คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการยกเหตุไม่ควรให้ล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ในชั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายจำเลยอุทธรณ์ 2 ประการ คือไม่มีเหตุที่จะถือว่าจำเลยทุจริตดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประการหนึ่ง และคดีมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากมีการแก้ไขกฎหมายล้มละลายโดย พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กำหนดจำนวนหนี้ขั้นต่ำที่จะฟ้องคดีล้มละลายไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และในคดีมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 4 ราย ขอให้ศาลอุทธรณ์หยิบยกมาตรา 14 ขึ้นพิจารณาอีกประการหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาที่สองว่าจำเลยจะสามารถขอให้ศาลยกเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มลายตามมาตรา 14 มาพิจารณาในชั้นขอประนอมหนี้ได้หรือไม่ อย่างไร จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แต่เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วสมดั่งเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลาย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียว
ในการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น กฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนแล้วกล่าวคือ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14 ลูกหนี้มีสิทธิทำคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายตามมาตรา 45 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอต่อศาลให้สั่งว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาในชั้นนี้ ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากมีข้อเท็จจริงตามมาตรา 53 และมาตรา 54 ในชั้นพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับการประนอมหนี้ก่อน ล้มละลายหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาเพียงแต่ว่ามีเหตุที่ห้ามมิให้ศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำการทุจริต จำเลยมิได้ฎีกาจึงเป็นอันยุติไป ส่วนที่ว่าจะมีเหตุไม่ควรให้จำเลย ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้ล้มละลาย: เหตุไม่สมควรเห็นชอบ แม้เจ้าหนี้ยอมรับ และการกระทำที่แสดงเจตนาฉ้อฉล
เพียงแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขึ้นมาย่อ ๆ ว่า ทางสอบสวนยังไม่ปรากฎว่าลูกหนี้ประพฤติผิดกฎหมายล้มละลายอันจะมีโทษทางอาญาแต่ประการใดนั้น ยังไม่พอที่ศาลจะรับฟังเป็นแน่นอนเช่นนั้นได้ ในเมื่อมีพฤติการณ์ต่าง ๆ ของลูกหนี้ที่ยังมิได้สอบสวนหรือซักถามให้ปรากฎชัด
ลูกหนี้เป็นผู้ทำการค้าขายใหญ่โตถึงขนาด มีทรัพย์สินอยู่นอกประเทศทั้งในอเมริกาและฮ่องกง มีเจ้าหนี้เป็นจำนวน 10 ล้านกว่าบาท แต่มีเงินเหลือเพียง 2 พันบาทเศษเท่านั้น ทรัพย์สินอื่นก็ติดภาระจำนองหมด และลูกหนี้ไม่อจแสดงให้พอใจศาลว่าตนมีเหตุที่ควรเชื่อได้ว่าตนสามารถขำระหนี้ได้ โดยก่อนหนี้ขึ้นอีกมากมายหลังจากทำยอมใช้หนี้ให้โจทก์แล้ว ทั้งไม่มีบัญชีในการประกอบธุรกิจการงานเหลืออยู่เลย ดังนี้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 74 ว่าลูกหนี้ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีก โดยรู้แล้วว่าไม่สามารถจะชำระหนี้ได้
พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 54 วรรคท้ายให้อำนาจศาลที่จะสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร แม้ที่ประชุมเจ้าหนี้จะลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้โดยเปิดเผยและรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถึงเหตุที่ยังไม่สมควรศาลก็ยกคำขอประนอมหนี้นั้นเสียได้ แม้เจ้าหนี้ผู้คัดค้านจะมิได้นำพยานมาสืบก็ตาม
การที่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิเหลือพอจะแบ่งให้เจ้าหนี้และขืนทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้ว่าไม่-สามารถจะชำระหนี้ได้ กับประพฤติตนเล่นการพนัน เหตุทั้ง 3 ประการนี้นับว่ายังไม่สมควรจะได้รับความเห็นชอบให้ลูกหนี้ประนอมหนี้เพียงร้อยละห้าได้.