พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดตาม พ.ร.บ. มัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490
พ.ร.บ. มัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 9 บัญญัติว่า ในการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิด และมีระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ. 2492 ข้อ 4 ระบุว่า คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดจะพึงมีได้แห่งละไม่เกิน 15 คน กอร์ปด้วยอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง อิหม่ามเป็นประธานกรรมการ คอเต็บเป็นรองประธานกรรมการ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์มีทั้งหมดรวม 15 คน การดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดโจทก์จึงต้องกระทำโดยเสียงข้างมากคือตั้งแต่ 8 คน ขึ้นไป แต่ปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ฟ้องคดีนี้มีคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ลงชื่อในฐานะผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้เพียง 7 คน ถึงแม้ว่ากรรมการมัสยิดโจทก์อีก 1 คน จะลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวด้วย แต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจ หาได้ลงชื่อในฐานะเป็นผู้มอบอำนาจไม่ หนังสือมอบอำนาจของโจทก์จึงเป็นการดำเนินงานที่มิได้เป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของคณะกรรมการมัสยิด: เสียงข้างมากมีอำนาจดำเนินการแทนมัสยิดได้
มัสยิดโจทก์จดทะเบียนแล้ว มีคณะกรรมการมัสยิดจำนวน 15คนกรรมการมัสยิดโจทก์จำนวน 12 คน ลงชื่อแต่งทนายความฟ้องคดีนี้ ถือได้ว่าเป็นเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดโจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์ได้.
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิหรืออำนาจแก่อิหม่ามฟ้องคดีแทนมัสยิดได้โดยลำพังคณะกรรมการมัสยิดซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงฟ้องคดีในนามมัสยิดได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมอบอำนาจจากอิหม่าม
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิหรืออำนาจแก่อิหม่ามฟ้องคดีแทนมัสยิดได้โดยลำพังคณะกรรมการมัสยิดซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงฟ้องคดีในนามมัสยิดได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมอบอำนาจจากอิหม่าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีมัสยิด: กรรมการหมดวาระ ย่อมขาดอำนาจดำเนินคดีแทน
คณะกรรมการมัสยิดได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 เมษายน2522 ซึ่งตามระเบียบว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ อิสลามประจำมัสยิด(สุเหร่า) และวิธีดำเนิน การอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด(สุเหร่า) พ.ศ.2492 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488 ข้อ 12 กำหนดให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ4 ปี ฉะนั้นการที่คณะกรรมการมัสยิดดังกล่าวมาประชุมกันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2526 และลงมติมอบอำนาจให้ พ.เป็นผู้แทนโจทก์เพื่อดำเนินคดีอันเป็นระยะเวลาที่ล่วงพ้นวาระในการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการมัสยิดไปแล้ว เช่นนี้จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจเพราะบุคคลเหล่านั้นมิได้อยู่ในฐานะเป็นกรรมการมัสยิดแล้ว จึงไม่มีผลทำให้มัสยิดโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ปัญหาที่ว่าคำสั่งของจำเลยในการถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ของโจทก์จะชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการมัสยิดและการขัดขวางการออกโฉนดที่ดิน
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมตามที่จำเลยให้การต่อสู้นั้นศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านหรือโต้เถียงเป็นประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยจะยกเป็นข้อฎีกาอีกหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 7,9ให้กรรมการมัสยิดมีหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการและทรัพย์สินของมัสยิด ในการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก การฟ้องคดีก็เป็นการจัดการทรัพย์สินของมัสยิดอย่างหนึ่ง เมื่อกรรมการมัสยิดเสียงข้างมากมีมติให้ประธานกรรมการฟ้องคดีนี้ ประธานกรรมการมัสยิดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนมัสยิดโจทก์ได้โดยไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก
ศาลพิพากษาห้ามจำเลยขัดขวางการขอออกโฉนดที่พิพาทของโจทก์ได้ แต่จะให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยว่าไม่ขัดขวางไม่ได้ เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลบังคับจำเลยให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 7,9ให้กรรมการมัสยิดมีหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการและทรัพย์สินของมัสยิด ในการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก การฟ้องคดีก็เป็นการจัดการทรัพย์สินของมัสยิดอย่างหนึ่ง เมื่อกรรมการมัสยิดเสียงข้างมากมีมติให้ประธานกรรมการฟ้องคดีนี้ ประธานกรรมการมัสยิดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนมัสยิดโจทก์ได้โดยไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก
