คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 175 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบและการพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ถอนฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่มีอำนาจที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยมาเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกา แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1 ก่อน ซึ่งจำเลยที่ 1 อ้างเป็นเหตุขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปนั้นถึงที่สุด คดีก็ไม่มีเหตุที่จะให้ยกขึ้นพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่สัญญา แม้มีข้อพิพาทเรื่องผู้จัดการมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองตกลงร่วมกันจะชดใช้เงินให้โจทก์โดยจำเลยที่1จะออกเช็คจำเลยที่2ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันแล้วนำเช็คมาวางศาลเพื่อให้โจทก์ถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดกของป. โจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้วส่วนจำเลยทั้งสองไม่นำเช็คมาวางศาลตามที่ตกลงกันเป็นข้อความแสดงสภาพแห่งข้อหาแล้วแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องตอนหนึ่งว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดทำให้โจทก์เสียหายก็ตามแต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องรวมกันทั้งฉบับแล้วเห็นได้ว่าคำว่า"ละเมิด"ที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นความเข้าใจของโจทก์เองว่าการที่จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามสัญญาเป็นการละเมิดอันเป็นการใช้ถ้อยคำผิดโจทก์แสดงอย่างแจ้งชัดว่าฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอาศัยเหตุสัญญาคำฟ้องของโจทก์มิได้ขัดแย้งกันอันจะทำให้เกิดสับสนว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดตามกฎหมายฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ศาลได้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของป. แล้วต่อมาจำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกป. เช่นกันเมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้ร้องจำเลยที่1ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกระบุว่าจำเลยที่1กับโจทก์ตกลงกันได้แล้วโดยจำเลยที่1ยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งเมื่อโจทก์ได้รับเงินแล้วโจทก์ไม่ติดใจเรียกหนี้สินหรือรับผิดหนี้สินจากกองมรดกหรือขอรับมรดกจากจำเลยที่1เมื่อโจทก์ยอมรับข้อเสนอดังกล่าวจำเลยที่1จึงถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายโดยโจทก์จะไปจัดการขอถอนคำสั่งศาลที่ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายคำร้องดังกล่าวเป็นข้อเสนอของจำเลยที่1เมื่อศาลสอบโจทก์อันเป็นการปฏิบัติตามป.วิ.พ.มาตรา175(1)โจทก์ไม่คัดค้านการถอนคำฟ้อง(คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก)ของจำเลยที่1และโจทก์ลงชื่อไว้เท่ากับโจทก์สนองรับข้อเสนอของจำเลยที่1ข้อความในคำร้องนั้นจึงเป็นสัญญาที่ผูกพันโจทก์กับจำเลยที่1เมื่อสัญญาดังกล่าวตกลงระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามป.พ.พ.มาตรา850.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องจำเลยบางส่วนในคดีที่มีมูลความผิดต่างกัน และสิทธิในการเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี
ในคดีที่มีจำเลยหลายคน โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคนหนึ่งคนใดหากมิใช่เป็นคดีที่เป็นการชำระหนี้แบ่งแยกกันมิได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้นโดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้นจะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกันโดยโจทก์ขอให้จำเลยที่1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องจำเลยบางส่วนในคดีที่มีมูลความผิดต่างกัน และสิทธิในการเรียกบุคคลภายนอกเข้าสู่คดี
ในคดีที่มีจำเลยหลายคน โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคนหนึ่งคนใดหากมิใช่เป็นคดีที่เป็นการชำะรหนี้แบ่งแยกกันมิได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น โดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่ เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้น จะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกัน โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่เป็นเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก