก่าใหม่เข้าด้วยกันเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ
จำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ย่อมต้องห้ามตามมาตรา 1390มิให้ประกอบกรรมใดๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเมื่อโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์เป็นผู้ลาดพื้นซีเมนต์ทางเดินบนที่ดินของจำเลยซึ่งตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมการที่จำเลยขุดพื้นซีเมนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นหลุมเพื่อทำรั้วและทำให้พื้นซีเมนต์แตกไป จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อมาตรา 1390 และย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 420 ด้วย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องยึด/อายัดทรัพย์สินซ้ำโดยไม่มีเหตุผลพิเศษ ศาลชอบที่จะยกคำร้องโดยไม่ต้องไต่สวน
โจทก์ได้ยื่นคำร้องเป็นกรณีมีเหตุฉุกเฉินขอให้ยึดหรืออายัดการทำเหมืองแร่ของจำเลย และทรัพย์สินต่าง ๆ ตามบัญชีท้ายฟ้องไว้ก่อนคำพิพากษาแล้วถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งก็อ้างเหตุผลทำนองเดียวกันว่า จำเลยกำลังจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องตลอดจนอุปกรณ์การทำเหมืองแร่และรถยนต์ ในการไต่สวนคำร้องดังกล่าวครั้งแรกนั้น คำเบิกความของโจทก์เป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ปราศจากพยานหลักฐานสนับสนุน กล่าวคลุม ๆ ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยกำลังจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ใดตามคำร้องให้แก่ผู้ใด เมื่อใด ยังไมได้ว่าคำขอนี้มีเหตุผลสมควรอันแท้จริงที่จะสั่งอนุญาตตามที่โจทก์ขอ เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องขออย่างเดียวกันนั้นอีก (แต่ไม่อ้างกรณีฉุกเฉิน) โดยอ้างเหตุผลในการขอทำนองเดียวกับการร้องขอครั้งแรกที่ศาลได้เคยไต่สวนไว้แล้ว โดยไม่มีเหตุผลพิเศษอื่นใดนอกเหนือไปกว่าเดิม ศาลจึงชอบที่จะสั่งยกคำร้องโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องอีกได้
of 11