ศาลพิพากษาห้ามจำเลยขัดขวางการขอออกโฉนดที่พิพาทของโจทก์ได้ แต่จะให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยว่าไม่ขัดขวางไม่ได้ เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลบังคับจำเลยให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการมัสยิด และการขอออกโฉนดที่ดินโดยการฟ้องห้ามขัดขวาง
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมตามที่จำเลยให้การต่อสู้นั้นศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านหรือโต้เถียงเป็นประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยจะยกเป็นข้อฎีกาอีกหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 9 ให้กรรมการมัสยิดมีหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการและทรัพย์สินของมัสยิดในการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากการฟ้องคดีก็เป็นการจัดการทรัพย์สินของมัสยิดอย่างหนึ่ง เมื่อกรรมการมัสยิดเสียงข้างมากมีมติให้ประธานกรรมการฟ้องคดีนี้ ประธานกรรมการมัสยิดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนมัสยิดโจทก์ได้โดยไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก
ศาลพิพากษาห้ามจำเลยขัดขวางการขอออกโฉนดที่พิพาทของโจทก์ได้ แต่จะให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยว่าไม่ขัดขวางไม่ได้เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลบังคับจำเลยให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 9 ให้กรรมการมัสยิดมีหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการและทรัพย์สินของมัสยิดในการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากการฟ้องคดีก็เป็นการจัดการทรัพย์สินของมัสยิดอย่างหนึ่ง เมื่อกรรมการมัสยิดเสียงข้างมากมีมติให้ประธานกรรมการฟ้องคดีนี้ ประธานกรรมการมัสยิดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนมัสยิดโจทก์ได้โดยไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก
ศาลพิพากษาห้ามจำเลยขัดขวางการขอออกโฉนดที่พิพาทของโจทก์ได้ แต่จะให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยว่าไม่ขัดขวางไม่ได้เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลบังคับจำเลยให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด และการกระทำที่เป็นเหตุให้ถูกถอดถอน
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 กำหนดให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด ส่วนการแต่งตั้งและถอดถอนนั้น ได้มีระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ.2492 กำหนดไว้ ตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ต่างก็คือกรรมการอิสลามประจำมัสยิดคนหนึ่งในจำนวนไม่เกิน 15 คน ตามระเบียบข้อ 4 ที่ว่าอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น เป็นกรรมการโดยตำแหน่งนั้น หมายความว่าบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นอิหม่าม คอเต็บ มิหลั่น ไม่ต้องออกตามวาระ 4 ปี ตามระเบียบข้อ 12 เมื่อถึงวาระเลือกตั้งใหม่ ถ้าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีตัวอยู่และดำรงตำแหน่งหน้าที่เรียบร้อยก็ไม่ต้องเลือกตั้งเฉพาะตำแหน่งนั้น ๆ ถ้าดำรงตำแหน่งหน้าที่โดยเรียบร้อยก็ไม่ต้องเลือกตั้งเฉพาะตำแหน่งนั้น ๆ ถ้าดำรงตำแหน่งหน้าที่โดยเรียบร้อยก็อยู่ได้ตลอดไปจนชรา ทุพพลภาพ หรือพิการ และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจะพิจารณาให้พ้นจากตำแหน่ง แล้วยกขึ้นเป็นกิติมศักดิ์ในตำแหน่งเดิม แต่ถ้าดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่เรียบร้อย คณะกรรมการดังกล่าวอาจพิจารณาให้พ้นจากตำแหน่งได้ โดยที่อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ต่างก็เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดดังกล่าวแล้ว จึงต้องอยู่ภายใต้ระเบียบที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งได้ตามระเบียบข้อ 13 หาใช่ว่าเป็นอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น แล้วจะได้เป็นอยู่จนชรา ทุพพลภาพหรือพิการเสมอไปทุกคนไม่
โจทก์ดำรงตำแหน่งเป็นคอเต็บ มัสยิดสวนพลู ก็เป็นกรรมการประจำมัสยิดนั้นคนหนึ่ง ย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจอยู่ ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 เมื่อได้ความว่าโจทก์เจตนาหน่วงเหนี่ยวการทำทะเบียนสัปปุรุษไว้เพื่อมิให้มีการเลือกตั้งอิหม่าม บิหลั่น และกรรมการประจำมัสยิด อันอาจเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิดตามระเบียบข้อ 13 (ฉ) จำเลยจึงชอบที่จะออกคำสั่งถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งคอเต็บได้ ไม่เป็นละเมิด
โจทก์ดำรงตำแหน่งเป็นคอเต็บ มัสยิดสวนพลู ก็เป็นกรรมการประจำมัสยิดนั้นคนหนึ่ง ย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจอยู่ ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 เมื่อได้ความว่าโจทก์เจตนาหน่วงเหนี่ยวการทำทะเบียนสัปปุรุษไว้เพื่อมิให้มีการเลือกตั้งอิหม่าม บิหลั่น และกรรมการประจำมัสยิด อันอาจเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิดตามระเบียบข้อ 13 (ฉ) จำเลยจึงชอบที่จะออกคำสั่งถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งคอเต็บได้ ไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ของมัสยิด: การครอบครองโดยสงบและเปิดเผยต่อเนื่องเกิน 10 ปี
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 บัญญัติให้การดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดเป็นไปตามเสียงข้างมาก อิหม่ามกับกรรมการอื่น ๆ ซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงมีอำนาจดำเนินคดีในนามของมัสยิดโจทก์ได้
ผู้มีชื่อยกที่พิพาทให้โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แล้วเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทให้โจทก์ตลอด จำเลยซึ่งเป็นซึ่งผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมก็มิได้คัดค้านการกระทำของผู้มีชื่อนั้น เมื่อผู้มีชื่อตายทายาทก็เข้ามารับเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ตลอดมา ย่อมถือได้ว่าโจทก์เข้าถือสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยทายาทของผู้มีชื่อนั้นเป็นผู้ดูแลแทน เมื่อทายาทงดเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ โจทก์ก็เข้าเก็บทำเอง โดยจำเลยหรือบุคคลอื่นใดมิได้ขัดขวางดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา และเมื่อได้ครอบครองเกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์
ผู้มีชื่อยกที่พิพาทให้โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แล้วเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทให้โจทก์ตลอด จำเลยซึ่งเป็นซึ่งผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมก็มิได้คัดค้านการกระทำของผู้มีชื่อนั้น เมื่อผู้มีชื่อตายทายาทก็เข้ามารับเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ตลอดมา ย่อมถือได้ว่าโจทก์เข้าถือสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยทายาทของผู้มีชื่อนั้นเป็นผู้ดูแลแทน เมื่อทายาทงดเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ โจทก์ก็เข้าเก็บทำเอง โดยจำเลยหรือบุคคลอื่นใดมิได้ขัดขวางดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา และเมื่อได้ครอบครองเกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ของมัสยิด การยกที่ดินให้โดยไม่ทำหนังสือ และการครอบครองโดยสงบและเปิดเผย
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 บัญญัติให้การดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดเป็นไปตามเสียงข้างมากอิหม่ามกับกรรมการอื่นๆ ซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงมีอำนาจดำเนินคดีในนามของมัสยิดโจทก์ได้
ผู้มีชื่อยกที่พิพาทให้โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แล้วเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทให้โจทก์ตลอดมาจำเลยซึ่งเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมก็มิได้คัดค้านการกระทำของผู้มีชื่อนั้นเมื่อผู้มีชื่อตายทายาทก็เข้ารับเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ตลอดมาย่อมถือได้ว่าโจทก์เข้าถือสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยทายาทของผู้มีชื่อนั้นเป็นผู้ดูแลแทนเมื่อทายาทงดเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ โจทก์ก็เข้าเก็บทำเอง โดยจำเลยหรือบุคคลอื่นใดมิได้ขัดขวาง ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา และเมื่อได้ครอบครองเกินกว่า10 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์
ผู้มีชื่อยกที่พิพาทให้โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แล้วเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทให้โจทก์ตลอดมาจำเลยซึ่งเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมก็มิได้คัดค้านการกระทำของผู้มีชื่อนั้นเมื่อผู้มีชื่อตายทายาทก็เข้ารับเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ตลอดมาย่อมถือได้ว่าโจทก์เข้าถือสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยทายาทของผู้มีชื่อนั้นเป็นผู้ดูแลแทนเมื่อทายาทงดเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทนำส่งโจทก์ โจทก์ก็เข้าเก็บทำเอง โดยจำเลยหรือบุคคลอื่นใดมิได้ขัดขวาง ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา และเมื่อได้ครอบครองเกินกว่า10 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนฟ้องของโจทก์ร่วม: การมอบอำนาจตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิด
หากคณะกรรมการมัสยิดซึ่งมีเสียงข้างมากมอบอำนาจให้บุคคลใดถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้แล้ว บุคคลนั้นก็ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้แม้จะมีกรรมการส่วนข้างน้อยคัดค้านการมอบอำนาจนั้นอยู่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนฟ้องของโจทก์ร่วม: เสียงข้างมากของคณะกรรมการมัสยิดมีผลผูกพัน
หากคณะกรรมการมัสยิดซึ่งมีเสียงข้างมากมอบอำนาจให้บุคคลใดถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้แล้ว บุคคลนั้นก็ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ แม้จะมีกรรมการส่วนข้างน้อยคัดค้านการมอบอำนาจนั้นอยู่ก็ตาม